ศรีสะเกษลุยพัฒนาแหล่งน้ำ-บริหารจัดการน้ำทั้งระบบ-แก้ไขปัญทุกมิติ

ศรีสะเกษลุยพัฒนาแหล่งน้ำ-บริหารจัดการน้ำทั้งระบบ-แก้ไขปัญทุกมิติ





ad1

โครงการชลประทานศรีสะเกษ และจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมประชุมเรื่องการบริหารจัดการน้ำและพัฒนาแหล่งน้ำกับคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2566 นายจำรัส  สวนจันทร์  ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ  และนายอนุรัตน์ ธรรมประจำจิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ  ได้ประชุมเรื่องการบริหารจัดการน้ำและพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ  ร่วมกับพลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ประธานกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา พร้อมคณะ ได้แก่ พลเอก โปฎก บุนนาค รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง พลเอก สนั่น มะเริงสิทธิ์ ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ นายอำพล จินตาวัฒนะ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ   พลเอก ชยุติ สุวรรณมาศ กรรมาธิการ นายบุญมี สุระโคตร กรรมาธิการ  และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ได้แก่  สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดศรีสะเกษ  กรม ทรัพยากรน้ำบาดาล  ฯลฯ และตัวแทนภาคประชาชน  โดยมี นายสรยุทธ กสินธุ์มานะวาท หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรม นายเทอดศักดิ์ เขียนนิลศิริ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับ และเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย โดยเป็นการประชุมผ่านระบบ Video Conference  ไปยังหน่วยงานส่วนกลางที่เกี่ยวข้องในเรื่องน้ำ  เช่น อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล  ฯลฯ ณ ห้องประชุม 1 โครงการชลประทานศรีสะเกษ

ในการนี้ เพื่อเป็นการติดตามความคืบหน้าของคณะกรรมาธิการฯ ในด้านการบริหารจัดการน้ำและการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่จังหวัดจังหวัดศรีสะเกษ ประกอบกับเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร ในประเด็น การบริหารจัดการน้ำศรีสะเกษอย่างยั่งยืน ร่วมกับภาคประชาชน ส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่นและผู้ที่เกี่ยวข้อง อันจะเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนทั้งในปัจจุบันและอนาคตต่อไป

ทั้งนี้นายจำรัส  สวนจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ ได้นำเสนอเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ  รวมถึงแผนงานในการแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้น  ระยะกลาง  และระยะยาว  ซึ่งในปัจจุบันโครงการชลประทานศรีสะเกษ ได้มีการนำข้อมูลมานำเสนอคณะทำงานในชุดต่างๆตามที่กรมชลประทาน  และจังหวัดศรีสะเกษแต่งตั้ง  รวมทั้งท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เพื่อที่จะได้สร้างการรับรู้  และจะได้นำข้อมูลไปต่อ ยอด และพัฒนาต่อไป

รวมถึงให้เกิดกระบวนการปรับแผนงานเพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่ที่เป็นปัญหา และปัจจุบัน โครงการฯได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยการเก็บกักน้ำเพิ่มเติมเพื่อไว้ใช้อุปโภค-บริโภคโดยการเสริมกระสอบทราย เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักในปี 2566 จำนวน 15  ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งการเสริมกระสอบทรายนี้ไม่มีผลกระทบกับความมั่นคงของอ่างเก็บน้ำแต่อย่างใด

เสนาะ วรรักษ์/รายงาน