ชักพระปักษ์ใต้ งานบุญออกพรรษา แล..ประเพณีท้องถิ่นของคนด้ามขวาน

ชักพระปักษ์ใต้ งานบุญออกพรรษา แล..ประเพณีท้องถิ่นของคนด้ามขวาน





ad1

หลังวันออกพรรษาของทุกๆปี เชื่อว่าชาวใต้ทุกๆคน คงนึกถึงประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดมายาวนานถึงปัจจุบัน นั่นคืองานชักพระหรือเรียกกัน “งานลากเรือ”  ถือว่าเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ในแต่ละท้องถิ่น ตรงกับวันแรม 1ค่ำเดือน 11

 ในอดีตกาลมีความเชื่อกันว่า ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้า  เสด็จไปจำพรรษา ณ  สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

 เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษา จึงเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชน จึงมารอรับเสด็จ  แล้วอัญเชิญพระพุทธเจ้าขึ้นประทับบนบุษบกแล้วแห่ไปรอบ

 ชาวพุทธได้สืบทอดประเพณีกันมานาน โดยเฉพาะแถบภาคใต้ ได้จัดประเพณีทางพุทธศาสนา โดยอัญเชิญพระพุทธรูปมาประทับไว้ในเรือพระ ที่เรียก “พระแม่เรือ” แล้วให้ประชาชนออกแห่ไปรอบๆเมือง จนกลายเป็นเทศกาลประจำปี

 ประเพณีเก่าแก่ “ชักพระ”  ในช่วงเช้าทางพุทธศาสนิกชนได้เตรียมภัตตาหารไปถวายพระ ตามวัดประจำหมู่บ้าน  จึงได้จัดทำประเพณีห่อต้มใช้ทำกับใบไม้ (ใบพ้อ) พันธุ์ไม้ท้องถิ่นของชาวใต้ มาห่อเป็นรูปสามเหลี่ยม ตามแบบฉบับคนโบราณ  จากนั้นนำไปถวายพระแล้ว มาคล้องคอพญานาค “หัวเรือ” ก่อนที่นำเรือพระลากออกจากวัด

 สมัยโบราณก่อนที่ถึงวันชักพระ จะมีการคุมพระที่วัด กล่าวคือ “ตีกลอง” ก่อนวันลากเรือ 10-15 วันในช่วงเย็นๆ  เพื่อเป็นสัญญาณเตือนชาวบ้านว่า อีกไม่นานจะถึงเทศกาลชักพระ บางวัดชาวบ้านจัดทำกลองขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เกิดเสียงดังกึกก้อง โดยใช้หนังวัวหุ้มกลองไม้  วัดไหนเสียงกลองดังกระหึ่ม จะมีการบอกต่อกัน ว่ากลองวัดนี้เสียงดี สร้างชื่อเสียงไปทั่วท้องถิ่นๆนั้น

 พอถึงวันลากเรือเช้าตรู่ หลังพระภิกษุฉันท์อาหารเสร็จ ชาวบ้านจะร่วมแรง ร่วมใจกันลากเรือออกจากวัด ถือว่าเป็นสิริมงคลกับชีวิต ใครมีลูกหลาน บอกต่อชวนกันไปลากเรือ เที่ยวงานเดือน11 บางท้องที่ อย่างจังหวัดสงขลา, อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี,อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร จะนิยมมาแต่สมัยโบราณ ลากเรือทางน้ำ โดยใช้เรือพาย ที่เรียกกัน ชักพระทางน้ำ

 ส่วนทางบก  “ชักพระทางบก”  เกิดขึ้นทุกพื้นที่แถวภาคใต้  ทั้งจังหวัดสงขลา จังหวัดยะลา อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมมาราช อย่างที่ขึ้นชื่อ “ชักพระโคกโพธิ์” จัดเป็นประเพณีมายาวนานทุกๆปี ปีนี้จัดเป็นครั้ง74  ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ มอบหมายให้อำเภอเจ้าภาพจัดงานประเพณีชักพระ  เชิญชวนวัดต่างๆร่วมส่งเรือพระมาประกวด จนกลายเป็นประเพณีที่ขึ้นชื่อ  ยิ่งใหญ่ของชาวใต้รู้จักชื่อเสียงกัน

 การทำ “เรือพระ” จัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ เรือยอด “สร้างเป็นยอดสูง”  กับเรือประเภทความคิดสร้างสรรค์ เรือพระตกแต่ง เล่าเรื่องย้อนยุคตามหลักพุทธศาสนา  ซึ่งแต่ละวัดได้วิวัฒนาการไปตามยุคสมัย ปีนี้ “เรือยอด” ที่สร้างชื่อเสียงโด่งดังของโคกโพธิ์ จนกลายเป็นแบบอย่างเรือพระยุคโบราณ สืบทอดมายาวนานจากรุ่นสู่รุ่น เรือพระวัดมะเดื่อทอง (วัดกะโผ๊ะ)

 ส่วนเรือพระวัดอื่นๆ ที่รังสรรค์ งานศิลปะ แกะลวดลายสวยงาม จากช่างฝีมือที่ถ่ายทอดจากรุ่นพ่อ รุ่นตากันมายาวนาน ไม่ว่าจะเป็นเรือพระวัดหัวควน,วัดยางแดง,วัดนาประดู่,วัดทรายขาว,วัดห้วยเงาะ และวัดอื่นๆอีกมากมาย ได้คิดออกแบบงานวิจิตรศิลป์ ที่งดงามตามแบบฉบับโบราณ ที่มีคุณค่าให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษา ซึ่งปัจจุบัน บางวัดนิยมใช้รถล้อเลื่อนแทนล้อไม้ในอดีต บางแห่งใช้รถกะบะลาก ตกแต่งด้วยโฟมแกะสลัก ลวดลายไทย ประดิษฐ์พญานาคสีสันงดงามมาก  ในระหว่างที่มีการลากเรือพระ จะมีนางรำมาเดินเป็นขบวนนำหน้า

 อย่างวัดหัวควน ได้ใช้ขบวนนางรำจาก รร.สูงวัยทักษิณา จากหมู่ 6 บ้านนาเกตุ ที่พร้อมใจมาโชว์นาฎศิลป์แบบไทยๆให้ชาวบ้านท้องถิ่นชมกันอย่างพร้อมเพียง เพื่อให้เห็นความสามัคคีในชุมชนของแต่ละท้องถิ่น ที่พร้อมใจกันสืบสานประเพณีของชาวใต้บนด้ามขวานทอง ถ่ายทอดต่อลูกๆหลาน ช่วยกันอนุรักษ์ในอนาคต

 ปีนี้..ประมวลภาพงดงามแบบไทยๆ ในงานประเพณีชักพระของชาวใต้แต่ละท้องถิ่นมาให้ชมกัน จะงดงามแค่ไหน..ติดตามชม