สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไทย-จีน ร่วมภาครัฐ-เอกชนจัดงาน “Green Technology Expo 2024” ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยเทคโนโลยีสีเขียว

สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไทย-จีน ร่วมภาครัฐ-เอกชนจัดงาน “Green Technology Expo 2024” ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยเทคโนโลยีสีเขียว





ad1

สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไทย-จีน (TSAST) China Council of the Promotion for InternationalTrade Shanghai และ Chinese Academy of Sciences, Innovation Cooperation Center of Bangkok จัดงาน “Green Technology Expo 2024” “เปิดประตูสู่อนาคต ”Driving Sustainable Solutions: Advancing Business Through Green Technology ส่งเสริมแผนงานความยั่งยืน ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยเทคโนโลยี

สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไทย-จีน (TSAST) China Council of the Promotion for International Trade Shanghai และ Chinese Academy of Sciences, Innovation Cooperation Center of Bangkok ร่วมกันจัดงานแถลงข่าว เพื่อประกาศการจัดงาน "Green Technology Expo 2024" ที่จะจัดขึ้นที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) Hall 101-102  ระหว่าง วันที่ 24 – 26 ตุลาคม 2567 ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย-จีน (TSAST) และหน่วยงานจีนที่เกี่ยวข้อง มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนนโยบายของสหประชาชาติและการพัฒนาแบบยั่งยืน (SDG) และ Bio-Circular-Green Economy (BCG Economy) เพื่อรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก งานนี้จะเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิด และนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสร้างธุรกิจและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ภายในงานจะมีการจัดแสดงนิทรรศการหลากหลายโซน ตั้งแต่เทคโนโลยีเกษตรกรรม การอาหาร ไปจนถึงเทคโนโลยีพลังงานใหม่ การจัดการน้ำและมลพิษทางอากาศ นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ การบริการให้คำปรึกษาด้าน Green Energy และการเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีสีเขียว ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการ นักวิจัย และผู้สนใจทั่วไปที่ต้องการสร้างความร่วมมือและหาโอกาสในการต่อยอดธุรกิจ

การจัดงานนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือทางเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งในประเทศไทยและในระดับโลก นับเป็นโอกาสที่จะเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำและการเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์รุ่นใหม่ในภูมิภาค การจัดงานครั้งนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมนโยบายเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า

ประธานสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย-จีน ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย กล่าวถึงบทบาทของสมาคมในการนำเสนอวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของทุกคน และได้ชี้แจงถึงความสำคัญของ "Green Technology" ท่ามกลางปัญหาภาวะโลกร้อนและสภาวะโลกเดือดที่เราเผชิญในปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อ 200 ปีที่แล้ว และการกระทำของมนุษย์

าสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย ได้หยิบยกความเห็นของบิล เกตส์ นักธุรกิจชาวอเมริกัน หนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ จากหนังสือเล่มหนึ่ง ที่กล่าวว่าภาวะโลกร้อนเกิดจากเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างขึ้นมา และในการแก้ไขปัญหานี้เราไม่ควรใช้เทคโนโลยีแบบเดิม ๆ แต่ควรออกแบบเทคโนโลยีใหม่ที่เอื้อต่อการใช้งานในชีวิตประจำวัน มีราคาที่เหมาะสม และเข้าถึงได้ง่าย เพื่อสร้างโลกที่ดีกว่าสำหรับทุกคน

“จากแนวคิดนี้จึงเกิดการผลักดัน Green Technology ที่ได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากหลายประเทศที่ตระหนักถึงความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างจริงจัง งาน Green Technology Expo จึงเป็นสถานที่สำคัญในการรวมรวมนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่จะช่วยแก้ไขและปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นได้อย่างยั่งยืน”ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย กล่าว

ศาสตราจารย์ ดร.พิชัย สนแจ้ง เลขาธิการสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย-จีน ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับงาน "Green Technology Expo" ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 24-26 ตุลาคม 2567 ณ ไบเทคบางนา โดยกล่าวว่า งานนี้เป็นโอกาสในการนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Green Technology ซึ่งรวมถึงการลดต้นทุนการผลิต การใช้ทรัพยากร และการลดการปล่อยของเสียและภาระต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต

ศาสตราจารย์ ดร.พิชัย กล่าวต่อว่า "งานนี้จะนำเทคโนโลยีมาเผยแพร่ในประเทศไทย เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศไทย, จีน และชุมชนนานาชาติ ในการส่งเสริมการใช้ Green Technology เพื่อเพิ่มมูลค่าในการผลิตอุตสาหกรรมและกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละภาคส่วน อีกทั้งยังเป็นการแสดงความร่วมมือไทย-จีน และความร่วมมือระหว่างนานาประเทศเพื่อขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีสีเขียวไปสู่อนาคต โดยมุ่งหวังให้เกิดการตั้งค่าคาร์บอนซีโร่ตามแนวทางที่รัฐบาลไทยและความร่วมมือนานาชาติได้วางไว้ ภาคการผลิตและภาคประชาชนจะต้องตระหนักถึง Climate change และ Carbon Footprint เพื่อลดต้นทุนการผลิตและสร้างโลกสีเขียวในอนาคตต่อไป"

นาย เพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า รัฐบาลได้กำหนดนโยบายในการขับเคลื่อน BCG economy model เป็นวาระแห่งชาติ และได้มอบหมายให้กระทรวง อว. เป็นเจ้าภาพหลักในการขับเคลื่อน และดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อน BCG ซึ่งประกอบด้วย 4 ด้านหลัก คือ 1. Clean Energy 2. Circular Material & Green Chemical 3. Food Waste Management และ 4. โครงสร้างพื้นฐานและบริการเพื่อการยกระดับอุตสาหกรรมด้านความยั่งยืน ทั้งยังได้มีการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องในการขับเคลื่อนประเทศและภูมิภาคให้ Go Green ผ่านการสร้างระบบนิเวศให้กับนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ และนักวิจัยจากทั้งหน่วยงานวิจัยและสถาบันอุดมศึกษา เพื่อรับมือกับความท้าทายต่างๆ ของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก การแสวงหาแหล่งพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกด้วยการเร่งพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสีเขียว  

นายเพิ่มสุข กล่าวต่อว่า กระทรวง อว. ได้จัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (พ.ศ. 2566-2570) ซึ่งครอบคลุมประเด็นเรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอนเพื่อการแก้ปัญหาวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ โดยตั้งแต่ปี 2563 ถึงปี 2566 ได้มีงานวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจำนวนมาก และปัจจุบันกระทรวง อว.ได้ดำเนินการจัดตั้ง SRI Consortium for Net Zero เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมาย Net Zero ของประเทศไทยผ่านวิทยาศาสตร์ การวิจัย และนวัตกรรม พร้อมบูรณาการภาคเอกชน ภาครัฐ และภาควิชาการบนรากฐานของการเป็นทั้งมิตรและหุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านระหว่างไทยกับจีน ทั้งสองฝ่ายมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกันในทุกมิติเพื่อมุ่งสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมีคุณภาพ โดยใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นตัวขับเคลื่อน และมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตที่คำนึงถึงประชาชนเป็นศูนย์กลาง 

“ผมเชื่อมั่นว่า Green Technology Expo 2024 จะเป็น platform สำคัญยิ่งที่จะแสดงถึงศักยภาพขององค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในการร่วมคิด ร่วมสร้าง และร่วมสานความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในสาขาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านพลังงาน การเกษตร การแพทย์ ตลอดจนการลดการปล่อยคาร์บอนจากภาคการผลิต เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของประเทศและโลกของเรา” ปลัด อว. กล่าวทิ้งท้าย

นายอรุณ เอี่ยมสุรีย์ ประธานสถาบันเศรษฐกิจและการลงทุนไทย-จีน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า  มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้เป็นเจ้าภาพร่วม และแสดงความเห็นถึงสภาวะโลกร้อนว่าทางประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายที่จะบรรลุความเป็นกลางทางด้านคาร์บอนในปี 2050 ดังนั้นการร่วมมือกันของทุกภาคส่วนจึงเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญอย่างมากในการผลักดันพันธกิจนี้ ซึ่งทางสภาเองมีความตั้งใจที่จะผลักดันอุตสาหกรรมต่างๆให้เข้าสู่ BCG 

ทั้งนี้ทางสภาฯมีการจัดตั้งสถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขึ้น โดยร่วมมือกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกแห่งประเทศไทย เพื่อสร้างแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต  คิดว่าจะสามารถสนับสนุนการจัดงาน Expo ในครั้งนี้ได้ และยังจัดตั้งกองทุน Innovation One ร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว) เพื่อสนับสนุน SME ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และนวัตกรรมใหม่ๆ โดยเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญในการสนับสนุนงาน Green Technology Expo 2024 ในปีนี้

นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรม มีนโยบายที่สำคัญในการปรับธุรกิจและอุตสาหกรรมให้เหมาะสมกับโลกอนาคต โดยยกระดับสู่เทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ เพื่อสู่อุตสาหกรรมสีเขียว เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ และมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน  “การเข้าร่วมจัดงาน Green Technology Expo 2024 ครั้งนี้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี และการสร้างนวัตกรรม ซึ่งเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างเจ้าของเทคโนโลยี นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ นักวิจัย ที่จะร่วมกันเสนอเทคโนโลยี และต่อยอดความรู้ แก้ไขปัญหา จะทำให้เกิดทั้ง Business Matching และ Technology Matching เพื่อพัฒนาธุรกิจตามแนวนโยบาย โมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular Green Economy) และ SDG (Sustainable Development Goals) ของสหประชาชาติ และนโยบายของประเทศไทยเราเอง” 

นายวุฒิชัย กล่าวด้วยว่า การให้ความสำคัญกับการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยได้ยึดหลัก Mutual Benefit และ Sincerity สำหรับความร่วมมือในการจัด 2024 Green Technology Expo ครั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเกิดการยกระดับคุณภาพชีวิต ยกระดับเทคโนโลยีและการขยายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา หรือการร่วมมือป้องกันวิกฤตและส่งต่อโลกที่สวยงามและยั่งยืนสู่คนรุ่นต่อๆไป ควบคู่กับการเติบโตทางธุรกิจ

รศ.ดร. ปุณณมา ศิริพันธ์โนน อุปนายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการบ่มเพาะนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์และแก้ปัญหาสังคมในปัจจุบัน  ซึ่งปัญหา Climate change ณ ปัจจุบัน  จะไม่ใช่แค่นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย เท่านั้นที่มีหน้าที่แก้ปัญหา แต่เป็นหน้าที่ของทุกๆคนที่ต้องร่วมมือกัน ซึ่งทางสมาคมฯมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดงานครั้งนี้ เพื่อสร้างโอกาสความตระหนักรู้ ความเข้าใจ เผยแพร่สาระสำคัญ และเทคโนโลยีใหม่ๆผ่านทางงาน Green Technology Expo 202

สำหรับความร่วมมือในการจัด 2024 Green Technology Expo ครั้งนี้ ทางผู้จัดงานคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเกิดการยกระดับคุณภาพชีวิต กระจายเทคโนโลยีและการขยายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา หรือร่วมปกป้อง ป้องกันวิกฤตและส่งต่อโลกที่สวยงามและยั่งยืนสู่คนรุ่นต่อๆไป ควบคู่กับการเติบโตทางธุรกิจ ภายใต้แนวคิด “Driving Sustainable Solutions: Advancing Business Through Green Technology”  ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมงาน พร้อมติดตามข้อมูลและข่าวสารของงาน Green Technology Expo 2024 เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.greentechnology-expo.com หรือที่เพจเฟซบุ๊ก Green Technology Expo