โรคกิ่งตายทุเรียน ระบาดในภาคใต้ หวั่นแล้งจัดเพิ่มสำรองน้ำ โค่นยางลงทุนปลูกเพิ่ม

โรคกิ่งตายทุเรียน ระบาดในภาคใต้ หวั่นแล้งจัดเพิ่มสำรองน้ำ โค่นยางลงทุนปลูกเพิ่ม





Image
ad1


เตือนเฝ้าระวัง “โรคกิ่งตาย” ทุเรียนระบาด - แล้งจัด เพิ่มสำรองน้ำ โค่นยางลงทุนปลูก “ทุเรียน” กังวลปัจจัย จีนลุยลงทุนปลูกในกลุ่มประเทศ 5 ประเทศ เมียนมาร์ กัมพูชา ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย นายกวิศวกรรมเกษตร ชี้ ทุเรียนไทย ซิ่งจากตลาดเชิงปริมาณเข้าสู่ตลาดคุณภาพสู่ตลาดบน

นายวัฒนา หลำสะ เจ้าของสวนทุเรียนขนาดย่อย  หมู่ 3 บ้านด่านโลด ต.แม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ทุเรียนปี 2568 มีแนวโน้มว่าผลผลิตจะมีปริมาณมากเพราะสภาพสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยได้ผลิดอกเต็มต้นจากปริมาณดอกซึ่งผลจากการออกดอก 30 ดอก จะเป็นผลทุเรียนกว่า 10 ลูก

“แต่ถึงอย่างไรต้องติดตามท่าทีสภาพภูมิอากาศ เพราะจะยากต่อการคาดการณ์ จะต้องมีการเฝ้าระวัง ต้องมีการสำรองน้ำอย่างมากที่จะสามารถรองรับได้ทุกสถานยการณ์”

นายไพรวัลย์ ชูใหม่ นักวิชการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการอิสระและที่ปรึกษาทำสวนทุเรียน เปิดเผยว่า ทุเรียนขณะนี้ได้เกิดโรคระบาดกิ่งตายจากเชื้อฟิวซาเรี่ยม (Fusarium ) ซึ่งน่าเป็นเป็นห่วงกว่าโรคไฟท็อป เพราะจะระบาดรวดเร็ว โดยเชื้อจะเข้าทางน้ำและอาหาร ตอนนี้ได้จะพบแทบทุกสวน โดยทางแก้จะต้องตัดทิ้งนำไปเผาทุกส่วน

“เมื่อเกิดขึ้นจะต้องตัดทิ้งทันทีหาไม่แล้วจะลุกลามระบาดเร็ว จะต้องเฝ้าระวังเพื่อพ้นหน้าแล้ง” นายไพรวัลย์ ระบุ 

นายไพรวัลย์ กล่าวอีกว่า ทุเรียนในปี 2568 ได้ผลิดอกออกปริมาณมากเพิ่มขึ้นถึง 80 % เมื่อเทียบกับปี 2567 ประมาณ 2 เท่าตัว เพราะสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยแล้งมาประมาณครึ่งเดือน และต่อไปหากเกิดฝนตกลงมาจะเกิดดอกร่วงหรือไม่จะขึ้นอยู่กับการดูแลโดยให้น้ำอย่างต่อเนื่อง จะไม่มีปัญหาเมื่อเกิดฝนตกลงมาและจะต้องให้น้ำปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามพัฒนาการของดอกที่มีการเติบโตขึ้น โดยจะต้องเพิ่มปริมาณน้ำตาม  ทั้งอีก 6 เดือน ผลผลิตจะสามารถเก็บเกี่ยวได้

นายไพรวัลย์ กล่าวอีกว่า โดยสภาพภูมิอากาศตอนนี้มีแนวโน้มว่าน่าจะเกิดการขาดแคลนน้ำได้  เจ้าของสวนทุเรียนจะต้องเร่งเพิ่มน้ำสำรองรองรับอย่าให้เกิดขาดแคลน  คาดว่าในปี 2568 จะต้องใช้น้ำเพิ่มขึ้นมาก 

นายไพรวัลย์ ยังกล่าวอีกว่า  ส่วนสถานการณ์พัทลุงพัทลุง จะปลูกรูปแบบครัวเรือน บริเวณหลังบ้าน หัวไร่ปลายนากันมากมาแต่อดีตเพื่อบริโภค ซึ่งจะมีแทบทุกครัวเรือน อำเภอริมเขาบรรทัดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ ตั้งแต่ อ.กงหรา อ.ตะโหมด อ.ป่าบอน อ.ศรีนครินทร์ อ.ศรีบรรพต และ อ.ป่าพะยอม ฯลฯ และจะมีการปลูกเช่นนี้ไปทั่วภาคใต้

“หมอนทอง ก้านยาว พวงมณี มูซันคิง ฯลฯ”

นายไพรวัลย์ กล่าวอีกว่า ในปัจจุบันปรากฎว่าได้มีการพัฒนายกระดับเป็นเชิงพาณิชย์มีการดูแลรักษาบำรุงเนื่องจากมีมูลจูงใจเพราะได้ราคาที่ดี ซึ่งบางครัวเรือนมีต้นเดียวทำเงินได้ถึง 20,000 บาทและขั้นต่ำ 5,00 บาท / ต้น / ปี  แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่สภาพภูมิอากาศจะเอื้ออำนวย

“ทุเรียนครัวเรือนจะมีแทบทุกครัวเรือน  จ.พัทลุง เมืองการเกษตรกรรม ภาพรวมน่าจะมีนับแสนต้น หากคิดเป็นไร่ละ 16 ต้น จะมีเงินหมุนสะพัดเป็นจำนวนมากเช่นกัน ทุเรียนครัวเรือนไม่ได้เป็นเชิงพาณิชย์ จึงไม่มีการทำตัวเลขมูลค่าทางเศรษฐกิจเอาไว้” นายกัมปนาท วงศ์ชูวรรณ เจ้าของสวนยางและทุเรียนรายใหญ่ ผู้จัดการทำสวนธารน้ำทิพย์ สถาบันเกษตรกรแปรรูปยางส่งออกต่างประเทศรายใหญ่ภาคใต้  อ.เบตง จ.ยะลา เปิดเผยว่า จ.ยะลาเป็นแหล่งปลูกทุเรียนรายใหญ่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากความผันผวนสภาพภูมิอากาศ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่คาดการณ์ยากและหลายปีมีฝนตกชุกต่อเนื่องได้ส่งผลกระทบโดยตรงสวนยางพารา

โดยเฉพาะ จ.ยะลา สวนยางบางอำเภอถูกทิ้งร้างประมาณ 70 % ไม่สามารถจะกรีดได้ ชาวสวนยางจำนวนหนึ่งที่มีพื้นที่เหมาะสมพร้อมน้ำ จึงได้โค่นยาง ลงทุนปลูกทุเรียนแทนกันมาก 

“แต่ที่จะลงทุนปลูกทุเรียนได้เกิดความกังวลถึงประเทศจีนที่เป็นตลาดขนาดใหญ่ ที่ทางนักลงทุนจีนได้มีการขยายการลงทุนปลูกทุเรียนในประเทศเมียมาร์ กัมพูชา  สปป.ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย และมีต้นทุนที่ต่ำกว่า 

ทางด้าน นางดาเรศร์ กิตติโยภาส นายกสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ทุเรียนไทยไม่น่ากังวลเรื่องตลาด โดยเฉพาะตลาดหลักคือจีนที่ยังกว้าง แต่จะหยุดนิ่งไม่ได้จะต้องมีการรุกพัฒนาจะขยายตัวเติบโตเติบโตเชิงคุณภาพ
“ไม่ใช่การขยายตัวเติบโตเชิงปริมาณ จะต้องออกจากตลาดล่าง  เพราะเชิงปริมาณจะมาแข่งขันกันหลายประเทศซึ่งจะกระทบต่อราคาทุเรียนไทย”

นางดาเรศว์ กล่าวอีกว่า ทุเรียนไทย ผู้ประกอบการ ผู้ปลูกจะมีจุดแข็งกว่า ทั้งทักษะเชี่ยวชาญทั้งสายพันธุ์ วิธีทำและเรื่องสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งต่างประเทศยังเอาพันธุ์ทุเรียนไทย เช่น หมอนทอง  

ประเด็นสำคัญทุเรียนจะต้องมีมาตรการเข้มงวดเรื่องของการเก็บเกี่ยวทุเรียนแก่ 80 เปอร์เซ็นต์ ขนาดถึงปลายทางเป็นทุเรียนสุก และจะต้องไม่เก็บทุเรียนอ่อนจะเป็นทุเรียนที่ไม่สุก และยังต้องได้รูปแบบตามกำหนด
“ทุเรียนคุณภาพพรีเมียมเกรดยังมีตลาดที่กว้างมากจะสามารถขยายตัวเติบโตได้โดยเน้นเรื่องของคุณภาพโดยจะมาขยายการเติบโตในส่วนนี้”

นางดาเรศว์ กล่าวอีกว่า การลงทุนปลูกทุเรียนมีหลายประเทศ ตั้งแต่เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ฯลฯ  แต่เมื่อเน้นเชิงปริมาณตลาดตรงนี้จะมีผลต่อราคา ซึ่งตรงนี้ทุเรียนไทยจะต้องออกไปจากจุดนี้  โดยการพัฒนายกระดับคุณภาพไปสู่อีกตลาดหนึ่งก็จะได้อีกราคา ทุเรียนรับประทานสดจะมีราคาที่ดีกว่า 

นางดาเรศว์  ยังกล่าวอีกว่า และยังมีประเด็นสำคัญสำหรับประเทศจีน จะมีหน่วยงาน GACC ที่จะออกกฎกติกาก็จะมีการประกาศให้รับรู้ล่วงหน้าถึง 2 ปี ทางไทยก็จะต้องเฝ้าระวังติดตามตลอด และเมื่อทราบจะต้องออกประกาศอย่างเร่งด่วน อย่าเพียงเพิ่มพาระบบราชการจะเกิดความล้าช้าได้ และจะต้องประกาศไปถึงกลุ่มผู้ผลิต สมาคมผู้ผลิต  กลุ่มการค้า กลุ่มหอการค้าไปยังกลุ่มจังหวัดต่าง ๆ ตลอดจนถึงส่วนราชการ อย่างทั่วงถึงเร่งด่วน เพื่อจะได้ทันต่อการปรับตัวเอาไว้รองรับ.