สเต็มเซลล์ กองทุนกันยา และคูมป้าหนูนา

สเต็มเซลล์ กองทุนกันยา และคูมป้าหนูนา





Image
ad1

การใช้สเต็มเซลล์ ชนิด Mesenchymal Stem Cells (MSCs) ในการติดเชื้อไวรัส ถือว่าเป็นแนวทางการรักษาที่ค่อนข้างใหม่ในวงการแพทย์ และยิ่งใหม่มากๆ ในวงการสัตวแพทย์ โดยเฉพาะวงการช้าง
                                  
อย่างไรก็ตาม ในต่างประเทศ ได้เคยมีรายงานการใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาโรคเฮอร์ปีส์ไวรัสในช้าง #EEHV มาก่อนหน้านี้แล้ว  แต่กรณีศึกษายังน้อย เกินกว่าที่จะสรุปผลอย่างแน่ชัดได้

ทั้งนี้ สเต็มเซลล์ชนิด MSCs มีคุณสมบัติสำคัญ ด้านการควบคุมภูมิคุ้มกัน (immunomodulation) การต้านอักเสบ (anti-inflammation) และการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย (regenerative medicine)

ด้วยเหตุนี้ ในกรณีที่ร่างกายติดเชื้อไวรัส โดยเฉพาะเชื้อที่มีความรุนแรงอย่าง #EEHV สเต็มเซลล์จะช่วยควบคุมการตอบสนองที่มากเกินไปของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (เช่น ภาวะ cytokine storm) ช่วยลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ และส่งเสริมการฟื้นฟูของเนื้อเยื่อที่โดนทำลายไป ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายต่ออวัยวะโดยรวมได้
                                  
อย่างไรก็ตาม จากคุณสมบัติที่สามารถควบคุมภูมิคุ้มกันได้ การใช้สเต็มเซลล์ที่มากเกินไปหรือไม่เหมาะสม ก็อาจส่งผลกดการสร้างภูมิคุ้มกัน (antibody production, immunosuppression) ได้  ซึ่งจะส่งผลให้กำจัดเชื้อไวรัสออกจากร่างกายได้ช้าลง #โปรดเลือกใช้ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์