สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ ผวา “หวัดนก” ระบาดไข่นำต่างประเทศนำเชื้อเข้ามา


สมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ ผวา “หวัดนก” ระบาดไข่นำต่างประเทศนำเชื้อเข้ามา ให้รัฐคุ้มเข้มหาไม่แล้วประสบ “หวัดนก” เสียหายทั้งระบบหมื่นล้านบาท เพราะฝนตกมาก ความเสี่ยงสูง
นายสุเทพ สุวรรณรัตน์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ เปิดเผยว่า ได้มีการนำเข้าไข่ไก่จากต่างประเทศมายังประเทศไทยจำหน่าย เป็นจำนวนมาก บางล๊อตจำนวนมากกับรถบรรทุก 6 นับ 100,000 ฟอง และ 10,000 ฟอง / เที่ยว ตามเส้นทางชายแดนไทย และเฉพาะทางภาคใต้ อ.สุไหงโกล อ.ตากใบ จ.นราธิวาส อ.สะเดา และ อ.นาทวี จ.สงขลา และ อ.ควนโดน จ.สตูล ฯลฯ
“ซึ่งแต่เดิมจะมีการนำเข้าเป็นรูปแบบกองทัพมดล๊อตขนาดเล็กในระดับ 300 ฟอง 600 ฟอง ฯลฯ แต่มาระยะหลังจะนำเข้าเป็นล๊อตใหญ่ 10,000 ฟอง 100,000 ฟอง บรรทุกขนาดรถบรรทุก 6 ล้อ”
เพราะการนำเข้าไข่ไก่จากต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นฟาร์มขนาดเล็กและขาดมาตรฐานการเลี้ยงไม่ได้ GAP ซึ่งไม่ใช่มาจากฟาร์มขนาดใหญ่ที่เลี้ยงได้มาตรฐาน GAP จึงกังวลต่อเชื้อไข้หวัดนก เพราะขณะนี้ฝนตกอยู่มากและเป็นประจำทางภาคใต้ ไก่ไข่จะเกิดโรคระบาดได้ง่าย และหากเกิดโรคระบาดไข้หวัดนกจสร้างความเสียหายอย่างมหาศาลและจะเป็นหลักหมื่นล้านบาท และระยะเวลา 2 ปีในการฟื้นฟูก็ยังไม่จบ จนกว่ากลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติ
ทางสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ จึงเรียนถึงรัฐบาลวางมาตรการเข้มข้นต่อเนื่องในการตรวจสอบเรื่องการนำเข้าไข่จากต่างประเทศ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายและสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง หากเกิดโรคระบาดขึ้นมา
“ช่วงหน้าฝนต้นทุนการเลี้ยงไก่ไข่จะเพิ่มขึ้นมากจากการใช้ยาป้องกัน มีตั้งแต่เข็ม 2 บาท 3 บาท และเข็ม 5 บาท / ตัว / ครั้งเฉพาะตัวยาต้นทุนจะสูงมาก นายสุเทพ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันไข้หวัดนกระบาดอยู่ถึง 40 ประเทศ แม้กระทั่งในประเทศมาเลเซียประเทศเพื่อนบ้านชายแดนไทย มาเลเซียก็ตาม ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อผู้เลี้ยงไก่ไข่และผู้บริโภคในประเทศเหล่านั้นมาก จนต่างประเทศได้ออเดอร์ไข่ไก่มาประมาณ 1,000,000 ฟอง / วัน มีประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐ ฯลฯ แต่ถึงอย่างไรในการส่งออกไข่ไก่นั้น สำหรับในประเทศไทยยังบริโภคพอไม่มีการขาดแคลน
“ไทยสามารถผลิตไข่ไก่ได้ประมาณ 42 ล้านฟอง / วัน บริโภคภายในประเทศประมาณ 39 ล้านฟอง / วัน ส่งออกประมาณ 1 ล้านฟอง / วัน ที่เหลือกันสำรองเอาไว้ป้องกับความเสี่ยง ไม่ต้องกังวลว่าไทยจะขาดแคลน และแม่พันธุ์ไก่ไข่มีประมาณ 440,000 แม่พันธุ์ จะมีการผลิตไข่ทุกวันตลอดทั้งปี” นายสุเทพ กล่าว และว่า
ผู้เลี้ยงไก่ไข่มีทั้งเป็นฟาร์มขนาดย่อย ขนาดเล็ก ขนาดกลาง โดยตัวเลขหลักแสนราย ส่วนฟาร์มขนาดใหญ่ไม่เกิน 100 ราย โดยฟาร์มไก่ไข่ขนาดใหญ่ตัวเลข 500,000 ฟองขึ้นไป / วัน ฟาร์มขนาดกลาง 500,000 ลง และขนาดเล็ก 100,000 ฟองลง นอกนั้นยังมีฟาร์มรายหลักหมื่นและพันฟอง
นายสุเทพ กล่าวอีกว่า การเลี้ยงไก่ไข่ ทางกรมปสุสัตว์มีมาตรฐานสูงสุดในการควบคุมดูแลอย่างเข้มข้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพคุณภาพทุกช่องทาง โดยมีการใบอนุญาตการเคลื่อนย้าย ร.4 และ ร.10 หากรายใดไข่ไก่ไม่ได้มาตรฐานคุณภาพก็จะถูกควบคุมและบล็อกฟาร์มทำการปรับปรุงให้ได้มาตรฐานคุณภาพทันที
“ไข่ไก่ไทยมีมาตรฐานทางด้านคุณภาพสูงสุดจากการควบคุมของกรมปุสัตว์”
นายสุเทพ กล่าวอีก การเลี้ยงไก่ไข่ ต้นทุนการผลิตการเลี้ยอาหาร ค่าแรง 60 – 75 % / ตัว และการเลี้ยงไก่ไข่จะมีส่วนต่าง 00.25 – 00.30 บาท / ฟอง เป็นกำรถือว่าดีแล้ว ทั้งนี้เพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้บริโภคส่วนราคาที่ปรับตัวขึ้นคือกลุ่ม 2 และกลุ่ม 3 ผู้เลี้ยงไก่ไข่ราคาหน้าฟาร์ม 3 บาท และไม่เกิน 4 บาท / ฟอง แต่เปลาย เช่น ไข่ดาว 10 - 15 บาท / ฟอง เป็นต้น
“เมื่อราคาไข่เวลาประสบกับเรื่องราคาสูง ผู้ที่ตกเป็นจำเลยก็คือกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่”
แหล่งข่าวจากผู้บริโภค เปิดเผยว่า ไก่ไข่มีจำนวนหลายเบอร์ เบอร์ 1 ราคาประมาณ 130 บาท – 140 บาท / แผง ประมาณ 4 บาทกว่า และ 4.50 บาท / ฟอง ส่วนเบอร์ 4 และเบอร์ 5 ราคา 110 บาท 115 บาท และ 117 บาท / แผง ราคากว่า 3 บาท / ฟอง โดยราคาจะเป็นตามร้านโชว์ห่วยปลายทางถึงมือผู้บริโภคโดยตรง
“ไข่ไก่จะเป็นอาหารหลักที่จะช่วยพยุงฐานรากได้ดีกับทุกสถานการณ์เศรษฐกิจ ไข่ไก่เป็นที่พึ่งทางด้านอาหารได้ดีมาก ไข่ไก่จะมีทุกครัวเรือน” ผู้บริโภค กล่าว.