กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยืนยัน ชาวแอฟริกันป่วยโควิด รักษาที่ "สถาบันบำราศนราดูร" ติดเชื้อเดลตา ไม่ใช่ "โอมิครอน"

แพทย์ยันชาวแอฟริกันป่วยโควิดเดลต้า ไม่ใช่ โอไมครอน

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยืนยัน ชาวแอฟริกันป่วยโควิด รักษาที่ "สถาบันบำราศนราดูร" ติดเชื้อเดลตา ไม่ใช่ "โอมิครอน"





ad1

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยืนยัน ชาวแอฟริกันป่วยโควิด รักษาที่ "สถาบันบำราศนราดูร" ติดเชื้อเดลตา ไม่ใช่ "โอมิครอน"
.
จากกรณี มีข่าวลือ ว่าพบผู้ป่วยชาว "แอฟริกัน" ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ "โอมิครอน"  รักษาที่ "สถาบันบำราศนราดูร" นั้น 
.
วันนี้ 5 ธ.ค. 64 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึง ผลการตรวจยืนยันว่า ติดเชื้อ แต่เป็นเชื้อเดลตา ไม่ใช่โอมิครอน ขณะเดียวกัน กระบวนการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนนั้น ต้องใช้เวลาเนื่องจากยังไม่มีน้ำยาตรวจเฉพาะเหมือนสายพันธุ์อื่นๆ  โดยจะใช้เทคนิคการตรวจหาตำแหน่งพันธุกรรมจากน้ำยาตรวจของอัลฟา และเบตาแทน หากให้ผลเป็นบวก สันนิษฐานว่าติดเชื้อ โอมิครอน  เนื่องจากตำแหน่งของรหัสพันธุกรรมบางตัวของอัลฟา และเบตามีตรงกับโอมิครอน  
.
นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่าจากนั้น จึงจะนำมาสู่กระบวนการด้วยหาพันธุกรรมทั้งตัว ซึ่งต้องใช้เวลาในการตรวจยืนยัน  และเมื่อพบก็จะรายงานผลให้ GISAID ด้วย ทุกขั้นตอนต้องใช้เวลา หากพบคนติดเชื้อโอมิครอน กระทรวงสาธารณสุขไม่ปกปิดแน่นอน 
.
"ขณะนี้ทั่วโลกเริ่มพบเชื้อโอมิครอน มีความเป็นไปได้หากจะมีการพบเชื้อมากับผู้เดินทางเข้ามา แต่ทุกอย่างต้องมีการตรวจยืนยันให้แน่ใจก่อน และไม่อยากให้ประชาชนตื่นตระหนก เพราะกระบวนการป้องกันยังเหมือน ทั้งสวมหน้ากากและรักษาระยะห่าง และการล้างมือ และกระบวนการรักษาก็ยังเหมือนเดิม วัคซีนยังเป็นกลไกสำคัญช่วยลดความรุนแรง" นพ.ศุภกิจ กล่าว