การควบรวมกิจการ (M&A) ในประเทศไทยเริ่มกลับมาฟื้นตัว

การควบรวมกิจการ (M&A) ในประเทศไทยเริ่มกลับมาฟื้นตัว





ad1

บริษัทมาซาร์สในประเทศไทยรายงานว่าการทำธุรกรรมเพื่อควบรวมกิจการ (M&A) ในประเทศไทยเริ่มมีการฟื้นตัวแล้วในขณะที่สถานการณ์ COVID-19 เริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น โดยมีบริษัทจดทะเบียนของไทยหลายแห่งที่กำลังอยู่ระหว่างการทำข้อตกลงเพื่อควบรวมกิจการทั้งในประเทศไทยและทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่นักลงทุนร่วมทุนประเภทไพรเวทอิควิตี้ (Private Equity) และนักลงทุนร่วมทุนต่างชาติก็เริ่มเข้ามาในตลาดไทยกันอย่างคึกคัก

โจนาธาน สจวต สมิธ 

ในฐานะที่เป็นหนึ่งในบริษัทตรวจสอบและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลกและผู้ให้บริการด้านการบัญชี การตรวจสอบบัญชี กฎหมาย ภาษี และการเงิน - มาซาร์สในประเทศไทย ได้ตั้งข้อสังเกตว่าการควบรวมกิจการ (M&A) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังฟื้นตัวอย่างรวดเร็วเมื่อสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย และภาวะเศรษฐกิจเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ในขณะเดียวกัน นักลงทุนร่วมทุนประเภทไพรเวทอิควิตี้และนักลงทุนร่วมทุนจากต่างชาติก็มองเห็นศักยภาพมหาศาลในธุรกิจสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีและภาคผู้บริโภคในตลาดไทย ในขณะที่นักลงทุนไทยก็กำลังมองหาโอกาสในการขยายธุรกิจทั้งในประเทศและทั่วภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากรายงานของมาซาร์สฉบับเดือนพฤศจิกายน 2564 การแพร่ระบาดของโควิด-19 เมื่อต้นปี 2563 ได้ส่งผลกระทบในเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย การระบาดของโควิด-19 ยังทำให้บริษัทต่างๆ ยืดระยะเวลาในการขยายธุรกิจผ่านการควบรวมกิจการให้ล่าช้าออกไปด้วย ธุรกรรมด้าน M&A ส่วนใหญ่ถูกระงับไว้ชั่วคราว เนื่องจากนักลงทุนต้องการประเมินสภาวะตลาดหลังวิกฤติโควิด-19 อีกครั้งก่อนตัดสินใจลงทุน

อย่างไรก็ตาม มาซาร์สในประเทศไทยได้ตั้งข้อสังเกตว่าการทำธุรกรรมควบรวมกิจการเริ่มมีแววฟื้นตัวในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 โดยในรายงานของมาซาร์สชี้ว่า มูลค่าในการทำข้อตกลงทางธุรกรรมก็เริ่มเติบโตเช่นกันจากไตรมาสที่ 4 ปี 2563 เป็นต้นไป และมูลค่าในการทำข้อตกลงก็เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในไตรมาสที่ 2 ปี 2564

ประเสนจิต จักราบดี

รายงานระบุว่า ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2564 มีการประกาศการทำข้อตกลงไปแล้วทั้งสิ้น 206 รายการ และจนถึงขณะนี้มีอยู่ 101 ธุรกรรมที่ทำสำเร็จลุล่วงไปแล้วในปีนี้ โดยในจำนวนนี้ เป็นธุรกรรมที่ประกาศในระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนตุลาคม ซึ่งมีอยู่จำนวน 77 รายการ ส่วนใหญ่เป็นการทำข้อตกลงในธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ ซอฟต์แวร์ พลังงาน โลจิสติกส์ สุขภาพ และการบริการ เชื่อว่าแนวโน้มนี้จะยังคงดำเนินต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง

รายงานของมาซาร์สชี้แจงเพิ่มเติมว่า จากธุรกรรม 34 รายการที่สำเร็จลุล่วงไปเมื่อไตรมาสที่ 3 ปี 2564 มี 14 รายการที่เกิดขึ้นจากบริษัทมหาชนของไทย โดยรายงานระบุว่า บริษัทจดทะเบียนไทยมีการทำการควบรวมกิจการมากขึ้นทั้งในประเทศ และในภูมิภาคอาเซียน โดยบริษัทที่อยู่ในภาคธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค และการเงินการธนาคารมีการดำเนินการเชิงรุกมากเป็นพิเศษในเรื่องการทำการควบรวมกิจการในภูมิภาค

นายประเสนจิต จักราบดี หุ้นส่วนสายงานด้านที่ปรึกษาทางการเงินของมาซาร์สในประเทศไทย กล่าวว่าปรากฏการณ์น่าสนใจที่เกิดขึ้นคือนักลงทุนประเภทไพรเวทอิควิติ้และนักลงทุนร่วมทุนแสดงความกระตือรือร้นมากขึ้นในตลาดไทยและมีการมองหาโอกาสที่จะทำธุรกรรมระหว่างกัน

เขากล่าวว่านักลงทุนเหล่านี้มุ่งเน้นไปที่ภาคธุรกิจด้านเทคโนโลยีและภาคการบริโภคเป็นส่วนใหญ่ โดยรวมแล้ว นักลงทุนเริ่มมั่นใจในการทำการควบรวมกิจการในประเทศไทย ใขณะเดียวกัน บริษัทของไทยก็เริ่มมีการขยายออกสู่ตลาดต่างประเทศด้วย อาทิเช่นธนาคารกรุงเทพ มีการเข้าซื้อกิจการของ PT Bank Permata Tbk ซึ่งเป็นธนาคารที่มีมูลค่าสินทรัพย์ใหญ่เป็นอันดับ 12 ของอินโดนีเซีย ในด้านธุรกิจบรรจุภัณฑ์นั้น SCG Packaging ก็ได้มีการประกาศการลงทุนในสหราชอาณาจักรและเวียดนาม เพื่อขยายบริการบรรจุภัณฑ์อาหารในตลาดโลก

สตาร์ตอัพด้านเทคโนโลยีของไทยนั้น เป็นเป้าหมายสำคัญของการทำธุรกรรมสำหรับนักลงทุนประเภทไพรเวทอิควิตี้และนักลงทุนร่วมทุนจากต่างประเทศ ทั้งนี้ มาซาร์สเห็นว่ามีการทำธุรกรรมเกิดขึ้นในภาคธุรกิจดังกล่าวเมื่อไม่นานมานี้ 

นายประเสนจิต กล่าวว่าธุรกรรมด้านการควบรวมกิจการมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในภูมิภาคอาเซียน อย่างไรก็ตาม จากมุมมองด้านกฏหมายและเรื่องราคาของกิจการ  สถานการณ์จากโควิด-19 ทำให้การควบรวมกิจการมีความซับซ้อนมากขึ้น

“เรารู้สึกว่าผู้ซื้อมีความระมัดระวังมากขึ้นก่อนตัดสินใจลงทุน ผู้ซื้อจะให้ความสำคัญกับกระบวนการตรวจสอบวิเคราะห์ทั้งเรื่องของสถานะทางการเงิน ภาษี และการตรวจสอบทางกฎหมาย เพื่อค้นหาความเสี่ยงของการลงทุนในธุรกิจที่เป็นเป้าหมาย ซึ่งจะส่งผลให้มีการปรับราคาที่ถูกยื่นเสนอหรือการกำหนดเงื่อนไขบังคับก่อนใขข้อตกลงการซื้อขาย นอกจากนี้ เราเชื่อว่าผู้ซื้อจะสนใจโอกาสในการเติบโตสำหรับธุรกิจเป้าหมายมากขึ้น” เขากล่าว

นายประเสนจิตกล่าวว่าความเชี่ยวชาญด้านการควบรวมกิจการของมาซาร์ส จะทำให้สามารถช่วยเหลือลูกค้าที่ต้องการทำการควบรวมกิจการได้อย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นจนจบ โดยบริการการทำธุรกรรมของมาซาร์ส ครอบคลุมตั้งแต่การตรวจสอบสถานะทางการเงิน การตรวจสอบวิเคราะห์เชิงพาณิชย์ การประเมินมูลค่าและการสร้างแบบจำลองทางการเงิน การเจรจาต่อรอง การจัดสรรราคาซื้อ การร่างเอกสารการซื้อขาย บริการทางด้านการเงินขององค์กร รวมถึงการให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระหว่างการควบรวมกิจการ

 ในขณะเดียวกัน นายโจนาธาน สจวต สมิธ หุ้นส่วนสายงานด้านที่ปรึกษาทางภาษีอากรของ มาซาร์สในประเทศไทย กล่าวเสริมว่า มาซาร์ส สามารถให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านภาษี กฎหมาย และการเงินสำหรับผู้ที่สนใจทำข้อตกลงควบรวมกิจการ

 “การทำงานแบบครบวงจรของเรานั้น รวมถึงการมีผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี และกฎหมายที่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการพิจารณาวิเคราะห์และตรวจสอบสถานะและโครงสร้างทางการเงิน เราสามารถช่วยลูกค้าในการปรับโครงสร้างราคาเพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุนและเพิ่มความสนใจในข้อตกลงด้านสินทรัพย์ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสในการเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์จากลดหย่อนภาษี ตลอดจนช่วยบริหารจัดการเรื่องอื่นๆ เพื่อช่วยให้ธุรกรรม M&A ของลูกค้าประสบความสำเร็จ” 


สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ดูได้ที่ https://www.mazars.co.th/