ราชกิจจาฯ แพร่ประกาศ“ครม.รักษาการ”ห้ามทำอะไร ระหว่างสภาหมดวาระ-ยุบสภา

ราชกิจจาฯ แพร่ประกาศ“ครม.รักษาการ”ห้ามทำอะไร ระหว่างสภาหมดวาระแพร่ประกาศ“ครม.รักษาการ”ห้ามทำอะไร ระหว่างสภาหมดวาระ

ราชกิจจาฯ แพร่ประกาศ“ครม.รักษาการ”ห้ามทำอะไร ระหว่างสภาหมดวาระ-ยุบสภา





ad1

เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2565 ราชกิจจานุเบกษา ออกระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าด้วยการใช้ทรัพยากรของรัฐ หรือบุคคลากรของรัฐเพื่อกระทำการใดซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้ง พ.ศ. 2563 โดยมี อิทธิพร บุญประครอง ประธานกรรมการการเลือกตั้ง เป็นผู้ลงนาม 

ทั้งนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ของ ครม.ในระหว่างที่อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ต้องไม่ใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อกระทำการใดซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้งด้วยวิธีการ ดังต่อไปนี้

1.ใช้ทรัพยากรของรัฐ หรือบุคลากรของรัฐ โดยการกำหนดนโยบาย โครงการ แผนงาน โดยให้มีผลบังคับใช้ในทันที และมีลักษณะเป็นการสร้างโอกาสให้เกิดความไม่ทัดเทียมในการเลือกตั้ง

2.จัดให้มีการประชุม ครม.นอกสถานที่นอกเหนือจากการประชุมตามปกติ และมีการใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐ เพื่อเป็นการสร้างโอกาสให้เกิดความไม่ทัดเทียมกันในการเลือกตั้ง

3.กำหนด สั่งการ หรือมอบหมายให้มีการประชุม อบรม หรือสัมมนาบุคลากรของรัฐหรือเอกชน โดยใช้เงินงบประมาณของหน่วยงานของรัฐหรือเงินของกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ โดยอาจให้มีการแจกจ่ายทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด เว้นแต่เป็นการประชุมตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดหรือมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐหรือประชาชน แต่ต้องมิใช่การสร้างโอกาสให้เกิดความไม่ทัดเทียมกันในการเลือกตั้ง

4.กำหนด สั่งการหรือมอบหมายให้มีการอนุมัติ โอนหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานของรัฐหรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือใช้หน่วยงานของรัฐหรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ทำการแจกจ่ายทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดให้แก่ประชาชน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐหรือประชาชน แต่ต้องมิใช่เป็นการสร้างโอกาสให้เกิดความไม่ทัดเทียมกันในการเลือกตั้ง

5.กำหนด สั่งการหรือมอบหมายให้มีการแจกจ่าย หรือจัดสรรทรัพยากรของรัฐให้แก่บุคคลหนึ่ง บุคคลใด โดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่เป็นกรณีต้องดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด หรือมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐหรือประชาชน แต่ต้องมิใช่เป็นการสร้างโอกาสให้เกิดความไม่ทัดเทียมกันในการเลือกตั้ง

6.ใช้พัสดุหรือเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากหน่วยงานรัฐ หรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่หรือใช้บุคลากรของรัฐปฏิบัติงานเพื่อสร้างโอกาสให้เกิดความไม่ทัดเทียมกันในการเลือกตัง

7.ใช้ทรัพยากรของรัฐ เช่น คลื่นความถี่ หรือเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม หรือใช้งบประมาณด้านการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานรัฐ หรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ที่จะเป็นการสร้างโอกาสให้เกิดความไม่ทัดเทียมในการเลือกตั้ง