นัดฟังคำสั่ง 9 พ.ค.คดี"อับดุลเลาะ"ดับปริศนาในค่ายทหาร

นัดฟังคำสั่ง 9 พ.ค.คดี"อับดุลเลาะ"ดับปริศนาในค่ายทหาร





ad1

สงขลา-คดีอับดุลเลาะ อีซอมูซอ หมดสติและเสียชีวิตในระหว่างควบคุมตัวในค่ายทหาร สืบพยานเสร็จสิ้นครบทุกปาก นัดฟังคำสั่งวันที่ 9 พฤษภาคมนี้

วันนี้ (20 ก.พ.65)ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากรณีศาลจังหวัดสงขลานัดสืบพยานฝ่ายญาติผู้ตายเป็นครั้งสุดท้ายโดยศาลจังหวัดสงขลาได้กำหนดไตสวนพยานฝ่ายผู้ตายอีก 4 ปาก ภายในวันที่19-20 กพ.65 คาดว่าจะเป็นการสืบพยานฝ่ายโจทย์เป็นครั้งสุดท้าย ล่าสุดได้รับการยืนยันจากทนายมูนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมว่าการไต๋สวนพยานคดีอับดุลเลาะ อีซอมูซอ หมดสติและเสียชีวิตในระหว่างควบคุมตัวในค่ายทหาร สืบพยานเสร็จสิ้นครบทุกปากแล้วภายในวันที่19กพ. และ ศาลจังหวัดสงขลานัดฟังคำสั่งวันที่ 9 พฤษภาคมนี้

 ในคดีหมายเลขดำที่ ช.1/2563 หรือคดีไต่สวนการเสียชีวิตของ นายอับดุลเลาะ อีซอมูซอ ซึ่งถูกพบว่าหมดสติอยู่ในค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี หลังจากที่ถูกควบคุมตัว เมื่อวันที่ 21 ก.ค. 2562 และถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลค่ายอิงคยุทธบริหารหนองจิก และส่งรักษาต่อที่โรงพยาบาลปัตตานี ก่อนที่จะส่งตัวรักษาต่อที่โรงพยาบาลสงขลานครินมร์หาดใหญ่ ภายในวันเดียวกันมีการย้ายโรงพยาบาลมากถึงสามแห่ง ในสภาพที่สมองบวมไม่ยืนยันถคงสาเหตุ จนกระทั่ง1เดือนเศษผู้ต้องสงสัยได้เสียชีวิตอย่างสงบภายในวันที่ 25 ส.ค. 2562ที่ผ่านมา ท่ามกลางความสงสัยของญาติ ตลอดจนประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่าเกิดอะไรขค้นกับนายอับดุลเลาะ อีซามูซอ จึงมีการฟ้องร้องศาลเพื่อให้มีการไต๋สวนการตายของนายอับดุลเลาะ อีซามูซอ และศาลจังหวัดสงขลาได้ประทับตรารับการไต๋สวนในที่สุด ในระหว่างที่ศาลจังหวัดมีการไต๋สวนพยานฝ่ายจำเลยและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง   
 ท่ามกลางความหวังของญาติที่จะได้รับคืนความเป็นธรรมให้กับผู้ตายจากศาลยุติธรรม แต่กลับมีข่าวร้ายให้กับครอบครัวและญาติผู้ตาย หลังจากมีหนังสือแจ้งรายงานของ กรมสอบสวนคดีพิเศษDSI มีคำสั่งยุติการสอบสวนในคดีการตายปริศนาของนายอับดุลเลาะ อีซามูซอ เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา 

โดยกล่าวสรุปการไต๋สวนกรณีการตายปริศนาของนายอับดุล้ลาะ อีซามูซอ ไว้ดังนี้
ที่ผ่านมา คดีนี้มีการนัดสืบพยานไปแล้วรวมจำนวน 18 ปาก ได้แก่ เจ้าหน้าที่ทหารในค่ายอิงคยุทธบริหารจำนวน 13 คน แพทย์ 4 คน และพนักงานสอบสวน 1 คน โดยเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 65 ได้มีการสืบพยานแพทย์จากโรงบาลค่ายอิงคยุทธบริหาร 2 ปากทางออนไลน์ ส่วนในวันที่ 19-20 ก.พ. นี้จะเป็นการสืบพยานฝ่ายผู้ร้องจำนวน 4 ปาก หนึ่งในนั้นจะขอให้ศาลมีหมายเรียกแพทย์ซึ่งเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญมาเพิ่มอีก 1 ปาก เพื่อสืบพยานในครั้งนี้ด้วย.
ในขณะที่ ดีเอสไอ แจ้งว่าได้ยุติการสอบสวนในกรณีการเสียชีวิตของนายอับดุลเลาะ อีซอมูซอ แล้ว โดยอธิบดีดีเอสไอได้สั่งการให้ยุติการสืบสวน และให้ส่งสำนวนการสืบสวนไปยังสถานีตำรวจภูธรหนองจิก จังหวัดปัตตานี เพื่อพิจารณาตามอำนาจหน้าที่ โดยผู้ร้องจะยื่นเรื่องให้ดีเอสไอพิจารณาใหม่ได้ต่อเมื่อมีข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานใหม่เท่านั้น.
ทั้งนี้ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ในฐานะองค์กรสิทธิมนุษยชนซึ่งได้ติดตามและให้ความช่วยเหลือคดีนี้อย่างใกล้ชิด ได้ยื่นหนังสือถึงผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดสงขลา ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อขอส่งเจ้าหน้าที่เข้าสังเกตการณ์การสืบพยานฝ่ายผู้ร้องในครั้งนี้ด้วย.
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม จึงขอเชิญชวนให้สื่อมวลชนและประชาชนที่สนใจ ติดตามการสืบพยานในคดีไต่สวนการตายของ นายอับดุลเลาะ อีซอมูซอ อย่างใกล้ชิด ตามวันและเวลาดังกล่าว เพื่อทวงถามความเป็นธรรมให้แก่นายอับดุลเลาะและครอบครัว รวมทั้งให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงเบื้องหลังการเสียชีวิตของนายอับดุลเลาะ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นกับประชาชนคนใดอีก
คดีอับดุลเลาะ อีซอมูซอ หมดสติและเสียชีวิตในระหว่างควบคุมตัวในค่ายทหาร สืบพยานเสร็จสิ้นครบทุกปาก นัดฟังคำสั่งวันที่ 9 เดือน พค ต่อไป

ด้านนส.อัญชนา หิมมีหน๊ะ นักสิทธิมนุษยชนชายแดนใต้ ได้กล่าวถึงบทบาทในฐานะเป็นพยานโจทก์ว่าวันนี้ได้ไปเป็นพยานในคดีการไต่สวนการตายของอับดุลเลาะ อีซอมูสอเนื่องจากต้องสืบวันนี้ให้เสร็จก็เลยต้องรีบประชุมที่ออฟฟิศแบบม้าด่วน ไปกินเหนียวที่บันนังสตาอย่าง Fast and furious กินข้าวอย่างเร็วไม่ต้องเคี้ยวแล้วมาศาลที่สงขลา อย่างเพลีย

กระบวนการไต่สวนการตายกรณีการเสียชีวิตระหว่างควบคุมตัวหรือมีข้อน่าสงสัยว่ามีการทรมานและทำให้เสียชีวิตทำให้เราเห็นความแตกต่างของการความน่าเชื่อถือของพยาน การเข้าถึงพยานหลักฐาน กระบวนการสอบสวน และกระบวนการไต่สวนการตาย 
เราตั้งคำถามว่าถ้าเรามีพรบ ทรมาน มันจะช่วยกรณีแบบอับดุลเลาะได้ไหมเพราะการได้มาถึงข้อเท็จจริงระหว่างการตรวจสอบเรื่องการทรมานตามหลักการสากลกับกระบวนการศาลมีความแตกต่าง การสอบสวนเรื่องการทรมานตามหลักการอิสตันบูลโปรโตคอลและหลักการมินนิโซตา กับกระบวนการในศาลที่ต้องมีพยานเห็นเหตุการณ์มีร่องรอยบาดแผล เพราะฉะนั้นเรารู้ได้เลยว่าผลลัพธ์ของกระบวนการนี้จะเป็นอย่างไร
บริบทในพื้นที่เป็นสิ่งสำคัญ ในสภาวะที่ทหารควบคุมทุกอย่างได้ เจ้าหน้าที่รัฐเองก็ไม่สามารถพูดอะไรได้มาก เพราะอยู่ภายใต้การควบคุมนี้ ควบคุมการพูดด้วยหน้าที่การทำงานของเขา ควบคุมการพูดด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการสอบข้อเท็จจริงของชุดที่เขาแต่งตั้ง ควบตุมการแถลงข่าว 
การที่เราได้รับรู้ตั้งแต่อับดุลเลาะ ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล หมอที่รักษาต้องใช้เวลากว่า 30 นาทีเพื่อทำให้เขาฟื้นมาด้วยอาการสมองบวมหรือสมองตาย คือเขาไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อีกต่อไปตั้งแต่วันนั้นแล้ว แพทย์บอกว่าเขามาถึงโรงพยาบาลด้วยสภาพไม่มีสัญญาณชีพ คือเขาหมดลมหายใจแล้ว 
มีการบอกว่าล้มในห้องน้ำแต่ไม่มีร่องรอยบาดแผลจากการล้มก็ผิดวิสัย มีน้ำไหลออกจากหูก็ผิดวิสัย การหยุดหายใจไม่สามารถหยุดได้ด้วยตนเอง ต้องมีคนทำให้หยุดหายใจหรือมีอาการป่วยมาก่อนหรือเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง นี่คือข้อมูลที่เราทราบ เพราะหลักฐานทางการแพทย์ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่ามาจากอะไรเนื่องจากสมองบวมจนการเอกซเรย์ไมสามารถระบุถึงสาเหตุการตายได้
คำถามที่ถามถึงกรณีที่ระบุได้ไหมว่าใครเป็นคนซ้อมทรมานมีหลักฐานการกระทำไหม มี เราสามารถรู้ได้ว่าใครเป็นกระทำทรมาน ยศ ตำแหน่ง และชื่อ
แต่กระบวนการสอบภายในของทหารเองต่างหากที่ไม่นำตัวมาสอบและใช้กระบวนการเยียวยาเพื่อปิดปาก 
คำถามมันสะท้อนว่าคุณไม่เข้าใจบริบทการกระทำทรมานภายใต้การขัดกันด้วยอาวุธ คำถามถึงการร้องเรียนเรื่องการทรมานเพื่อใช้ในการต่อสู้คดี เป็นการตัดสินโดยปราศจากพยานหลักฐาน คำถามว่าทำไมหมอไม่พูดอย่างที่บอกกับเราเพราะหมอก็พูดตามสมมติฐานของอาการการสมมติฐานจึงไม่สามารถฟันธงได้และหมอต้องพูดภายใต้การคุมของทหาร 
เราเองก็งงว่าข้อมูลที่เราได้รับรู้ตั้งแต่แรกมันไม่ปรากฎในสำนวนการสอบสวน นี่ก็คิอปัญหาหนึ่งการตรวจสอบ Crime scene ในที่เกิดเหตุภายในค่ายทหารโดยตำรวจทำได้หรือไม่
เรามีคำถามมากมาย เราถามด้วยว่าเราจะปลอดภัยไหมในการให้การในครั้งนี้เพราะมีทหารมาร่วมรับฟังคดีหลายคน  เขาบอกว่าถ้าเราพูดความจริง ความจริงจะคุ้มครองเรา