วิกฤติ "ควายน้ำพัทลุง" น้ำท่วมขัง 6 เดือน หญ้าเสียหายอดตายร่วม 100 ตัว สูญตัวละ 25,000 - 26,000 บาท

วิกฤติ "ควายน้ำพัทลุง" น้ำท่วมขัง 6 เดือน หญ้าเสียหายอดตายร่วม 100 ตัว สูญตัวละ 25,000 - 26,000 บาท





ad1

จากกรณีการเสียชีวิตของฝูงควายน้ำประมาณ 100 ตัว เกษตรกรนำมาเลี้ยงไว้ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ใต้สะพานเฉลิมพระเกียรติฯ สะพานยกระดับเชื่อมต่อระหว่าง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง-อ.ระโนด จ.สงขลา จากปัญหาการขาดแคลนอาหารสัตว์ เนื่องจากบริเวณเลี้ยงควายน้ำถูกน้ำท่วมขังมานานกว่า 6 เดือน

และเมื่อวันที่ 12 เมย.65 ที่ผ่านมา นายเศกสรรค์ สวนกูล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาอาหารสัตว์ สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ นายบุญส่ง รัตนพร ปศุสัตว์จังหวัดพัทลุง หน่วยในสังกัดกรมปศุสัตว์ ได้นำอาหารสัตว์พระราชทานของ ร.10 ไปมอบให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงควายน้ำ จำนวน 8,000 กก. พร้อมยา แร่ธาตุ เวชภัณฑ์ ยาบำรุง ทั้งชนิดกิน และฉีด มามอบให้เกษตรกรผู้เลี้ยงควายน้ำ 

เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น.วันที่ 13 เมย.65 ที่ศูนย์ศิลปาชีพบ้านหัวป่าเขียว ต.ทะเลน้อย อ.ควนขนุน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์  และนายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้มอบหมายให้นายสัตวแพทย์ชัยวัตน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายบุญส่ง รัตนพร ปศุสัตว์จังหวัดพัทลุง ลงพื้นที่พบปะเกษตรกรผู้เลี้ยงควายน้ำทะเลน้อย ร่วมกับนายวิญญ์ สิทธิเชนทร์ รอง ผวจ.พัทลุง 

พร้อมมอบหญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน จำนวน 8,000 กก. ยาบำรุงยาถ่ายพยาธิ แร่ธาตุเวชภัณฑ์ น้ำยาฆ่าเชื้อให้กับตัวแทนเกษตรก

โดยมีนายณฤทธิ์ บุญชัย เกษตรและสหกรณ์จังหวัดพัทลุงนายนาคิน แก้วบุญส่ง ผู้แทนหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยผู้แทนศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์พัทลุงเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพัทลุง สำนักงานปศุสัตว์อำเภอควนขนุน เข้าร่วม ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีผู้เลี้ยงควายน้ำได้รับความเดือดร้อนจากการขาดแคลนอาหารสัตว์ จำนวน 30 ราย 

 

ทั้งนี้ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางโลหิตวิทยาในเลือดควายน้ำทะเลน้อยที่ประสบปัญหาสุขภาพ โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคใต้ ยืนยันได้ว่ามีภาวะโลหิตจางที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ สอดคล้องกับประวัติการขาดอาหาร ไม่ได้เกิดจากโรคติดเชื้อ โรคระบาด 

 

ส่วนการแก้ไขปัญหามี ระยะ ระยะสั้นเร่งด่วน คือการช่วยเหลือด้านอาหารสัตว์และฟื้นฟูสุขภาพ จะบูรณาการทีมกรมปศุสัตว์และของคณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดำเนินการอย่างเร่งด่วน ระยะกลาง คือการส่งเสริมให้เกษตรผู้เลี้ยงควายน้ำรวมกลุ่ม จัดองค์กรเพื่อประสานงานการพัฒนาการเลี้ยง ปรับปรุงพันธุ์ด้วยผสมเทียม และสนับสนุนพ่อพันธุ์คุมฝูง ลดปัญหาเรื่องการผสมเลือดชิด สร้างอาสาปศุสัตว์ประจำกลุ่ม สร้างเครือข่ายแจ้งข่าวสารและเตือนภัย 

และระยะยาวจัดทำคอกพักสัตว์จุดอพยพ ในยามน้ำในทะเลน้อยมีระดับสูง สำหรับบริหารจัดการดูแลควายน้ำของแต่ละกลุ่ม หากเกษตรกรผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อน ต้องการรับการช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่ หรือติดต่อศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ โทร 02-6534444 ต่อ 3315 และ 3326 หรือ [email protected] "เกษตรกรอุ่นใจ ปศุสัตว์ไทยเคียงข้าง" หรือ แอปพลิเคชั่น DLD 4.0

วันที่ 13 เมย.65  นายบุญส่ง รัตนพร ปศุสัตว์จังหวัดพัทลุง ได้มอบหมายให้กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพัทลุง และเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์เขต ไปฉีดยาฟื้นฟูสุขภาพลูกควายน้ำ ของนายประสิทธิ์ บุญจันทร์ เลขที่ 121 หมู่ที่ ต.ทะเลน้อย อ.ควนขนุน จากสภาพขาดแคลนอาหาร จนลูกควายน้ำยืนกินหญ้าได้ พร้อมทั้งให้คำแนะนำเรื่องการดูแลสุขภาพควายน้ำแก่เจ้าของควายอีกด้วย.