"บิ๊กตู่" มั่วชี้"มิลลิ -ลิซ่า-แบมแบม" ไม่ใช่ Soft Power ไทย

"บิ๊กตู่" มั่วชี้"มิลลิ -ลิซ่า-แบมแบม" ไม่ใช่ Soft Power ไทย





ad1

"รวมไทยยูไนเต็ด" อัด "บิ๊กตู่" มั่ว ชี้ "มิลลิ -ลิซ่า-แบมแบม" ไม่ใช่ Soft Power ไทย เหน็บถ้าอยากได้ ต้องเปิดกะลา-กล้าสนับสนุนศิลปินออกจากกรอบดั้งเดิมสู่ยุคร่วมสมัย

เมื่อวันที่ 23 มี.ค.65 นายวรนัยน์ วาณิชกะ หัวหน้าพรรครวมไทยยูไนเต็ด โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัวผ่านเพจVoranai Vanijaka-วรนัยน์ วาณิชกะ โพสต์เฟสบุ๊คเรื่อง "ถ้าเราไม่เปิดกะลา เราไม่มีทางมี Soft Power "ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ พบทูตเกาหลีใต้ คุยเรื่องซอฟต์เพาเวอร์ มีใครเชื่อมั่ง ว่าคุยกันรู้เรื่อง ?

ซึ่ง นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศ : มิลลิ ลิซ่า แบมแบม ทำตามนโยบายนายกฯ ช่วยส่งเสริม ซอฟต์เพาเวอร์ของไทยดังไกลทั่วโลก

ลิซ่า แบมแบม เป็นศิลปินของเกาหลีใต้ เป็นเอเย่นต์ซอฟต์เพาเวอร์ของ K-pop ไม่ใช่ T-pop มิลลิ เป็นศิลปินไทย แต่ไม่ใช่เป็นเอเย่นต์ซอฟต์เพาเวอร์ของไทย เพราะประเทศไทยไม่มีกระบวนการซอฟต์เพาเวอร์ มันเป็นเพียงวาทกรรมที่ พล.อ.ประยุทธ์ ชอบใช้ โดยไม่เข้าใจว่า ซอฟต์เพาเวอร์คืออะไร

ซอฟต์เพาเวอร์ คือกระบวนการส่งออกวัฒนธรรมสู่ตลาดโลก หากพลเมืองโลกลุ่มหลงในวัฒนธรรมนั้น อยากเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมนั้น มันจะต่อยอดไปจนถึงความเชื่อถือในสินค้าส่งออกและแบรนด์ต่างๆของประเทศนั้น ซึ่งนำมาถึงอำนาจเศรษฐกิจบนเวทีโลก และต่อยอดถึงความน่าเชื่อถือและยอมรับในแบรนด์ประเทศบนเวทีการเมืองโลก

ซอฟต์เพาเวอร์ คือ propaganda ทางวัฒนธรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจเศรษฐกิจและการเมือง

Hollywood คือซอฟต์เพาเวอร์ของอเมริกา K-pop คือซอฟต์เพาเวอร์ของเกาหลีใต้ ทั้งปวงเป็นกระบวนการที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างจริงจัง

มิลลิเป็นศิลปินที่ ด้วยมาด้วยความสามารถของตนและการผลักดันของค่าย ผงาดบนเวทีโลกครั้งแรก ไม่ได้เป็นกระบวนการที่มีการสนับสนุนจากภาครัฐ มิหนำซ้ำ มิลลิยังเคยโดนนายกของประเทศฟ้องคดีหมิ่นประมาท

วัฒนธรรมที่เกาหลีใต้ส่งออก ไม่ใช่การแสดงร่ายรําทําเพลงแบบดั้งเดิมที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ แต่เป็นวัฒนธรรมร่วมสมัย pop คือ popular culture ไม่ใช่ traditional culture ที่ให้นักท่องเที่ยวถ่ายรูปลง IG

K-pop คือ hip hop และ pop rock ของตะวันตก เครื่องแต่งกายแบบตะวันตก mix & match ในสไตล์เอเซีย เนื้อร้องผสมระหว่างภาษาอังกฤษและเกาหลี แสดงโดยศิลปินเอเชีย

โลกต้องการวัฒนธรรมร่วมสมัยที่ท้าทายขนบธรรมเนียมประเพณีเดิม ทั้ง Parasites ที่ได้รางวัลออสการ์ และ Squid Game ที่ดังทั่วโลก ท้าทายระบบชนชั้น ท้าทายแม้กระทั่งระบบเศรษฐกิจทุนนิยม แต่หนังที่รัฐไทยสนับสนุนมีแต่เรื่องขี่ช้างออกศึก ไม่ใช่ว่าหนังเหล่านี้ไม่ดี แต่เทรนด์ nationalism มันตกยุคไปตั้งแต่สมัยสงครามเย็น

"ถ้าต้องการให้ T-pop เป็นซอฟต์เพาเวอร์ของไทย ภาครัฐต้องสนับสนุนศิลปิน เช่น Rap Against Dictatorship (“ประเทศกูมี”) และ ผู้กํากับอย่าง อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล พูดง่ายๆ ถ้าอยากจะมีซอฟต์เพาเวอร์ เราต้องเปิดกะลาออกมาจากความ “ดั้งเดิม” เข้าสู่ความ “ร่วมสมัย" หัวหน้าพรรครวมไทยยูไนเต็ด กล่าว