เมืองตาก-ขึ้นธาตุเดือน 9. ล้านนา เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของชาวเหนือ


เมืองตาก-ขึ้นธาตุเดือน 9. ล้านนา เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของชาวเหนือ บูชาพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า อ.บ้านตาก
โดย...ทีมข่าว ศาสนา=วัฒนธรรม=ประเพณี...รายงาน
เป็น ขนบธรรมเนียม ศิลป วัฒนธรรม ประเพณีที่ สืบสาน สืบทอดกันมายาวนานตั้งแต่อดีต โบราณกาล จากรุ่น สู่รุ่น ที่ อ.บ้านตาก จ.ตาก ในงานประเพณีขึ้นธาตุเดือน 9. ล้านนา เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของชาวเหนือ =บูชาพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ณ วัดพระบรมธาตุ วัดเก่าแก่ที่สวยงาม ที่พุทธศาสนิกชน ให้ความเคารพ นับถือ ศรัทธา กราบไห้วบูชา
และในวันที่ 13 มิถุนายน 2565 ประชาชน ชาวบ้าน ในพื้นที่ อ.บ้านตาก จ.ตาก ได้เดินทางมาร่วมงาน สืบสานขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม ในงาน ประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า(เหนือ=ล้านนา) ซึ่งเป็นงานประเพณี ที่สืบทอดกันมานับแต่โบราณกาล ที่สำคัญของอำเภอบ้านตาก
โดยงานประเพณีขึ้นธาตุเดือน 9. จัดขึ้นที่บริเวณหนองเล่ม หมู่ 4 ต.เกาะตะเภา อ.บ้านตาก จ.ตาก สำหรับปี 2565 นี้งานประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า 9. จัดงานขึ้นในวันขึ้น 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ เดือนเก้า(เหนือ) ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 13 และ 14 มิถุนายน 2565
ซึ่งในปี 2565 นี้ ชาวอำเภอบ้านตาก ได้ถือเอาวันนี้เป็นวันแรกแห่งการแสดงความยึดมั่นในบวรพระพุทธศาสนา ด้วยการน้อมนำเครื่องราชสักการะ ประกอบด้วย ต้นเงิน ต้นทอง ผ้าห่มพระบรมธาตุ ตุงไชย และจตุปัจจัยไทยทาน จัดเป็นขบวนแห่ จากบริเวณหนองเล่ม เคลื่อนผ่านสะพานบุญ ซึ่งเป็นสะพานยาวประมาณ 200 เมตร ขึ้นไปห่มถวายองค์พระบรมธาตุ ที่วัดพระบรมธาตุ อำเภอบ้านตาก ซึ่งบรรจุบรมอัฐิ ประกอบด้วยกระดูกพระนลาฎ พระเกศาจำนวน 4 เส้น ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระพุทธคุณของพระองค์ท่าน
สำหรับวัดพระบรมธาตุ แห่งนี้ เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดตาก มีพระธาตุที่จำลองแบบมาจากเจดีย์ชเวดากอง ประเทศเมียนมา และเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของปีมะเมีย ที่ตัวอุโบสถมีประตูเป็นไม้แกะสลักสวยงาม หน้าบันและจั่ว เป็นไม้หน้าต่างแกะเป็นพุทธประวัติปิดทอง หัวบันไดเป็นนาค วิหารของวัดซึ่งเป็นวิหารเก่า มีเพดานสูง 2 ชั้น มีช่องลมอยู่โดยรอบ ทำให้อากาศภายในเย็น และวิหารแห่งนี้ ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง
นอกจากนี้ ภายในบริเวณวัด ยังมีวิหารไม้เก่าแก่ที่มีลวดลายแกะสลัก ซึ่งถือได้ว่า วัดพระบรมธาตุแห่งนี้ เป็นวัดที่มีคุณค่าทางโบราณคดีแห่งหนึ่งของประเทศไทย คุณค่าทางศาสนา คุณค่าทางจิตใจที่ล้ำค่า ของพุทธศาสนิกชนชาวไทย ที่ให้ความเคารพ นับถือ ศรัทธา กราบไห้วบูชา จากรุ่นสู่รุ่น สืบทอดต่อๆกัน ตลอดไป