น้ำมันยางสดวูบชาวสวนยางใต้หันแปรรูปยางรมควันได้ราคาห่างกัน10บาท/กก.

น้ำมันยางสดวูบชาวสวนยางใต้หันแปรรูปยางรมควันได้ราคาห่างกัน10บาท/กก.





ad1

สงขลา-ชาวสวนยาง ประกาศนโยบายเก็บสต๊อกน้ำยางสด เพื่อรักษาราคา หันมาแปรรูปเป็นยางรมควัน เพราะราคาระยะห่างกัน 10 บาท / กก. รมควัน 63 บาท น้ำยางสด 52 บาท / กก. เริ่มปักธง 12 ก.ค. 65 ที่ผ่านมา
 
นายสมพงศ์ ราชสุวรรณ ประธานกรรมการกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง สกย. เขตนาทวี อ.นาทวี จ.สงขลา เปิดเผยว่า ในวันที่ 12 กค. 65  กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรทำสวนยางบ้านนาปรังพัฒนา อ.นาทวี จ.สงขลา ได้มีโครงการชะลอขายน้ำยางสด นำน้ำยางสดมาเก็บสต๊อก และจะนำไปแปรรูปเป็นยางรมควัน 

โดยจะสต๊อกเก็บไว้แปรรูปเป็นยางรมควัน จนกว่าน้ำยางสดจะได้ราคาที่ดีแล้วจึงจะผลิตน้ำสดออกขายอีก ทั้งนี้เนื่องจากน้ำยางสด ราคาประมาณ 52 บาท / กก. และราคาอยู่ในระดับนี้มาประมาณ 1 เดือนแล้ว  โดยที่ขณะนี้ราคายางรมควันประมาณ 63 บาท / กก. ซึ่งราคาจะห่างกันประมาณ 10 บาท / กก.

ทั้งนี้การดำเนินการโครงการนี้เพื่อให้เกษตรกรจะอยู่ได้กับสถานการณ์เศรษฐกิจขณะนี้  โดยเฉพาะที่สำคัญราคาปุ๋ยใส่ยางที่ราคาค่อนข้างสูงมาก  เพื่อจะให้มีรายได้ส่วนนี้จะได้นำมาซื้อปุ๋ยบำรุงสวนยางได้บ้าง  ยางเมื่อได้ปุ๋ยบำรุงน้ำยางสดปริมาณจะดีขึ้น  

นายสมพงศ์ กล่าวว่า โดยประมาณเบื้องต้นนโยบายชะลอการขายน้ำยางสดเพื่อเก็บสต๊อกเอาไว้แปรรูปเป็นยางรมควัน คาดว่าประมาณ 30,000 กก. / วัน  และถัดไปจะมีกลุ่มเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการอีกจำหลายราย 

นายสมพงศ์ กล่าวว่า โครงการนี้เป็นการหารือกันแล้วในกลุ่มเกษตรกร ทั้งนี้จำเป็นต้องรักษาสภาพของสมาชิกกลุ่มให้อยู่ได้กับสภาพเศรษฐกิจนี้ เพราะสภาพนี้เกษตรกรชาวสวนยางจะอยู่ได้เมื่อได้ราคาประมาณ 60 บาท / กก.  ซึ่งยางรมควันราคา 63 บาท / กก. ในขณะนี้พออยู่ได้ ทั้งไม่ได้มีการแข่งขันรายใดกลุ่มใด แต่จำเป็นต้องดูแลสมาชิกกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง 

นายเรืองยศ เพ็งสกุล ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อยถ้ำพรรณรา (วคยถ.) และกรรมการสมาคมคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อย (ส.ค.ย.) กล่าวว่า ราคาปุ๋ยเคมียังทรงตัวจากราคาที่ปรับตัวขึ้นจากเมื่อต้นปี 2565 ราคาที่ 900 บาท โดยทยอยปรับตัวจนถึงขณะนี้ประมาณ 1,600 - 1,700 บาท / กระสอบ และขณะนี้ราคายังทรงตัวอยู่เกษตรกรจึงไม่มีกำลังซื้อ จึงมีการปรับตัวลดการใช้ปุ๋ยเคมีประเภทธาตุอาหารหลัก ปรับมาใช้ธาตุอาหารรองที่ราคาประมาณ 600 บาท / กระสอบ เมื่อเทียบกับธาตุอาหารหลัก 1,600 บาท และ 1,700 บาท จะลดต้นทุนได้จำนวนมากคือเดิมที่เคยใช้ปุ๋ยเคมีธาตุอาหาหลัก 10 กระสอบปรับลดเหลือ 5 กระสอบ และใช้ธาตุอาหารรองเข้าทดแทน 5 กระสอบ ปุ๋ยเคมีจึงมีการใช้หดตัวลง

“จากปัจจัยการใช้ปุ๋ยธาตุอาหารรองส่งผลต่อผลผลิตโดยเฉพาะยางพาราทำให้ปริมาณน้ำยางสดลดงไปไม่ต่ำกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ / วัน และหากราคาปุ๋ยเคมียังสูงอยู่ในระยะยาวน้ำยางสดปริมาณจะหายไปจำนวนมาก”
นายเรืองยศ กล่าวอีกว่า จากราคาปุ๋ยเคมีที่ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อมีการลดการใช้ ก็จะส่งผลถึงปุ๋ยเคมีจะมีอัตราการขายหดหายไปในระดับหนึ่ง และจะทยอยคงค้างในตลาด ซึ่งจะเห็นว่าราคาปุ๋ยเคมีจะทรงตัวอยู่.