ปราจีนบุรีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาระบบการป้องกันการฆ่าตัวตาย

ปราจีนบุรีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาระบบการป้องกันการฆ่าตัวตาย





ad1

วันนี้ (28 ส.ค.65)  ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรีรายงานว่า   ที่ห้องประชุมร่วมใจ (อาคารอเนกประสงค์  ชั้น 2 ห้องใหญ่ ) สำนักงานสาธารณะสุข จ.ปราจีนบุรี อ.เมืองปราจีนบุรี นายทรงภพ   ขุนเมือง ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.จิตเวชสระแก้วราชนครินทร์   รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์(ดูแล 5 จังหวัด จังหวัดสระแก้วจันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา)   เป็นประธานพิธีเปิดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาระบบการป้องกันการฆ่าตัวตายสำหรับกลุ่มเปราะบางที่มีปัญหาฆ่าตัวตาย  พร้อมบรรยาย เรื่องขั้นตอนการดูแลกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงต่อพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย Suicidat care workflow  จากนั้น ได้แบ่งกลุ่ม  ฝึกปฏิบัติการใช้ระบบเฝ้าระวัง suicide  social online 

โดยบูรณาการในกลุ่มเป้าหมาย   ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณะสุขระดับจังหวัด – ระดับอำเภอทุกอำเภอ ระดับ รพ.ศูนย์,รพ.ทั่วไป รพ.ชุมชน  ,รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล สื่อมวลชน – นักประชาสัมพันธ์   และ  หน่วยกู้ภัยในจังหวัดปราจีนบุรี

นาย สมภพ  กล่าวว่า   " ในการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาระบบการป้องกันการฆ่าตัวตายสำหรับกลุ่มเปราะบางที่มีปัญหาพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย  อาทิ  กลุ่มเสี่ยงโรคทางกาย  อาทิ โรคซึมเศร้า ฯลฯ,  กลุ่มเสียงสารเสพติด กลุ่มเสียงที่มีภาวะเครียดจากสาเหตุอื่น อาทิ   ผู้สูงอายุที่อ่อนแอ, เด็กที่พึ่งตนเองไม่ได้, และผู้ป่วยที่มี ความเสี่ยงต่อการถูกทารุณกรรมและ / หรือถูกทอดทิ้ง   เราอาจจะสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังป้องกัน และ ช่วยเหลือ ผู้ฆ่าตัวตาย สำเร็จ   และ ผู้ พยายามฆ่าตัวตาย  ตามหลักการให้การการดูแลช่วยเหลือ อาทิแก่ ครอบครัวผู้เสียชีวิต  ผู้พยายามฆ่าตัวตาย(ฉุกเฉิน),ผู้ที่มีความคิดหรือวางแผนฆ่าตัวตาย ดังกล่าวได้

ทุกภาคส่วนนั้น    ไม่อยากให้มีการฆ่าตัวตาย    ขอให้มีหลายๆองค์กร เข้ามา มีส่วนร่วม    ในการเฝ้าระวัง     ส่วนใหญ่เราจะทำ เฉพาะใน เรื่องของสาธารณสุข     แต่ตอนนี้ มันมีบาง ที่เราต้อง ให้ความสำคัญ     ใน องค์กรอื่นๆ   และประชาชนอยากทำให้เกิด ความสำคัญ ในองค์กรอื่นๆ  และ   ประชาชน

วัตถุประสงค์ การที่จะ ให้มีระบบแนวทางเพื่อการพัฒนาระบบการป้องกันการฆ่าตัวตายสำหรับกลุ่มเปราะบางที่มีปัญหาพฤติกรรมการฆ่าตัวตายที่เป็นของตัวเอง     ในแต่ละจังหวัด     ซึ่งน่าจะมีความ เข้มแข็ง และ ความมีเจ้าของ ในการคิด ระบบนี้ร่วมกัน

ผล คาดว่า เป็นความหวัง หวัง ลึกๆว่า จริงๆแล้ว เราควรจะมีแบบนี้มานานแล้ว    การทำงานของเรา หวังว่าจะได้มีองค์กรอื่นๆเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น   และ  ในเรื่องของประชาสัมพันธ์ – สื่อสารมากขึ้น     ที่สำคัญที่ สุด เราอยากให้ประชาชนและให้องค์กร ที่อยู่ในจังหวัด มีแนวร่วมหรือมีส่วนร่วมมากขึ้น

เพราะการฆ่าตัวตาย เป็น เหมือนมัจจุราช ที่ ไม่อาจคาดเดาได้ถ้ายิ่งประชาสัมพันธ์เข้าไปมีส่วนร่วมยิ่งจะให้ทุกคนมีส่วนร่วมการป้องกันและการเฝ้าระวังก็จะมีคุณภาพมากขึ้น    ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์(ดูแล 5 จังหวัด จังหวัดสระแก้วจันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา)  ที่ดูแลสุขภาพจิต     ยังเหลืออีก 1 จังหวัดที่ยังขาดจัดการประชุม   คือ จ.ตราด    บนความสำเร็จสำเร็จ เรื่องของการพัฒนาระบบการป้องกันการฆ่าตัวตายสำหรับกลุ่มเปราะบางที่มีปัญหาฆ่าตัวตาย นั้นองค์กรอื่นๆเข้ามา ร่วมกัน  " นายสมภพ กล่าวย้ำ

มานิตย์   สนับบุญ/ปราจีนบุรี รายงาน