ควบคุมนักกิจกรรมขับเคลื่อนเรื่องอัตลัดมลายูปาตานีสอบสวนที่ภูธรภาค 9

ควบคุมนักกิจกรรมขับเคลื่อนเรื่องอัตลัดมลายูปาตานีสอบสวนที่ภูธรภาค 9





ad1

ความคืบหน้ากรณีเจ้าหน่าที่หน่วยความมั่นคงสนธิกำลังพร้อมอาวุธสงครามครบมือปิดล้อมบ้านพักนักกิจกรรมขับเคลื่อนเรื่องอัตลัดมลายูปาตานีอย่างสะเทือนกลัวก่อนนำตัวไปสอบสวนที่ภูธรภาค9 คณะเดียวกัน กอรมน กลับปฏิเสธการควบคุมตัว จนกลายเป็นสองความจริงในเรื่องเดียวกัน

ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากรณีเหตุเจ้าหน้าที่สนธิกำลังสามฝ่ายนำกำลังพร้อมอาวุธสงครามครบมือทำการปิดล้อมพื้นที่เป้าหมายภายในซอย14 ย่านตลาดเก่าเทศบาลนครยะลา หนึ่งในเป้าหมายคือบ้านพักหรือหอพักนักศึกษาวิทยาลัยเจษฎา KISDA หรือกุลยะห์เชคดาวูด อัลฟาฏอนีย์ ซึ่งบ้านพักของนายอนัส ดือเระ ที่กำลังนอนพักผ่อนภายในบ้านพักดังกล่าว ไม่ได้เป็นผู้ต้องหาหรือผู้ต้องสงสัยที่กำลังหลบหนีคดีความมั่นคงแต่อย่างใด เหตุเกิดเมื่อเวลาประมาณตี 04.00น.ของวันที่31สิงหาคมที่ผ่านมา

 จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวนายอนัสไปสอบสวนที่ภูธรภาค9ส่วนหน้า จ.ยะลา ตามที่เป็นข่าวใสสังคมสื่อโซเซียลออนไลน์ จนเกิดการดราม่าถูกวิพากษ์วิจารณ์ไม่พอใจเป็นวงกว้าง

 เนื่องจาก นายอนัส เป็นนักกิจกรรม นักเคลื่อนไหวประเด็นสังคมวัฒนธรรมมลายู และเป็นนักศึกษาวิทยาลัย KISDA จังหวัดยะลา ครั้นที่มีการรวมตัวชุดอัตลักษณ์มลายู นายอนัส เป็นตัวแทนเยาวชนที่ขึ้นเวทีอ่าน "คำมั่นสัญญาของเยาวชนปาตานี" หรือ Iqra Muda เมื่อวันที่ 4 พ.ค. 65 ที่หาดวาสุกรี อ.สายบุรี จ.ปัตตานี และล่าสุด นายอนัส ดำเนินรายการเป็นพิธีกรบนเวที ในงานมหกรรมต้อนรับปีใหม่อิสลาม ที่สำนักงานคณะกรรมการประจำจังหวัดยะลาจัดอย่างยิ่งใหญ่อีกด้วยเมื่อ17-18 สิงหาคมที่ผ่านมานับเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ เป็นตัวอย่างที่ดีและเป็นที่ยอมรับในสังคมชั้นผู้นำศาสนาอีกคนหนึ่ง

การแต่งชุดมลายูในคราวนั้นมีเยาวชนเข้าร่วมทั่วพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ราว 30,000คนที่รวมการแต่งชุดมลายูรวมตัวกันที่ชายหาดวาสุกรี สายบุรี ในห้วงเดือนพฤษภาคม 2565หรือช่วงเทศกาลฮารีรายออีดิลฟิตรีที่ผ่านมา จนเกิดกระแสทางหน่วยความมั่นคงในพื้นที่ไม่ค่อยสบายในมากนัก หลังจากนั้น หน่วยความมั่นคงจึงได้เรียกเชิญแกนนำในครั้งนั้นเข้าพบพลตรีธิรา เดหวา รองแม่ทัพภาค 4  ที่ศูนย์สันติวิธีเพื่อชี้แจง และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ตรงกันมาแล้วก่อนหน้านี้Muhammad Rusdy Sheikh Haroon รองโฆษกพรรคประชาชาติ ได้โพสต์เรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงว่า ผมได้โทรศัพท์ติดต่อ ‘อนัส ดือเระ’ (Cikwo Lukis) ผ่านทีมข่าวที่อยู่ใกล้ตัวเขา ทราบว่า ขณะนี้เขาได้รับการปล่อยตัวแล้วเมื่อเวลาประมาณ 11.30 น. วันนี้ (31 ส.ค.65).

อนัส บอกผมว่า เขาทำงานและเพิ่งจะนอนหลับไปเมื่อเวลาประมาณตีสามกว่า และคิดว่าหลังจากนั้นไม่นานกองกำลังฝ่ายความมั่นคง คงมาล้อมบ้านตน ที่ย่านตลาดเก่ายะลา ตั้งแต่ตอนนั้น แต่เนื่องจากล้าและเพิ่งหลับจึงไม่รู้สึกตัวว่ามีคนมาเคาะประตูบ้าน รู้สึกตัวอีกทีก็ประมาณ 6 โมงกว่าแล้ว .

เขาได้ยินเสียงคนเรียก ได้ยินเสียงโดรนอยู่บนหลังคา เมื่อเปิดม่านมาก็เห็นกองกำลังจำนวนนับสิบนายยืนจ่อปืนในท่าเตรียมยิง หันมาทางบ้านตน ตนตกใจมาก ขณะนั้นคิดว่าวันนี้ตายแน่ๆ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ จึงเปิดม่านทั้งหมดออก และเปิดประตูบ้านให้กองกำลังที่มีอาวุธสงครามครบมือได้เข้ามา เขาถูกใช้เป็นโล่มนุษย์ ให้พาเข้าไปในบ้าน และถูกค้นบ้านอย่างละเอียด โดยมีเพื่อนบ้านเป็นพยานในการตรวจค้น .

เมื่อเริ่มสว่าง เริ่มมีผู้คนพลุกพล่านมากขึ้น จึงนำตัวไปสอบถามที่กองบังคับการสืบสวนสอบสวนจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยตนถามข้อกล่าวหา ว่าถูกกล่าวหาในข้อหาใด แต่ไม่ได้รับคำตอบจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง .
ตนถูกสอบถามข้อมูลส่วนตัวอย่างละเอียด และถูกยึดโทรศัพท์ พร้อมขอพาสเวิร์ด เพื่อค้นข้อมูลส่วนตัว และได้รับการปล่อยตัวในเวลาประมาณ 11.30 น. โดยเจ้าหน้าที่ยังไม่คืนโทรศัพท์มือถือ และรับปากว่าจะคืนให้ในเวลาประมาณเที่ยงของวันนี้.โดยตนให้ข้อมูลว่า เป็นนักศึกษาที่วิทยาลัย KISDA และทำงานรับจ้างเป็นพิธีกรภาษามลายูตามงานต่างๆ และเป็นนักกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมมลายูด้วย.

ต่อมา เจ้าหน้าที่ได้ขับรถมาส่งที่บ้าน และตนได้ไปแจ้งร้องเรียนที่มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม จ.ยะลา และได้เข้าที่พักในที่ปลอดภัยแล้ว .

ท่านซูการ์โน มะทา ในฐานะ ส.ส.ยะลา ได้ทราบเรื่องและติดตามอย่างใกล้ชิด และมีความห่วงใยต่อประเด็นการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว จึงได้ประสานไปยังผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดยะลาให้ช่วยดูแลด้วย

 ด้านพลตรี ปราโมทย์  พรหมอินทร์โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ได้ออกมาชี้แจงเมื่อเวลาประมาณ16.15 น.ของวันเดียวกัน ผ่านเพจ กอ.รมน.ว่าจากกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2565 และปรากฏเป็นข่าวในสื่อโซเซียลกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่เข้าควบคุมตัวเยาวชนที่แต่งกายด้วยชุดมลายูนั้น จากการตรวจสอบพบว่าเป็นการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ 3 ฝ่าย ที่ได้สนธิกำลังเข้าติดตามจับกุมบุคคลตามหมายจับ ป.วิอาญาพร้อมพวกซึ่งได้ตรวจพบภาพข่าวความเคลื่อนไหวเตรียมก่อเหตุในเขตเมืองยะลา 

และได้เข้ามาหลบซ่อนพักพิงอยู่ที่บ้านเช่าภายในซอยสิโรรส 14 เขตตลาดเก่า ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จึงได้สนธิกำลังเข้าตรวจสอบเพื่อบังคับใช้กฎหมายกับกลุ่มบุคคลดังกล่าว แต่ผู้ต้องหาได้ไหวตัวทันและหลบหนีไปได้ เจ้าหน้าที่จึงได้ทำการเก็บรวบรวมหลักฐานพร้อมตรวจสอบบ้านเช่าที่อยู่ติดกันและได้เชิญตัวบุคคลภายในบ้านทราบชื่อภายหลังคือ นาย อานัส ดือเระ มาสอบถามข้อมูล ณ ชุดสืบสวนคดีความมั่นคง ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า (ศปก.ตร.สน.)  เมื่อเวลา 09.00 น. โดยมีประธานชุมชนร่วมรับฟังการสอบถามและเป็นสักขีพยาน จากนั้นได้ปล่อยตัวกลับ ในเวลา 10.00 น. โดยไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาแต่อย่างใด

 จากการดำเนินการดังกล่าว จึงเห็นได้ว่าเป็นเพียงการเชิญตัวนาย อานัสฯ มาสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มคนร้ายเท่านั้นโดยไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับการแสดงออกในเชิงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมมลายูของกลุ่มเยาวชนในห้วงที่ผ่านมาดังที่ได้พยายามกล่าวอ้างบิดเบือน ทั้งนี้เพราะการแสดงออกเชิงอัตลักษณ์เป็นสิ่งที่ดีงามและเป็นสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของปวงชนชาวไทยที่ทุกเชื้อชาติศาสนาสามารถแสดงออกได้ตราบใดที่ไม่ได้ละเมิดต่อหลักกฎหมายหรือมีวัตถุประสงค์อื่นแอบแฝงที่ทำให้กิจกรรมผิดเพี้ยนไปดังหลักฐานที่ปรากฏให้เห็นในห้วงที่ผ่านๆ มา

จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ได้เกิดเหตุดราม่าและมองว่านักกิจกรรมในพื้นที่ความขัดแย้งมองปรากฏการณ์ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินการว่าเป็น "SLAPP แสลป" คือ ปฏิบัติการ"ปิดปาก"ประชาชนด้วยกฎหมายSLAPP ย่อมาจากคำเต็มว่า Strategic Lawsuit Against Public Participation หมายถึง "การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของสาธารณชน"

iLAW ได้ให้ความหมาย สแลป SLAPP ว่า เป็นการฟ้องคดีโดยมีจุดมุ่งหมายให้เสียงของการเรียกร้องสิทธิและการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นจริงต่อสาธารณะอ่อนแรงและเงียบลงไป หรืออาจจะเปรียบเปรยให้เห็นภาพว่า แสลป ก็คือการตบปากคนด้วยกฎหมาย เมื่อผู้มีอำนาจไม่อยากจะฟัง (หรือไม่อยากให้คนอื่นได้ฟัง)

สำหรับในพื้นที่ปาตานี/ชายแดนใต้ มีกรณีที่ถูกตกเป็นผู้ต้องหา จากการจัดทำรายงานข้อมูลการละเมิดสิทธิโดยเจ้าหน้าที่ความมั่นคง การซ้อมทรมาน ต่อองค์กรระหว่างประเทศ

ด้านรอมดอน ผ่านจอ อดีต บรรณาธิการศูนย์เฝ้าระหวัง ให้ทัศนะกรณีนี้ว่าเป็นการบ่อนทำลายกระบวนการสันติภาพ นั้นทำได้หลายทางครับ หนึ่งในนั้นคือการมุ่ง #ปิดปาก ผู้คนที่ใช้ สันติวิธี ในการเคลื่อนไหวต่อสู้ ผู้กระทำการบ่อนทำลายอาจต้องรับผิดชอบต่อความสูญเสียที่ตามมาด้วยนะครับ