โครงการชลประทานศรีสะเกษ เร่งระดมเสริมกระสอบทรายเพิ่มปริมาณกักเก็บน้ำให้ครบ10 อ่าง เพื่อให้เกษตรกรใช้น้ำปลูกพืชหลังนา

โครงการชลประทานศรีสะเกษ  เร่งระดมเสริมกระสอบทรายเพิ่มปริมาณกักเก็บน้ำให้ครบ10 อ่าง เพื่อให้เกษตรกรใช้น้ำปลูกพืชหลังนา





ad1

นายจำรัส สวนจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษรายงานสถานการณ์น้ำในจังหวัดศรีสะเกษ วันนี้ 31  ตุลาคม 2565  อ่างเก็บน้ำขนาดกลางทั้ง 16 แห่ง เก็บกักน้ำได้ 208.34 ล้าน ลบ.ม ปัจจุบันเก็บกักได้ 213.16 ล้าน  ลบ.ม  คิดเป็น  102.31 เปอร์เซ็นต์  และโครงการฯ ได้เสริมกระสอบทรายบริเวณทางระบายน้ำล้น(Spillway) ของอ่างเก็บน้ำประมาณ 30-50 เซนติเมตร จำนวน 6 แห่ง จากเป้าหมายทั้งหมด 10 แห่ง โดยมีเกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ำมีส่วนร่วมในการดำเนินการ  เพื่อการเก็บกักน้ำเพิ่มเติมของอ่างเก็บน้ำห้วยด่านไอ   อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำคำ  อ่างเก็บน้ำหนองสิ อ่างเก็บน้ำห้วยตาจู  อ่างเก็บน้ำห้วยศาลา  และอ่างเก็บน้ำห้วยขนุน    สำหรับไว้ใช้ในฤดูแล้ง  / ความปลอดภัยของเขื่อนดิน ( Dam  Safety) ปกติ (ตามรายละเอียดในภาพถ่ายที่แนบ)

จำรัส สวนจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ

สำหรับปริมาณน้ำใน ลุ่มน้ำต่างๆ นายจำรัส สวนจันทร์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำ ทั้ง M9  M42  M176 และ M190 จากการวิเคราะห์จุดตรวจวัด  M ต่างๆ  ลดลง  ทุก M  (ตามรายละเอียดในตาราง)

3.  การวิเคราะห์ระดับน้ำในลุ่มน้ำมูลของจังหวัดบุรีรัมย์   สุรินทร์   ศรีสะเกษ  และอุบลราชธานี  พบว่า M6A(บุรีรัมย์) M4(สุรินทร์) M5 (ราษีไศล)   M182(กันทรารมย์) และ M7(เมืองอุบลราชธานี) ลดลง กล่าวคือ
M6A จากลด 6 ซม. เป็น ลดลง 9 ซม. 
M4 จากลดลง 9 ซม. เป็นลดลง   9 ซม. เท่าเดิม                                          
M5 จากลดลง 14 ซม    เป็นลดลง 12 ซม.
M182 จากลดลง 15 ซม.เป็นลดลง  16 ซม. 
 และM7 จากลดลง 14 ซม. เป็นลดลง 15 ซม.

สรุปได้ว่าระดับน้ำในแม่น้ำมูลช่วงจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์  ศรีสะเกษและอุบลราชธานี  ลดลงทุกสถานี (ตามรายละเอียดในตาราง)
4. ความสูงของน้ำท่วม และ การเข้าสู่ภาวะปกติของ M สถานีต่างๆ(ตามรายละเอียดในตาราง)             
5. การคาดการณ์และแนวโน้มการเข้าสู่ภาวะปกติของ  M สถานีต่างๆ ( ตามรายละเอียดในตาราง)
6.โครงการที่โครงการชลประทานศรีสะเกษ นำเสนอต่อรองนายกรัฐมนตรี(พลเอกประวิตร  วงษ์สุวรรณ) ที่มาตรวจราชการในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ  เมื่อวันที่ 12  ตุลาคม 2565 เพื่อช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ  ได้แก่
1) โครงการก่อสร้างระบบผันน้ำลำห้วยสำราญรอบเมืองศรีสะเกษ (bypass) เพื่อช่วยเหลือเทศบาลเมืองศรีสะเกษ 
2) โครงการก่อสร้างระบบผันน้ำจากลุ่มน้ำห้วยสำราญไปลุ่มน้ำห้วยทาและขยูง
 7. การเสริมกระสอบทรายและเสริมสต็อปล็อค(stop log)เพื่อการเก็บกักน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลางสำหรับ "ฤดูแล้งปี 2566" จำนวน 6  แห่ง  เก็บกักน้ำได้เพิ่มรวม  8.0 ล้านลูกบาศก์เมตร  ได้เเก่

7.1 เสริมกระสอบทรายอ่างเก็บน้ำด่านไอ   เก็บกักน้ำได้เพิ่ม 0.80 ล้านลูกบาศก์เมตร          
7.2 เสริมกระสอบทรายอ่างเก็บน้ำห้วยขนุน  เก็บกักน้ำได้เพิ่ม  1.0 ล้านลูกบาศก์เมตร                                                        
7.3 เสริมกระสอบทรายอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำคำ  เก็บกักน้ำได้เพิ่ม 0.30 ล้านลูกบาศก์เมตร 
7.4 เสริมสต็อปล็อค(stop log) อ่างเก็บน้ำหนองสิ เก็บกักน้ำได้เพิ่ม 0.40 ล้านลูกบาศก์เมตร                                    
7.5 เสริมกระสอบทรายอ่างเก็บน้ำห้วยตาจู  เก็บกักน้ำได้ 2.0 ล้านลูกบาศก์เมตร                                                
7.6 เสริมกระสอบทรายอ่างเก็บน้ำห้วยศาลา  เก็บกักน้ำได้ 3.5 ล้านลูกบาศก์เมตร

เสนาะ วรรักษ์/รายงาน