ศอ.บต. หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของราษฏรนิคมสหกรณ์ปิเหล็ง จำกัด ในพื้นที่ จ.นราธิวาส

ศอ.บต. หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของราษฏรนิคมสหกรณ์ปิเหล็ง จำกัด ในพื้นที่ จ.นราธิวาส





ad1

วันที่ 21 ธันวาคม 2565 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดประชุมแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของราษฏรในพื้นที่นิคมสหกรณ์ปิเหล็ง จำกัด อำเภอระแงะและอำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส โดยมีนายศรัทธา คชพลายุกต์ รองเลขาธิการ ศอ.บต. เป็นประธานการประชุมฯ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ห้องประชุมเจริญจิตต์ ณ สงขลา ศอ.บต.

สำหรับการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของราษฏรในพื้นที่นิคมสหกรณ์ปิเหล็ง จำกัด อำเภอระแงะ และอำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ซึ่งความเป็นมาตามกฎกระทรวงฉบับที่ 20 (พ.ศ. 2507) กำหนดให้ป่าลุ่มน้ำบางนราแปลงที่ 1 ในท้องที่ ตำบลมะรือโบตะวันออก อำเภอระแงะ และตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ภายในแนวทางเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงนี้ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ นิคมสหกรณ์ปิเหล็งฯ ได้รับจัดสรรที่ดินตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์ พ.ศ.2518 ในห้องที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอตากใบ ระแงะ สุไหงโกลก และอำเภอสุไหงปาดี มีพื้นที่ทับซ้อนกับเขตห้ามล่าสัตว์ป่าและป่าสงวนแห่งชาติจำนวน 2 แปลง ได้แก่ ป่าลุ่มน้ำบางนรา แปลงที่ 1 แปลงที่ 2 และพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์ในท้องที่อำเภอระแงะ และอำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส พ.ศ. 2533 - มาตร 4 ให้จัดตั้งนิคมสหกรณ์ในท้องที่อำเภอระแงะและอำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

ภายในแนวเขตที่ดินตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงนี้ เฉพาะในส่วนที่ดินเป็นของรัฐ มาตร 5 พระราชกฤษฎีกานี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์ในท้องที่อำเภอตากใบ อำเภอระแงะ และอำเภอไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส พ.ศ. 2518 เนื่องจากแนวเขตนิคมสหกรณ์ ตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์ในท้องที่อำเภอตากใบ อำเภอระแงะ อำเภอสุไหงโกลก และอำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส พ.ศ. 2518 ได้ครอบคลุมพื้นที่ที่ยัง ไม่มีราษฎรเข้าไปครอบครองทำประโยชน์และยังคงสภาพของทรัพยากรธรรมชาติ อันควรสงวนหวงห้ามไว้ตามเดิม และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าลุ่มน้ำบางนรา แปลงที่1 และแปลงที่ 2 สมควรปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเสียใหม่ โดยกำหนดพื้นที่ของหมู่บ้านตัวอย่าง ปิเหล็ง และบริเวณใกล้เคียง ในท้องที่อำเภอระแงะ และอำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส เป็นแนวเขตนิคมสหกรณ์ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

ทั้งนี้ในที่ประชุมจะมีการพิจารณาแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยให้หน่วยงานที่มีที่ดินในความรับผิดชอบตรวจสอบและยืนยันแนวเขตที่มีพื้นที่ทับซ้อนกับนิคมสหกรณ์ปิเหล็งฯ หรือไม่ หากในกรณีหน่วยงานที่ไม่มีพื้นที่ทับซ้อนก็จะรายงานไปยังต้นสังกัดให้ส่งหลักฐานให้ศอ.บต. ทราบ เพื่อเตรียมดำเนินการเร่งรัดต่อไป

ด้านนายศรัทธา คชพลายุกต์ รองเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า การขับเคลื่อนแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดิน ทับซ้อนมีกฏระเบียบที่ชัดเจนซึ่งทุกอย่างต้องเป็นไปตามขั้นตอนและหลักการดำเนินการเร่งรัด เพื่อนำมาซึ่งการวิเคราะห์ ประมวลผล และร่วมกันมุ่งมั่นหาแนวทางแก้ไขปัญหา เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนมีทางออกมากที่สุด