รพ.สมุทรสาคร จัดทำโครงการพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยที่ถูกกระทำความรุนแรงและทำงานเชิงรุกโดยใช้ "Platform Social telecare"

รพ.สมุทรสาคร จัดทำโครงการพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยที่ถูกกระทำความรุนแรงและทำงานเชิงรุกโดยใช้ "Platform Social telecare"





ad1

โครงการพัฒนาเครือข่ายการดูแลทางสังคมกลุ่มผู้ป่วยเด็กสตรีและครอบครัวที่ถูกกระทำความรุนแรงเพื่อสนับสนุนระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิของโรงพยาบาลสมุทรสาคร ร่วมกับคณะสังคมสงเคราะห์โดยการสนับสนุนจากสำนักงาน กองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) เป็นหนึ่งใน 12 พื้นที่ Social telecare sandbox

นางสาวแพร จันทรังสรรค์ นายแพทย์ชำนาญการประธานศูนย์พึ่งได้(OSCC)โรงพยาบาลสมุทรสาคร กล่าวถึงปัญหาผู้ป่วย เด็กและสตรี ที่ถูกกระทำความรุนแรงถูกนำส่งโรงพยาบาลสมุทรสาครจะได้รับการตรวจร่างกายเบื้องต้นหากสงสัยหรือพบเหตุถูกกระทำความรุนแรง จะเข้าสู่ระบบการช่วยเหลือเฉพาะของศูนย์พึ่งได้ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของสหวิชาชีพ แต่ส่วนใหญ่ผู้ถูกกระทำความรุนแรงเรานี้จะไม่ค่อยกล้าให้ข้อมูลทำให้ต้องใช้เวลาในการสร้างความสัมพันธ์ความไว้วางใจนำไปสู่ความมั่นใจว่าจะได้รับความช่วยเหลือจริง

      แพร จันทรังสรรค์ นายแพทย์ชำนาญการ ประธานศูนย์พึ่งได้โรงพยาบาลสมุทรสาคร

นางสโรทร ม่วงเกลี้ยง นักวิชาการประจำโครงการกล่าวว่า โครงการดูแลผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางทางสังคมของโรงพยาบาลสมุทรสาครซึ่งเลือกกลุ่มเป้าหมายที่อ่อนไหวเป็นพิเศษคือกลุ่มเด็กสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรงรวมถึงกลุ่มแม่หลังคลอดที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด การทำงานในรูปแบบเฉพาะที่ต้องเก็บรักษาความลับในขณะที่มีนักวิชาชีพที่เกี่ยวข้องจำนวนมากจำเป็นต้องมีการเข้าถึงฐานข้อมูลของผู้ป่วยตาม ความจำเป็นและเป็นไปตามกฎหมายระบบ platform Social telecare จะพัฒนาไปสู่การจัดชั้นความลับสำหรับผู้เกี่ยวข้องได้ในอนาคต

                        สโรทร ม่วงเกลี้ยง นักสังคมสงเคราะห์วิชาชีพ

ขณะเดียวกันการทำงานเชิงรุก โดยการใช้เครื่องมือในPlatform  social telecare ประเมินความเสี่ยงและป้องกันความรุนแรงในครอบครัวทำให้สามารถออกแบบกิจกรรมการป้องกัน เฝ้าระวังกับกลุ่มเด็กนักเรียนในสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้ ทั้งนี้ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเช่น บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดสมุทรสาครยุติธรรมจังหวัดสมุทรสาครตำรวจเทศบาลเมืองสมุทรสาครได้ร่วมกันทำงานเชิงรุกภายใต้โครงการนี้และพิจารณาเพื่อการขยายผลต่อไป

นางสาวภัทริยา ควรคิด นักจิตวิทยาคลินิกกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดโรงพยาบาลสมุทรสาคร ตั้งข้อสังเกตว่าเด็ก หญิงมักถูกละเมิดทางเพศโดยบุคคลในครอบครัวเช่นพ่อเลี้ยงซึ่งการทำงานยากมากเนื่องจากความผูกพันการพึ่งพาของแม่ทำให้ปกป้องลูกไม่ได้มากนักส่งผลให้เด็กกลายเป็นซึมเศร้ามีพฤติกรรมหรือมีความรู้สึกว่าตนเองไม่มีใครรัก จำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการบำบัดเยียวยาและสนับสนุนให้ ได้รับบริการด้านการศึกษาด้านสังคมต่อเนื่องไป

การใช้ platform Social telecare จัดเก็บข้อมูลได้อย่างเป็นระบบสามารถสะท้อนกลับไปสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทำงานร่วมกัน รับทราบความก้าวหน้าร่วมกัน มีเครื่องมือช่วยการทำงานในแพลตฟอร์มที่หลากหลายสำหรับ สหวิชาชีพซึ่งจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อกลุ่มผู้ป่วย เหล่านี้