พี่น้องมุสลิมจากทั่วสารทิศได้ร่วมละหมาดวันฮารีรายออีดิ้ลฟิตริ หลังจากที่ถือศีลอดมาตลอด 1 เดือนเต็ม

พี่น้องมุสลิมจากทั่วสารทิศได้ร่วมละหมาดวันฮารีรายออีดิ้ลฟิตริ หลังจากที่ถือศีลอดมาตลอด 1 เดือนเต็ม





ad1

พี่น้องมุสลิมเป็นจำนวนมากจากทั่วสารทิศได้ร่วมละหมาดวันฮารีรายออีดิ้ลฟิตริ ท่ามกลางเสียงกลอนดังคึกก้องในกิจกรรมพิธีเช็งเม้งเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ประจำปี 2566 ของพี่น้องชาวจีนด้านหน้าของมัสยิดห่างกันเพียง50เมตร

บรรยากาศของการละหมาดอีดิ้ลฟิตรี เพื่อการเฉลิมฉลองของเทศกาลวันฮารีรายอของพี่น้องมุสลิมไทยภายหลังสำนักจุฬาราชมนตรี ได้ประกาศให้วันนี้เป็นวันฮารีรายออีฎิ้ลฟิตริ ปีฮิจเราะห์ ศักราช 1444(ตามปฏิทินอิสลาม) หรือวันเฉลิมฉลองของพี่น้องชาวมุสลิม หลังจากที่ถือศีลอดมาตลอด 1 เดือนเต็ม ในเดือนรอมฎอนที่ผ่านมา

โดยบรรยากาศวันฮารีรายอใน อ.เมือง จ.ปัตตานี ตั้งแต่รุ่งเช้า พี่น้องมุสลิมที่นี่จะนิยมเดินทางไปเยี่ยมกุโบร์(สุสาน) หรือหลุมฝังศพของบรรพบุรุษ เพื่อระลึกถึงบุคคลที่ล่วงลับไปแล้ว จากนั้น เวลา 06.30 น. พี่น้องมุสลิมจะไปที่มัสยิดใกล้บ้านเพื่อร่วมกันละหมาดและฟังบรรยายธรรมเนื่องในวันฮารีรายออีฎิ้ลฟิตรี

เช่นเดียวบรรยากาศมัสยิดโบราณกรือเซะ อ.เมือง จ.ปัตตานี ตั้งอยู่ติดกับถนนทางหลวงสาย42 ปัตตานี-ยะลา ได้มีพี่น้องชาวไทยมุสลิมจากทั่วสารทิศที่ชื่นชอบนิยมมาละหมาดที่มีมัสยิดแห่งนี้ ทั้งชายและหญิงพากันจูงบุตรหลาน พากันแต่งชุดรายอที่สวยงาม มาร่วมละหมาด เนื่องในวันฮารีรายออีฎิ้ลฟิตริกันอย่างคึดคัก เพื่อร่วมละหมาดและขอพรจากพระผู้เป็นเจ้าให้เกิดความสันติสุขแก่ตนเองและครอบครัว และร่วมรับฟังการบรรยายธรรมเรื่องการทำความดี หลังจากนั้นทุกคนจะร่วมกันสลามสวมกอดกัน ขออภัยซึ่งกันและกัน ในข้อผิดพลาด ทามกลางบรรยากาศอบอุ่น ซึ่งปีนี่ได้มีผู้เข้าละหมาดมากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์

โดยทุกปี ชาวมุสลิมจะรู้สึกดีใจ และมีความสุขที่สุดในวันฮารีรายอเป็นอย่างมาก ต่างร่วมกันแต่งชุดรายอที่สวยงาม ซึ่งพี่น้องมุสลิมนิยมซื้อสิ่งของใหม่ๆ ใส่ในวันฮารีรายอ และเป็นอีกหนึ่งน่าประทับใจสำหรับผู้ใหญ่ ที่บรรดาลูกหลานทำงานต่างจังหวัด เดินทางกลับบ้านเกิดมาขออภัยต่อพ่อแม่ มีการแสดงความรักและความเคารพญาติผู้ใหญ่ด้วยการสวมกอด การจูบมือ การหอมแก้ม ก่อนร่วมรับประทานอาหารพร้อมหน้ากันซึ่งปีนี้อยู่ในห้วงเวลาของการรณรงค์แต่งกายชุดมลายูของการเฉลิมฉลองเทศการฮารีรายอ จึงจะเห็นการแต่งกายชุดมลายูของพี่น้องมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้คึกคักเป็นพิเศษ

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นพิเศษกว่าทุกครั้งที่พี่น้องมุสลิมได้ร่วมละหมาดฮารีรายอที่มัสยิดโบราณกรือซะแห่งนี้คือมีการตีกลอนยาวและเครื่องดนตรีอีกหลายประเภทผ่านเครื่องขยายเสียง เสียงดังคึกก้อง ครึกโครม ของการจัดทำพิธีเช็งเม้งเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ประจำปี 2566 เพื่อเป็นสิริมงคล โดยมูลนิธิเทพปูชนียสถาน (เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว) ปัตตานี ได้จัดพิธีเช็งเม้งเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เป็นประจำปีทุกปี จึงกลายเป็นเสียงรบกวนให้กับผู้ร่วมละหมาดที่ต้องรวบรวมสมาธิในการละหมาด จนถูกพูดถึงและวิพากษ์วิจารณ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถึงความเหมาะสม ไม่รู้หรือว่าพี่น้องมุสลิมกำลังทำละหมาดอยู่

มากไปกว่านั้นมีการตั้งคำถามว่าทำไมสุสานฮวงชุ่ยหลิ้มก่อเหนี่ยวถึงถูกวางไว้หน้ามัสยิดโบราณกรือเซะ ที่ไม่มีชุมชนคนจีนอยู่เลย จนมีการพูดถึงวงกว้าง บ้างบอกว่า ก่อนหน้านี้คนจีนเข้าร่วมจัดกิจกรรมเช้งเม็งที่สุสานริมทะเลห่างจากมัสยิดโบราณกรือเซะเข้าทางหมู่บ้านตันหยงลุโล๊ะประมาณ2กิโลเมตร แต่เนื่องจากครั้งหนึ่งเคยมีปัญหากับคนในชุมชนเพราะเป็นชุมชนมุสลิม และทุกครั้งของการจัดกิจกรรมก็จะมีทั้งหัวหมู หัวแพะ เป็นเครื่องสักการะบูชา จึงเกิดการต่อต้านจากมุสลิมในยุคนั้น

จากนั้นจึงได้ความพยายามที่จะย้ายสุสานหลิ้มก่อเหนียวมาไว้หน้ามัสยิดโบราณกรือเซะ โดยได้รับการยินยอมจากผู้ดูแลพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวอดียเคยเป็นส่วนผักของพี่น้องบ้านกรือเซะเมื่อประมาณ70 ปี ที่แล้ว ซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่มาก และมีความพยายามเข้ามาพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวมาหลายรุ่น หลายสมัยดังที่เห็นปัจจุบัน ทั้งๆที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินเขตโบราณสถานมัสยิดกรือเซะตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาตอนที่167 เมื่อวันที่26 สิงหาคม 2526  ในเนื้อที่10ไร่2งานเศษ.ซึ่งขัดแย้งสภาพปัจจุบันพื้นที่มัสยิดฯเหลือเพียง2ไร่ ส่วนที่เหลือถูกล้อมรั้วเหล็กฝั่งสุสานหรือฮวงซุ้ยหลิ้มก่อเหนียว จากสภาพดั้งเดิมขอแค่อาศัยที่ดินของมัสยิดโบราณกรือเซะจากบุรุษท่านหนึ่ง  แต่ปัจจุบันกลับกลายคล้ายกับจะอ้างเป็นเจ้าของพื้นที่เสียเอง จากหลักฐานที่มีการล้อมรั้วโดยรอบ “ เคยมีคำถามจากผู้อำนวยการศิลปากรเขต11สงขลา ว่าใครสร้างรั้วเหล็กดังกล่าว แลเสร้างไปทำไม เพราะมันเป็นพื้นที่เขตโบราณสถานมัสยิดโบราณกรือเซะ”

ถึงแม้ก่อนหน้านี้เคยมีหนังสือคำสั่งจากกรมศิลปากร เพื่อให้มีการรื้อสิ่งก่อสร้างหลายรายการในเขตโบราณสถาน เพราะสิ่งก่อสร้างบางส่วนได้ปิดบังทัศนียภาพของมัสยิดโบราณกรือเซะที่เป็นโบราณสถานที่สำคัญ เช่นโองมังกรสีแดงเป็นต้น แต่กลับไม่สนใจกับคำสั่งสำคัญดังกล่าวเลยจนทุกวันนี้ แม้พี่น้องมุสลิมในพื้นที่ยังเงียบ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับมัสยิดโบราณหลังนี้เพราะมันคือ”สัญลักษณ์ ความเป็นมลายูมุสลิมในดินแดนแห่งนี้และรับรู้กันทั่วโลก”

คงเป็นหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีที่จะตัดสินใจดำเนินการอย่างไรจะยึดกฎหมาย หรือจะไม่สนใจอะไร หรือจะเพิกเฉย ปล่อยให้มันเป็นดังปัจจุบัน ไม่ต้องต้องสนใจในข้อกฎหมายหรืออำนาจหน้าที่ที่ได้รับถ่ายโอนภารกิจ 
ตามประกาศราชกิจจานึเบกษาตอนที่131 ว่าด้วยคำสั่งกรมศิลปากร ที่854/2536 เรื่องมอบหมายให้ผ้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีกระทำการแทน โดยในเนื้อหาระบุชัดว่ามอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีเป็นผู้กระทำแทนอธิบดีกรมศิลปากรในการออกหนังสืออนุญาต หรือไม่อนุญาตให้ปลูกสร้างอาการตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร รวมทั้งการสั่งระงับการก่อสร้าง และรื้อถอนอาคารภายในเขตของโบราณสถานมัสยิดกรือเซะและฮวงซุ้ยเจ้าแม่หลิ้มก่อเหนียว จังหวัดปัตตานี คำสั่งลงวันที่18สิงหาคม 2536 นายสุวิชญ์ รัศมิภูติ อธิบดีกรมศิลปากร

ในขณะเดียวกันที่บริเวณสุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว บ้านกรือเซะ ต.ตันหยงลูโละ อ.เมือง จ.ปัตตานี ซึ่งตั้งอยู่บริเวณมัสยิดโบราณกรือเซะนายวีรนันท์ เพ็งจันทร์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ว่าที่ร้อยตรีตระกูล โทธรรม นายสนั่น สนธิเมือง รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ร่วมกับคนไทยเชื้อสายจีนจัดทำพิธีเช็งเม้งเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ประจำปี 2566 เพื่อเป็นสิริมงคล โดยมูลนิธิเทพปูชนียสถาน (เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว) ปัตตานี ได้จัดพิธีเช็งเม้งเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เป็นประจำปีทุกปี

สำหรับปี 2566 ได้กำหนดจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 22 เมษายน 2566 ณ ศาลเจ้าเล่งจูเกียง ถ.อาเนาะรู และสุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว บ้านกรือเซะ ต.ตันหยงลูโละ อ.เมือง จ.ปัตตานี โดยพิธีเริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น. พิธีอัญเชิญองค์เจ้าแม่ฯออกจากศาลเจ้าเล่งจูเกียงปัตตานี โดยหามเกี้ยวเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวเพื่อเดินทางไปสุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว บ้านกรือเซะ ต.ตันหยงลูโละ อ.เมือง จ.ปัตตานี ตามเส้นทางถนนสาย 42 ปัตตานี-นราธิวาส ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร เวลา 07.00 น.ได้ทำพิธีไหว้เจ้าที่เจ้าทาง และทำพิธีไหว้เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวบริเวณหน้าฮวงซุ้ยเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวริมถนนสาย 42 ปัตตานี-นราธิวาส

ซึ่งได้มีประชาชนชาวไทยเชื้อสายจีนที่ศรัทธาเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ร่วมพิธีเป็นจำนวนมากเพื่อเป็นสิริมงคล หลังเสร็จพิธีเซ็งเม้งได้อัญเชิญองค์เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวกลับศาลเจ้าเล่งจูเกียงปัตตานี ต.อาเนาะรู อ.เมือง จ.ปัตตานี และอัญเชิญเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เข้าสู่ภายในศาลเจ้าเล่งจูเกียง ต.อาเนาะรู อ.เมืองปัตตานี