นักวิชาการ มข. ระบุ กกต.หยุมหยิมและจุกจิกไป-ชัดคนพ่ายแพ้ก็ต้องยอมรับความจริง

นักวิชาการ มข. ระบุ กกต.หยุมหยิมและจุกจิกไป-ชัดคนพ่ายแพ้ก็ต้องยอมรับความจริง





ad1

นักวิชาการ มข. ระบุ กกต.หยุมหยิมและจุกจิกไป หลังส่งเรื่องตรวจสอบการใช้สัญลักษณ์ค้อนไขว้กับเคียวประกอบซีรีย์ชุดปาร์ตี้ลิสต์ก้าวไกล  ย้ำชัดคนพ่ายแพ้ก็ต้องยอมรับความจริง

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 9 มิ.ย. 2566 ที่คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ไปพูดคุยกับนักนักวิชาการ จากกรณีกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.  ส่งเอกสารด่วนที่สุดถึงหัวหน้าพรรคก้าวไกล มีใจความตอนหนึ่งระบุว่า ตามที่พรรคก้าวไกลได้โพสต์ข้อความและรูปภาพทางเฟซบุค แฟนเพจ  ในหัวข้อ " เตรียมพบกับซีรีส์ชุดปาร์ตี้ลิสต์ก้าวไกล" โดย โพสต์ดังกล่าวมีความหมายว่าอย่างไร และเหตุใดจึงต้องใช้สัญลักษณ์ค้อนไขว้กับเคียวประกอบตัวละครในโพสต์ดังกล่าว

รศ.ดร.พรอัมรินทร์  พรหมเกิด นักวิชาการ มข.  กล่าวว่า  การตรวจสอบของ กกต.ดังกล่าวนี้ โดยส่วนตัวมองว่าเป็นเรื่องหยุมหยิม จุกจิก สะท้อนถึงทัศนคติที่คับแคบของ กกต. และมองว่า กกต.มีความคิดเรื่องประชาธิปไตยน้อยเกินไป ประเทศที่พัฒนาแล้วจะไม่มีเรื่องการตรวจสอบจุกจิกเช่นนี้  ปล่อยให้กระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย พัฒนาไปได้

“สัญลักษณ์ค้อนเคียวตามภาพ  แสดงความหมายถึงชนชั้นกรรมาชีพ คือชนชั้นที่ใช้แรงงาน  ประกอบด้วยกรรมการและชาวนา ต้องสามัคคีกันและรวมพลังสร้างสังคมใหม่  ถือเป็นแนวคิดที่กระจายไปทั่วโลก  สำหรับโลกประชาธิปไตยสมัยใหม่ ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยเสรี แนวคิดเช่นนี้เป็นเรื่องปกติ จะเปิดให้พรรคการเมืองได้เปิดกว้าง เสนอความคิดเห็นของตัวเอง แล้วให้ประชาชนเป็นคนเลือกและตัดสินใจว่านโยบายเหมาะหรือไม่  สำหรับประเทศไทยการพัฒนาประชาธิปไตยสะดุด”

รศ.ดร.พรอัมรินทร์   กล่าวต่ออีกว่า สำหรับการตรวจสอบพรรคก้าวไกล และนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อย่างเข้มข้นในหลายประเด็น ในขณะนี้นั้นยอมรับว่าเป็นเรื่องจุกจิก และขัดขวางการพัฒนาประชาธิปไตย  สำหรับประเทศที่พัฒนาประชาธิปไตยแล้ว พรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งชัดเจนว่าเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล  ถือเป็นกติกาสากลที่ต้องยอมรับและร่วมแสดงความยินดี   แต่สำหรับประเทศไทย พบว่ามีการยื่นฟ้องยิบย่อย  ฝั่งอำนาจเก่ามีการปรับใช้กฎหมายมากลั่นแกล้งพรรคก้าวไกล   เพราะคนที่ยื่นฟ้องพรรคก้าวไกลนั้นเป็นคนของพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามอย่างชัดเจน

“เรียกว่าไม่มีมารยาททางการเมือง  คนที่มีวัฒนธรรมประชาธิปไตยต้องกล้ายอมรับความพ่ายแพ้   ขณะเดียวกันต้องแสดงความยินดีกับพรรคการเมืองที่ได้รับชัยชนะ  และยินยอมให้พรรคที่ได้รับชัยชนะจัดตั้งรัฐบาล  คือวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย  แต่บ้านเราสิ่งเหล่านี้ยังไม่ถูกพัฒนา  กลุ่มอำนาจยังเสพติด  ผู้มีอำนาจมีการปรับเปลี่ยนนำกฎหมายมาบังคับใช้  มาจัดการพรรคการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้ง”
...