พ่อเมืองศรีสะเกษ ออกตรวจติดตามดารดำเนินโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน

พ่อเมืองศรีสะเกษ ออกตรวจติดตามดารดำเนินโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน





ad1

เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2566 เวลา 09.30 น.นายสำรวย เกษกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานการตรวจติดตามการดำเนินโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในหมู่บ้านให้มีความเป็นอยู่ที่ดี ลดความเหลื่อมล้ำ พร้อมทั้งขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ภายใต้เป้าหมายการสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยมีคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) คณะกรรมการกลางหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.) และคณะกรรมการชุมชน เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนร่วมกับ 7 ภาคีเครือข่าย ในการให้ความรู้ แนวทาง ต้นทุน และสร้างโอกาสในการดำเนินงาน

บ้านชบา หมู่ที่ 8 ตำบลตาโกน อำเภอเมืองจันทร์ มีจำนวน 109 ครัวเรือน มีประชากรรวม 327 คน แบ่งเป็นชาย 165 คน หญิง 162 คน ประกอบอาชีพหลัก คือทำนา อาชีพรอง คือเลี้ยงสัตว์ อาชีพเสริม คือทำสวน/ปลูกพืชหลักฤดูทำนา และรับจ้างทั่วไป มีกลุ่มส่งเสริมอาชีพ จำนวน 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ปลูกพืช GAP , กลุ่มผลิตอิฐดินประสานอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม , กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมือง , กลุ่มเลี้ยงกบ , กลุ่มผู้เลี้ยงโค รายได้เฉลี่ยตามเกณฑ์ จปฐ. ปี พ.ศ.2566 แบ่งเป็น รายได้ภาคการเกษตร เฉลี่ย 200,000 บาท/ครัวเรือน/ปี , รายได้นอกภาคการเกษตร เฉลี่ย 50,000 บาท/ครัวเรือน/ปี , รายได้เฉลี่ยของประชากร เฉลี่ย 38,000 บาท/คน/ปี

อำเภอเมืองจันทร์ ได้พิจารณาคัดเลือกบ้านชบา หมู่ที่ 8 ตำบลตาโกน เป็นหมู่บ้านเป้าหมายตามโครงการฯ โดยใช้ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2ค.) ของกรมการพัฒนาชุมชน ในการดำเนินการซึ่งบ้านชบา สภาพปัญหาและอุปสรรคมี ดังนี้

- จุดแข็งของชุมชน คือ มีกองทุนหมุนเวียนในหมู่บ้าน การเข้าถึงแหล่งเงินทุนไม่เป็นหนี้นอกระบบ , มีป่าชุมชน ขนาด 1,300 ไร่ ที่เป็นตลาดชุมชน/แหล่งอาหารของชุมชน , มีแหล่งน้ำลำห้วยทับทัน เป็นแหล่งอาหาร และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร , มีที่ดินเป็นของตนเอง มีวัตถุดิบที่หลากหลายสามารถเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายมีความมั่นคงของครอบครัว และชุมชน


- จุดอ่อนของชุมชน คือ มีแหล่งน้ำเยอะ แต่ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ แหล่งน้ำตื้นเขิน , ขาดไฟฟ้าเพื่อการเกษตร , การใช้เครื่องจักรกลและการใช้สารเคมีในการเกษตร , เกิดปัญหาอุทกภัย และภัยแล้งในพื้นที่ซ้ำซาก ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรได้รับผลกระทบและเสียหาย , วัยแรงงานไปทำงานต่างถิ่น ทำให้ชุมชนขาดการพัฒนาขาดแรงงาน , ขาดความรู้ความสามารถในเรื่องการตลาด เรื่องอาชีพ ความเป็นอยู่ และรายได้

จากนั้น ตรวจเยี่ยมผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานในศูนย์การเรียน กลุ่มเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง โดยแบ่งกิจกรรมเป็นฐานการเรียนรู้จำนวน 6 ฐาน ได้แก่ 1) ฐานคนเอาถ่าน 2) ฐานคนรักษ์ป่า 3) ฐานคนรักษ์แม่ธรณี 4) ฐานคนมีน้ำยา 5) ฐานคนรักษ์สุขภาพ และ 6) ฐานแปลงสาธิตการเกษตร กิจกรรมการปลูกพืชผักสวนครัวตามแนวพระราชดำริฯ และถังขยะเปียกลดโลกร้อน ซึ่งบ้านชบา หมู่ที่ 8 ได้ดำเนินการคลอบคลุมครบทุกหลังคาเรือน 100 เปอร์เซ็นต์ พร้อมทั้งเน้นย้ำและประชาสัมพันธ์ในการสมัครเข้าใช้ระบบแอพพลิเคชั่น ThaiD ให้ครอบคลุมและครบทุกหมู่บ้านตามเกณฑ์เป้าหมายต่อไป

มี ท่านเจ้าคุณ พระมงคลวชิรากร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร / ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พระมหาสำราญ สุเมโธ เจ้าคณะอำเภอเมืองจันทร์ พร้อมด้วยคณะสงฆ์ ร่วมในพิธี

 โดยมี ปลัดจังหวัด หัวหน้าสำนักงานจังหวัด เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด นายอำเภอเมืองจันทร์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้แทนพัฒนาการจังหวัด ผู้แทนเกษตรจังหวัด ผู้แทนโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการอำเภอเมืองจันทร์ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. ชรบ. ประชาชนชาวบ้านชบา และผู้เกี่ยวข้องร่วมตรวจติดตาม     ณ ศาลาสำนักสงฆ์บ้านชบา หมู่ที่ 8 ตำบลตาโกน อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ

สุทธิศักดิ์ ผลพิบูลย์/ภาพ
เสนาะ วรรักษ์/ข่าว