คนไทยเก่งไม่แพ้ใครในโลก!"รถไฟไทยทำ”คันแรก 32 ล้านเตรียมส่งมอบรฟท.ให้บริการปชช.เดือนก.ย.นี้

คนไทยเก่งไม่แพ้ใครในโลก!"รถไฟไทยทำ”คันแรก 32 ล้านเตรียมส่งมอบรฟท.ให้บริการปชช.เดือนก.ย.นี้





ad1

โครงการคือการทดสอบรถไฟไทยทำรุ่น “สุดขอบฟ้า (Beyond Horizon)” ร่วมกับ ฝ่ายการช่างกล การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ภายใต้การกำชับดูแลของ ผศ.ดร.รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง(สจล.) รองหัวหน้าโครงการรถไฟไทยทำ หรือการผลิตรถไฟโดยสารต้นแบบสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ในฐานะหัวหน้าโครงการการรถไฟไทยทำ หรือการผลิตรถไฟโดยสารต้นแบบขณะนี้อยู่ในขั้นตอนสุดท้าย

โดยเริ่มทดสอบบางส่วนบ้างแล้ว อาทิ การทดสอบสมรรถนะตัวรถเชิงสถิตย์ ระบบการทำงานของเบรก และขอพ่วง เป็นต้น เพื่อให้เป็นไปมาตรฐานของ รฟท. ยังต้องทดสอบการทำขบวนเดินรถด้วยความเร็วในการให้บริการเสมือนจริงในเส้นทางทดสอบที่ รฟท. จะเป็นผู้กำหนดด้วย

ที่ผ่านมาเป็นการทดสอบภายในพื้นที่โรงงานประกอบรถไฟ ที่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี มีทั้งการทดสอบแบบรถไม่เคลื่อนที่ และรถเคลื่อนที่  ผ่านทุกการทดสอบ หลังจากนี้จะนำไปทดสอบเดินรถบนทางรถไฟ และเส้นทางรถไฟจริง ในเส้นทางระยะกลางประมาณ 500 กิโลเมตร(กม.) ที่ทางฝ่ายช่างกลเป็นผู้กำหนดก่อน

หากผลการทดสอบราบรื่น ไม่เกิดปัญหา ตลอดจนเป็นไปตามข้อกำหนด และมาตรฐานด้านความปลอดภัยของ รฟท. คาดว่าจะส่งมอบรถไฟไทยทำให้ รฟท. ได้ตามเป้าหมายประมาณเดือน ก.ย.66  เพื่อนำไปให้บริการประชาชนร่วมกับขบวนรถไฟของ รฟท. ต่อไป

ทั้งนี้ได้พัฒนาตัวรถให้มีน้ำหนักที่เบาลง จากการออกแบบด้วยระบบ Space Frame Modular Concept ตัวโครงสร้างแบบโครงข้อแข็ง 3 มิติ รับน้ำหนักร่วมกับผนังเปลือกบาง  รถคันนี้ใช้ชิ้นส่วนโครงสร้างทุกชิ้นรวมถึงผนังช่วยรับน้ำหนักตัวรถและแรงภายนอกที่มากระทำ จึงแข็งแรง

ขณะที่รถทั่วไปจะใช้โครงสร้างพื้นตัวรถเป็นตัวรับน้ำหนัก และแคร่รถไฟที่ทำความเร็วได้ถึง 120 กิโลเมตร(กม.)ต่อชั่วโมง(ชม.)  ซึ่งได้จดทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากโครงการแล้ว 7 ผลงาน และยังมีผู้ประกอบการที่สามารถผลิต และประกอบชิ้นส่วนในประเทศมากกว่า 10 บริษัทเข้าร่วมโครงการ  ช่วยสร้างระบบนิเวศน์อุตสาหกรรมการผลิตรถขนส่งทางราง และสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมระบบรางตลอดห่วงโซ่การผลิต

โดยทีมวิจัยออกแบบตัวรถเองทั้งหมด ได้แรงบันดาลใจจากที่นั่งในเครื่องบินชั้นธุรกิจ และชั้นเฟิร์สคลาสในรถไฟความเร็วสูง มีความยาว 24 เมตร กว้าง 2.80 เมตร มี 25 ที่ ประกอบด้วย ชั้น Super Luxury 8 ที่นั่ง และชั้น Luxury 17 ที่นั่ง และ ทุกที่นั่งมีจอภาพส่วนตัวสำหรับให้บริการด้านความบันเทิง และสั่งอาหาร มีพนักงานเสิร์ฟหุ่นยนต์นำอาหารมาส่งถึงที่นั่ง นอกจากนี้ยังมีระบบห้องน้ำสุญญากาศ และสิ่งอำนวยความสะดวก

ซึ่งโครงการนี้ใช้งบประมาณการวิจัยเฉพาะการพัฒนารถ รวมแคร่ และงานระบบ ประมาณ 32 ล้านบาท (จากราคาท้องตลาดประมาณ 50 ล้านบาท) โดยได้รับสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ร่วมกับบริษัท กิจการร่วมค้าไซโนเจน-ปิ่นเพชร จำกัด  ผลงานชิ้นนี้คุ้มค่ากว่าการนำเข้าจากต่างประเทศมาก