กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรรายย่อภาคใต้ จ่อเข้าพบ "ธรรมนัส-ดีเอสไอ"ชง 6 ข้อเสนอปราบหมูเถื่อน ลดแม่พันธุ์ ซื้อลูกหมูทำหมูหันแก้ราคาตกต่ำ

กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรรายย่อภาคใต้ จ่อเข้าพบ "ธรรมนัส-ดีเอสไอ"ชง 6 ข้อเสนอปราบหมูเถื่อน ลดแม่พันธุ์ ซื้อลูกหมูทำหมูหันแก้ราคาตกต่ำ





ad1

สมัชชาเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยภาคใต้ เตรียมเข้าพบ"ร.อ.ธรรมนัส"รมว.เกษตรฯ และ DSI เสนอหัวข้อ ปราบหมูเถื่อนให้หมดสิ้น ลดแม่พันธุ์ ซื้อลูกหมูทำหมูหัน  พร้อมชะลอแจ้งเกิดบริษัทผู้เลี้ยงหมูรายใหม่ ระบุผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยมีผลกระทบหนัก ประกาศขายหมูและฟาร์มพร้อมสุกร 200 ตัว 

เมื่อวันที่ 18 ก.ย.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานข่าวว่า  นายเฉลิมพล มานันตพงศ์ ประธานสมัชชาผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย  จ.พัทลุง  ในวันที่ 20 กันยายน 2566 สมัชชาประชุมร่วมประชุมกับ รอ.ธรรมมนัส พรหมเผ่า  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ DSI
โดยทางสมัชชาโดยได้ยกร่างที่จะนำเสนอที่ประชุม จำนวนหลายหัวข้อใหญ่ เช่น 

1.จะต้องมีการป้องกันปราบปรามจับกุมสุกรเถื่อนให้หมดสิ้น ที่เป็นต้นเหตุให้สุกรได้รับผลกระทบตกต่ำล้นตลาดต้องประสบภาวะขาดทุน

2. ผู้เลี้ยงขนาดใหญ่จะต้องลดแม่พันธุ์ลง 10 เปอร์เซ็นต์ 3. เรื่องห้างโมเดิร์นเทรดทำสินค้าเซลล์เนื้อหมู  

4. เรื่องการเลี้ยงสุกร GMP (Good Manufacturing Practice) กับ GAP (Good Agricultural Practice)  และโรงเชือดมาตรฐานขนาดเล็ก กรมปศุสัตว์ รัฐบาลต้องสนับสนุนงบประมาณเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย เพราะต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเกษตรกรรายย่อยไม่มีเงินทุนที่จะลงทุน

5. การส่งสุกรออกจำหน่ายต่างประเทศ เช่น ประเทศมาเลเซีย ประเทศเวียดนาม 

6. เรื่องลดลูกหมู โดยทราบว่ากระทรวงพาณิชย์จะซื้อลูกหมูขนาด 10 – 15 กก. ไปทำหมูหัน ประมาณ 100,000 ตัว และให้มีการชะลอการแจ้งเกิดบริษัททำฟาร์มสุกรรายใหม่ไปก่อนจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น เพราะขณะนี้สุกรทางภาคใต้ล้นการผลิต

“สำหรับในส่วนการลดแม่พันธุ์ลง 10 % และที่รัฐบาลซื้อลูกหมูขนาด 10 – 15 กก.จะเป็นการตัดตอนไม่ให้สินค้าล้นตลาด เพื่อให้เกิดความสมดุลกับตลาดในพื้นที่ และเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยสามารถที่จะประกอบอาชีพได้”

แหล่งข่าว ยังกล่าวอีกว่า เนื้อหมูที่วางขายตามห้างโมเดิร์นเทรด มีผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรรายย่อยมาก เพราะว่าราคาเนื้อหมูห้างโมเดิร์นเทรดราคาประมาณ119 บาท / กก. ขณะที่สุกรของเกษตรกรกรรายย่อยต้นทุนการผลิตเวลานี้ประมาณ 70–75 บาท / กก. เมื่อชำแหละเป็นเนื้อแล้วจะต้องขายที่ 140 – 150 บาท / กก.จะคุ้มทุน ดังนั้นผู้บริโภคจะหันไปซื้อสินค้าราคาที่ต่ำกว่า ส่งผลให้สุกรของเกษตรกรรายย่อยที่เคยขายได้ 3 ตัว / วัน ตอนนี้เหลือ 1 ตัว / วัน และที่ขายตามงานเลี้ยงงานบุญงานบวชงานแต่งงาน ฯลฯ ตามหมู่บ้าน ชุมชน ก็ขายไม่ได้

“ต้องประสบภาวะขาดทุนกันมาตลอดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธุ์ เมื่อถึงเดือนกุมภาพันธุ์ 2567 ก็จะครบเวลา 1 ปีบางรายขาดทุนถึง 3 รอบ จำนวน 300 ตัว เป็นเงินถึง 300,000 บาท สำหรับเกษตรกรถือว่าเป็นเงินจำนวนมาก จากภาวะดังกล่าวบางรายตอนนี้ไม่มีเงินทุนซื้ออาหารในการเลี้ยงสุกร และบางรายออกประกาศขายฟาร์มสุกรหมดทั้งฟาร์มจำนวน 200 ตัว จากที่ขาดทุนสะสม” 

นายภักดี ชูขาว เจ้าของภักดีฟาร์ม จ.พัทลุง กรรมการสมาคมการค้าผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้   กล่าวว่า ในที่ประชุมสมัชชา มีข้อเสนอหลายหัวข้อที่จะนำไปประชุมหารือร่วมกับ รอ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสมัชชาจะมีผู้แทนเข้าร่วมประชุมจำนวน 4 คน. 

โดย...อัสวิน  ภักฆวรรณ