สสส.ลงพื้นที่ชัยภูมิเปิดเวทีประเมินผลการเรียนรู้หลักสูตร ARE ชุมชนที่ได้รับทุน

สสส.ลงพื้นที่ชัยภูมิเปิดเวทีประเมินผลการเรียนรู้หลักสูตร ARE ชุมชนที่ได้รับทุน





ad1

ชัยภูมิส-สสส.จัดเวทีติดตามและประเมินผลการเรียนรู้หลักสูตร ARE ชุมชนที่ได้รับทุน จาก 16 อำเภอ กว่า 160 คน

เมื่อวันที่ 13 ต.ค.66 ที่ห้องประชุมโรงแรมสยามรีเวอร์รีสอร์ท ในเมืองชัยภูมิ มีการจัดเวทีการติดตามและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร ARE ชุมชนที่ได้รับทุนจาก สสส.เพื่อพบปะหัวหน้าหน่วยจัดการ แนะนำทีมสนับสนุนวิชาการ พี่เลี้ยงชุมชน ผู้ร่วมในเวทีมาจากสมาชิกเครือข่าย ที่ได้รับทุนจาก สสส.จาก 16 อำเภอ กว่า 160 คน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ในการทำงานซึ่งกัน มีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตชุมชนคนชัยภูมิ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข เชื่อมพลังเครือข่ายการเมืองภาคพลเมือง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำการเกษตร

จากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปุ๋ยเคมี มีการทำการเกษตรอินทรีย์ ปลูกผักปลอดสารพิษ ใช้สารธรรมชาติกำจัดศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก สารชีวภาพ ในการบำรุงดิน ทำให้สุขภาพของเกษตรกรมีสุขภาพดีขึ้น ปลอดจากสารพิษในร่างกาย โดยยึดหลักศาสนา และสร้างสมัชชาสุขภาพของจังหวัดชัยภูมิ ให้คนชัยภูมิทุกภาคส่วนได้ร่วมกันคิด ร่วมกันแลกเปลี่ยนบทเรียนประสบการณ์ ร่วมกันหาทางออก ร่วมกันปฏิบัติ และร่วมกันหาหนทางส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชน และท้องถิ่น เกิดภาวะการเอาธุระต่อชุมชนและท้องถิ่นตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะชีวิตสาธารณะที่ดี และท้องถิ่นน่าอยู่มากยิ่งขึ้น

นางปริยากร ชาลีพรหม หัวหน้าจัดการ สสส.Node จ.ชัยภูมิ บอกว่า หน่วยจัดการ สสส.จังหวัดชัยภูมิจัดเวทีการติดตามและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร ARE ชุมชนที่ได้รับทุนจาก สสส.ในครั้งนี้ นอกจากจะมีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ และพัฒนาซึ่งเป็นการดำเนินการเพื่อติดตามผลลัพธ์ของโครงการที่เราสนับสนุนทุนจาก สสส. สำนัก 6ไปแล้ว ว่าชุมชนที่ได้รับเงินจากเราไปแล้วเขาไปดำเนินการอย่างไรบ้างในแต่ประเด็นที่เราสนับสนุนไปนะคะก็จะไปดูแลผู้สูงอายุเรื่องการจัดการขยะในชุมชนการปลูกผักปลอดสารหรือแม้กระทั่งการดูแลให้ประชาชนออกกำลังกาย

และมีการมาเล่าสิ่งดี มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน เพื่อจะขยายผลพัฒนาต่อให้ครอบคลุมทั้ง 16 อำเภอทั้งจังหวัดชัยภูมิให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการ สังเกตชาวบ้านมีความสุขมากขึ้น ซึ่งเป็นโครงการดีๆ ทำให้ชุมชนของเขาได้คิดเองทำเองส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ชาวบ้านผู้สูงอายุมีสุขภาพดีขึ้น มีร่างกายแข็งแรง มีการส่งเสริมให้รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ มีการสร้างเสริมสุขภาพจิตดีขึ้นด้วย