“สมัชชาหมูภาคใต้” ทำพิธีกรรมสาปแช่ง “พวกหมูเถื่อน”ทำเกษตรกรเดือดร้อนทั่วประเทศ

“สมัชชาหมูภาคใต้” ทำพิธีกรรมสาปแช่ง “พวกหมูเถื่อน”ทำเกษตรกรเดือดร้อนทั่วประเทศ





ad1

“สมัชชาหมูภาคใต้” ทำพิธีกรรมสาปแช่ง “พวกหมูเถื่อน”นำรายชื่อผู้เกี่ยวข้องหมูเถื่อนนำเข้าเตาถ่านผสมดีปลี เกลือ  เผากลางแจ้ง ทำให้เกษตรกรเดือดร้อนทั่วประเทศ

เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 15 ธันวาคม 2566 สมัชชาผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยเขตภาคใต้  ได้จัดเสวนารวมกันเราอยู่ เพื่ออาชีพเรา พร้อมจัดทำพิธีกรรมสาปแช่งเกี่ยวกับการลักลอบนำสุกรเถื่อนจากต่างประเทศมาจำหน่ายในประเทศ สร้างผลกระทบความเดือนร้อนและขาดทุนขนาดหนักกับผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยไปทั่วประเทศโดยมีเข้าร่วมกว่า 300 คน พร้อมทั้งมีตัวแทนผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยจากภาคอีสาน และ ฯลฯ

โดยพิธีกรรมสาปแช่งผู้ลักลอบนำข้าสุกรเถื่อนเริ่มเวลา 09.00 น. โดยมีหัวหมูจำนวน 39 หัว พร้อมด้วย ดีปลี เกลือ ธูป เทียน ถ่านและเตาถ่าน และรายชื่อผู้พัวพันกับสุกรเถื่อนเป็นอักษรย่อ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบนำเข้าสุกรเถื่อน โดยมีรายชื่อตั้งแต่ตัว ป. ฉ. ส. พ. ธ. ฯลฯ และกล่าวคำอธิฐาน และพร้อมกล่าวคำสาป นักการเมือง ข้าราชการ พ่อค้าเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบขบวนการสุกรเถื่อน ให้พบกับกับความสูญเสียสิ้น ล้มเหลว ถูกไล่ออก ดำเนินคดีติดคุก และถูกยึดทรัพย์ ฯลฯ ส่วนนักการเมืองดี ข้าราชการ พ่อค้าดี ขอให้พบกับความสำเร็จด้วยดีตลอดไป

โดยชื้อตัวย่อ ป. ส.ฉ. ก. ธ.  ให้เป็นตัวเปรต สวะโฉดชั่ว และในพิธีกรรมมีการนำรายชื่ออักษรตัวย่อดังกล่าว นำลงเตาถ่าน ใส่เกลือและดีปลี แล้วเผา  โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง พิธีเสร็จ 

ถัดมามีการอภิปรายเสวนา ระบุว่า ขณะนี้ประเด็นสุกรเถื่อนได้หดหายไป แต่ยังมีหมูผ่าสซีก หมูชิ้นส่วน ที่วางจำหน่ายโดยทีราคาต่ำยังเป็นปัญหาใหญ่ หากยังอยู่ในสภาพนี้ผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย ก็ยังประสบปัญหาความเดือดร้อนขาดทุนไม่สิ้นสุด ดังนั้นรายใหญ่ควรที่แบ่งพื้นที่ให้รายย่อยเพื่ออยู่ได้ด้วย

ทางด้าน นายปรีชา กิจถาวร นายกสมาคมการค้าผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ กล่าวว่า สมาคมฯ  เป็นตัวกลางที่จะสนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้เข้าถึงเพื่อการแก้ไขปัญหาได้ และเกษตรกรรายย่อยจะต้องมีการปรับตัว เช่น เรื่องสุกรที่เกิดระบาด ASF ผู้เลี้ยงต่างมีความเข้าใจและได้ตั้งการ์ดไว้สูง มากแล้ว และในส่วนเรื่องสุกรเถื่อน ก็สงบไม่ได้เข้ามาในตอนนี้ดังนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย จะต้องรวมตัวกันให้เข็มแข็ง

นายปรีชา กล่าวอีกว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย ต้องหันมายึดรูปแบบของสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ ฯ  ที่ยืนหยัดอยู่ได้ ซึ่งก่อนหน้าก็เคยประสบปัญหาไม่ต่างกับผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยเช่นกัน ดังนั้นวิธีการของสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่  คือ 1.งดการนำเข้า 2. ลดแม่ไก่ตามอายุ 3.มีห้องเย็นสำรอง และ 4. มีกองทุนสำรอง  เกษตรกราผู้เลี้ยงสุกร จะต้องยึดรูปแบบเพื่อให้ให้ยืนอยู่ได้ 

นายปรีชา ยังกล่าวอีกว่า เรื่องธุรกิจสุกรรายใหญ่ ก็จะต้องมีการหารือกันด้วยการพูดคุยทำความเข้าใจกับผู้เลี้ยงสุกรรายใหญ่ และผู้เลี้ยนงสุกรรายใหญ่ ก็คงมีความเข้าใจ เพื่อให้อยู่กันได้ ซึ่งโดยการใช้วิธีการหารือพูดคุยทำความเข้าใจกันจะเป้นทางออกที่ดี  และการเลี้ยงสุกรรายย่อยแนวโน้มประมาณกลางปี 2567 ราคาสุกรจะกลับคืนมา

ขณะที่นายเฉลิมพล มานันตพงศ์ ประธานสมัชชาผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยเขตภาคใต้  ได้ยื่นหนังสือถึงนายร่มธรรม ขำนุรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง (ปชป.) เพื่อเรียกร้องให้เร่งแก้ไขปัญหาสุกเถื่อน ปัญหาราคาตกต่ำ และขอให้บริษัทรายใหญ่ หยุดขยายการผลิต และเปิดพื้นที่ให้ผู้เลี้ยงรายย่อยอยู่ได้ 

สำหรับในหนังสือระบุว่า 1. ขอให้แก้ไขการลักลอบนำเข้าเนื้อสุกร นำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมายโดยเร็ว สำหรับเรื่อสุกรที่นำเข้ารัฐต้องสูญเสียการจัดเก็บภาษีเงินได้ประมาณ 6,000 ล้านบาท และส่งผลกระทบต่อสุกรทั้งระบบ 

2. ชิ้นส่วนเนื้อสุกรที่ลักลอบเสี่ยงทั้งโรคอหิวาต์แอฟริกา (ASF) จึงต้องป้องกันอย่างเคร่งครัด

3. ขอให้ยกเลิกภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง และพิจารณาโครงสร้างกากถั่วเหลือง เมล็ดนำเข้าและจัดสรรส่วนเกินเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อต้นทุนการผลิต

4.ให้เร่งรัดมาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยประสบปัญหาขาดทุนและวิกฤติด้านราคาตกต่ำ ซึ่งเป็นผลกระทบจากการนำเข้าหมูเถื่อน โดยขอให้มีการบันทึกข้อตกลง (MOU) ระหว่าสงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป้าหมายเพื่อให้เกษตรกรายย่อยเข้าถึงแหล่งเงินทุน

 5. กระทรวงพาณิชย์ ขอให้ดูแลสินค้าสุกรและสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มให้เกิดความเป็นธรรมทั้งระบบเนื่องจากเป็นสินค้าควบคุม

6. การขยายเลี้ยงของผู้เลี้ยงรายใหญ่ระดับบริษัท ควรพิจารณาถึงปริมาณการผลิตเหมาะสมกับปริมาณการบริโภคพื้นที่หรือไม่  โดยพิจารณาถึงปริมาณการผลิตปัจจุบันที่มีอยู่แล้วของผู้เลี้ยงรายย่อยในพื้นที่ และควรให้โอกาสเกษตรกรผุ้เลี้ยงรายย่อยที่เลี้ยงมาอย่างยาวนานคงสามารถให้อยู่ได้

“ประเด็นหมูเถื่อนต้องเร่งจัดการเร็ว การขยายการเลี้ยงของผู้เลี้ยงรายใหญ่ภาคบริษัท ก็ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกรรายย่อยเป็นอย่างมาก การเพิ่มปริมาณการเลี้ยงของภาคบริษัทใหญ่ ก็ส่งผลให้ปริมาณสุกรในพื้นที่มีมากเกินความต้องการในพื้นที่ ปัญหาเกิดสุกรล้นตลาดทำให้ราคาต่ำลง และเกิดการแย่งชิงเชิงลูกค้าจึงต้องมีการส่งออกนอกเขตภาคใต้ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคา ทางเสมัชชาฯ  จึงขอคืนพื้นที่ให้ผู้เลี้ยงรายย่อยสามารถเลี้ยงได้อย่าง่ยั่งยืนต่อไป”

นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง (ปชป.) กล่าวว่า จะดำเนินการเรื่องสุกรไปยังรัฐบาล ทั้งตั้งกระทู้ถาม และติดตามไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งที่จะต้องแก้ปัญหาอย่างจริงจัง

“เกษตรราย่อยผู้เลี้ยงสุกรต้องหดหายไปถึง 70 % เป็นเรื่องที่เศร้าใจ เรื่องนี้จะนำเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร” นายร่มธรรม กล่าว.