สสส.ผนึกม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี รณรงค์เยาวชนชายแดนใต้ป้องกันครรภ์

สสส.ผนึกม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี รณรงค์เยาวชนชายแดนใต้ป้องกันครรภ์





ad1

สำนักงานการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จังหวัดชายแดนใต้ไร้ครรภ์วัยรุ่น ภายในปี พ.ศ. 2570

สำนักงานการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อจังหวัดชายแดนใต้ไร้ครรภ์วัยรุ่น ภายในปี พ.ศ. 2570 โดยมี คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จากจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 100 คนที่ห้องประชุมโรงแรม ซีเอส ปัตตานี อำเภอเมืองปัตตานี 

ดร.ซอฟียะห์ นิมะ ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จังหวัดชายแดนใต้ไร้ครรภ์วัยรุ่น ภายในปี พ.ศ. 2570 ครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการการพัฒนาศักยภาพและหนุนเสริมการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ใน 33 อำเภอ จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งดำเนินการโดยสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส.

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของ พชอ. 19 อำเภอเดิม ต่อกระบวนการในการให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา พัฒนา และค้นหาศักยภาพให้กับอำเภออื่นๆ ในด้านการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นในจังหวัดชายแดนใต้  พัฒนาศักยภาพ พชอ. ในพื้นที่ขยายผล 14 อำเภอใหม่ ให้มีแนวทางในการขับเคลื่อนจากการนำพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 

และยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560-2569 สู่การปฏิบัติ ในจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อประเมินผลลัพธ์ ในการนำพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 และยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560-2569 สู่การปฏิบัติโดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ กรณีศึกษา 33 อำเภอ จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อรณรงค์สื่อสารทางสังคมต่อการดำเนินงานประเด็นครรภ์วัยรุ่นของ พชอ.33 อำเภอในจังหวัดชายแดนใต้

และเพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ ต่อการผลักดันนโยบายในการขับเคลื่อนประเด็นครรภ์วัยรุ่นต่อองค์กรที่เกี่ยวข้อง และจะได้นำพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 และยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560-2569 สู่การปฏิบัติตามห่วงโซ่คุณค่า (Value chain)ในพื้นที่ ต่อไป