ถอดบทเรียนภัยพิบัติใหญ่นราฯรอบ 50 ปี ลดสูญเสีย

ถอดบทเรียนภัยพิบัติใหญ่นราฯรอบ 50 ปี ลดสูญเสีย





ad1

บพท. จับมือ 3 มหาวิทยาลัย ถอดบทเรียนภัยพิบัติใหญ่รอบ 50 ปี สโคปพื้นที่แจ้งเตือนภัยทันสถานการณ์ลดสูญเสีย

ม ดร.จงรัก พลาศัย ชั้น 3 สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาส มีการจัดการประชุมแนวทางการบริหารจัดการภัยพิบัติจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ นายนัจมุดดีน อูมา  ประธานคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ดร.ซาการียา สะอิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นราธิวาส เขต 4 ร่วมพูดคุยหาแนวทางฯ ร่วมกับผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.จงรัก พลาศัย นายกสภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ดร.ปรีชา สะแลแม อธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาส ผศ.ดร. เการี  ลัดเลีย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผศ.ดร.อรุณีวรรณ  บัวเนี่ยว รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัทธกิจสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี รศ.ดร.วสันต์ พลาศัย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ตลอดจนคณะเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายพลเรือน และฝ่ายปกครอง 

สำหรับการประชุมแนวทางการบริหารจัดการภัยพิบัติจังหวัดชายแดนใต้ ในครั้งนี้ถือเป็นการสร้างกลไกภาคีเครือข่ายการบริหารจัดการภัยพิบัติของสถาบันอุดมศึกษาชายแดนใต้ พร้อมทั้งประเมินผลกระทบจากอุทกภัยต่อการบริหารจัดการเส้นทางน้ำในอนาคต และเพื่อหารือตลอดจนร่วมกำหนดแนวทางการบริหารจัดการภัยพิบัติจังหวัดชายแดนใต้ โดยผู้ที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนและดำเนินการร่วมกัน ซึ่งมีหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระ ดับพื้นที่ ( บพท.)  

อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ ( บพท.)  ได้สนับสนุนงบประมาณ 1 ล้านบาทในการดำเนินการทางบริหารจัดการภัยพิบัติฯ โดยข้อมูลที่ได้จากการประชุมร่วมกันในวันนี้จะมีการจัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อสำรวจข้อมูลในการเตรียมดำเนินการเพื่อป้องกันระยะยาวอีกครั้ง

ด้านนายนัจมุดดีน อูมา กล่าวในการหารือว่า ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสถือเป็นภัยพิบัติครั้งใหญ่ของพื้นที่นราธิวาส ผลกระทบเกิดขึ้นทั้งชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงธรรมชาติที่เสียหายเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะน้ำตกซีโปที่เสียหายอย่างหนัก ทิศทางน้ำเปลี่ยนไป ป่าไม้ตามแนวเชิงเขาเสียหายทั้งหมด 

ด้าน ดร.ปรีชา สะแลแม อธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เปิดเผยว่าการร่วมประชุมเพื่อวางแนวทางด้วยกันระหว่างมหาวิทยาลัยในพื้นที่ทั้ง 3 แห่ง ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีเนื่องจากทั้ง 3 มหาลัยเป็นหน่วยงานทางการศึกษาที่ใกล้ชิดกับประชาชน รู้บริบท รับทราบปัญหาเป็นอย่างดี อีกทั้งถือเป็นการแสดงศักยภาพของมหาลัยที่อยู่ในพื้นที่ด้วย ทั้งนี้เชื่อว่าทุนที่ทางหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่จะสนับสนุนมานั้นจะมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์ต่อประโยชน์มากที่สุด

นอกจากนั้นในส่วนของเครื่องมือ ที่จะเตือนภัยพิบัติต่างๆ อุทกภัยวาตภัย ในครั้งนี้ ถือว่าใหญ่สุดในรอบ 50 ปี ต้องถอดบทเรียน  ศึกษา และต้องศึกษา นำเทคโนโลยี แจ้งสัญญาณแจ้งเตือนมาใช้ ให้เหมาะสมทันสถานการณ์ และคงติดตามศึกษาเพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพ ประสิทธิให้มากที่สุด ลดความสูญเสียหรือไม่การสูญเลยจะยิ่งดีมาก

โดย...ข่าว.แวดาโอ๊ะ หะไร/อัสมา บินมะนุ จ.นราธิวาส