“เดือนรอมฎอม-พิธีกุรบัน”บริโภคเนื้อโคพุ่งปลุกศก.ปลายด้ามขวานคึกคัก

“เดือนรอมฎอม-พิธีกุรบัน”บริโภคเนื้อโคพุ่งปลุกศก.ปลายด้ามขวานคึกคัก





ad1

ปี 2567 ธุรกิจสัตว์เลี้ยงโค 6 เดือนแรกตลาดไฮต์ 6 เดือนหลังตลาดโลว์ ระบุช่วงเทศกาลเดือน “รอมฏอน”ธุรกิจเนื้อโคทิศทางดีบริโภคพุ่ง ราคาดีดขึ้น 10 บาท / กก. จาก 2 ปัจจัยบวก “เดือนรอมฎอม-พิธีกุรบัน”ปลุกกำลังซื้อปลายด้ามขวนคึกคัก 

นายวิรัตน์ รอดนวล ประธานวิสาหกิจชุมชนคนเลี้ยงวัวลังกาสุกะพัทลุง และประธานกรรมการ บริษัท ลังกาสุกะฟาร์ม จำกัด  เปิดเผยว่า ในปี 2567  คนเลี้ยงโคพื้นบ้านจะมีแนวโน้มทิศทางดีขึ้นจากราคาที่ได้ตกต่ำถึงที่สุดแล้ว มาเหลืออยู่ที่ 70 บาท / กก. จากเดิม 90 บาท และถึง 100 บาท  ซึ่งถือว่าราคาได้ลงมาถึง 20 บาท / กก.

ทั้งนี้ราคานี้เคยเกิดขึ้นเมื่อ 2 ปี ก่อนเกิดโควิด-19  และจากนั้นก็เงียบไปประมาณ 2 ปี พอโควิด-19  คลายลงราคาก็ปรับตัวขึ้นอีก แต่พอมาระยะหนึ่งราคาก็ถอยลงอีกมาต่ำสุดที่ 70 บาท / กก.แต่เมื่อต้นปี 2567 ราคาก็ได้ปรับตัวขึ้นมาเป็น 80 บาท / กก. ปรับตัวขึ้นมา 10 บาท / กก. และแนวโน้มว่าปี 2567 นี้ราคาจะดีขึ้น

โดยเมื่อมองดูจากปัจจัยในครึ่งปี 2567 ประมาณ 6 เดือนเพราะจะเป็นกิจสำคัญทางศาสนาอิสลาม คืออีก 2 เดือนประมาณเดือนมีนาคมจะเป็นเดือนรอมฎอนชาวมุสลิมจะถือศิลอด ก็ต้องมีการบริโภคเนื้อโคกันแทบจะทุกครัวเรือนทีเดียว แล้วถัดไปอีกระยะ 2 เดือนก็จะมีการทำพิธีกุรบันทางศาสนาอิสลาม

“ในห้วงระยะนี้โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิม จะมีการบริโภคเนื้อโคกันทั่วประเทศ  โดยเฉพาะในส่วนทางภาคใต้ในเดือนรอมฎอนขั้นต่ำกว่า 2,000 ตัว”  นายวิรัตน์ นายวิรัตน์ กล่าว 

ที่ผ่านมามีการเคลื่อนย้ายโคเข้า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จ.ปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส ไม่ต่ำกว่า 1,500 ตัวอยู่แล้ว / เดือน และถัดจากนั้นอีก 2 เดือน ก็จะมีการทำพิธีกุรบันอีกต้องมีโคหลายหมื่นตัว โดยปีที่ผ่านมา  ๆ จะไม่ต่ำกว่า 30,000 ตัว
 
“ตอนนี้การซื้อขายโคเพื่อนำไปเลี้ยงขุนเพื่อออกจำหน่ายในเดือนรอมฎอนและในพิธีกุรบัน ได้ขับเคลื่อนการซื้อขายนำไปเลี้ยงขุนกันแล้ว และในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ตลาดจะเข้มข้น”

นายวิรัตน์ กล่าวอีกว่า ถึงการเลี้ยงโคพื้นบ้าน เกษตรกรต้องรู้บริบทการตลาดโคด้วย โดยเฉพาะสำหรับโคพื้นเมืองจะไปได้ดีมากประมาณ 6 เดือน และอีก 6 เดือนก็จะโลว์ เพราะเกิดภาวะหน้าฝน การซื้อขายโคจะมีประปรายเพื่อเชือดจำหน่ายและงานกิจกรรมต่าง ๆ  ช่วงนั้นการตลาดโคจะไม่หวือหวา แต่ถึงอย่างไรหากราคาต่ำไป ก็สามารถเก็บเลี้ยงไว้ก็ค่อยขายออกเมื่อได้ราคาเหมาะสม
 
ราคาจะดีตลาดจะดี มีปัจจัยประกอบคือ ทางภาคใต้ บริบทพื้นที่เป็นภาคการเกษตร ยาง ปาล์มน้ำมัน หัวใจหลักกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นผู้มีบทบาทต่อกำลังซื้อ  หากราคายางและปาล์มน้ำมันดี การขับเคลื่อนก็จะไปในทิศทางที่ดี

นางจำเนียร เจียมสวัสดิ์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโคเนื้อไทยเขาชัยสน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง กล่าวว่า ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโคเนื้อไทยเขาชัยสนนั้น ได้เลี้ยงโคเนื้อ ประเภทครบวงจรถือว่ามีสภาพที่ยั่งยืนทั้งด้านการตลาด การเลี้ยง ซึ่งในกลุ่มมีสมาชิกอจำนวน 43 ราย  มีโคเนื้อประมาณ  426 ตัว
 
โดยจะมีโคเนื้อที่ต่อยอดเพื่อให้ตอบโจทย์ต่อการทำการตลาดเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในกลุ่มดำเนินการครบวงจร มีกลุ่มต้นน้ำ กลุ่มกลางน้ำและกลุ่มปลายน้ำ  เลี้ยงเอง ขุนเอง เชือดแปรรูปเอง และทำตลาดขายกันเอง  แปรรูปจำหน่ายเป็นเนื้อชิ้นส่วน เนื้อสแต๊ก ฯลฯ  ซึ่งได้ทำตลาดออนไลน์ จำหน่ายไปทั่วประเทศ

“ส่งขายเนื้อโคกว่า 2,000 กก. / เดือน โดยราคาซื้อขายกับสมาชิกฯ กว่า 100 บาท / กก. รวมเป็นเงินประมาณ 200,000 กว่าบาท / เดือน โดยใช้โคเนื้อ 2-3 ตัว / เดือน ขนาดตัวละ 600 – 700 กก. / ตัว  ราคา 80,000 – 90,000 บาท / ตัว

“สำหรับราคาทางด้านท้องตลาดขณะนี้โคเนื้อมีชีวิต ราคาประมาณ 70 – 80 บาท / กก. แต่สำหรับในกลุ่มที่รับซื้อขายกับสมาชิก ราคากว่า 100 บาท / กก.  โดยจะมีรายได้ต่อรอบ ประมาณ 4 เดือน จะมีส่วนต่างประมาณ 6,000 บาท / ตัว และค่ามูลโคอีก 2,000 บาท  รวม 8,000 บาท / ตัว บางรายก็มีโคเนื้อ 10 ตัว จะมีรายได้เป็นส่วนต่างประมาณ 80,000 บาท  / รอบ  หรือ 4 เดือน เท่ากับเดือนละ 20,000 บาท หรือเท่ากับวันละกว่า 600 บาท / วัน"

ปัจจุบันกรมปสุสัตว์ยกให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโคเนื้อไทยเขาชัยสน เป็นโมเดลในการเลี้ยงโคในการบริหารจัดการเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับผู้มีแนวทางที่จะลงทุนเลี้ยงโคที่มีความยั่งยืนและให้ราคามีเสถียรภาพ