คณะกรรมการสิทธิมนุษชนฯลุยสอบข้อเท็จจริง เวนคืนที่ลองทรายขาว คลองลายพัน คลองส้านแดง จ.พัทลุง

คณะกรรมการสิทธิมนุษชนฯลุยสอบข้อเท็จจริง เวนคืนที่ลองทรายขาว คลองลายพัน คลองส้านแดง จ.พัทลุง





ad1

คณะกรรมการสิทธิมนุษชนแห่งชาติ ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง คลองทรายขาว คลองลายพัน คลองส้านแดง จ.พัทลุง พร้อมรับฟังข้อเท็จจริง ระบุค่าเวนคืนที่ดิน 180,000 บาท / ไร่ บางส่วนเห็นด้วย บางส่วนไม่เห็นด้วย  สภาน้ำจังหวัดพัทลุง ระบุ พัทลุงยุทธศาสตร์จังหวัดสร้างอ่างเก็บน้ำ “ 21 อ่าง”  เสร็จ 4 อ่าง 17 อ่าง เคลื่อนไหวเพิ่ม 3 อ่าง ชี้ต้องบริหารจัดการน้ำน้ำตามบริบทของพื้นที่ ตอบโจทก์ทั้งภัยแล้ง -น้ำท่วม ภาคประชาสังคมไม่ปฏิเสธการพัฒนาแต่จะต้องออกแบบร่วมกัน ระบุ น้ำท่วมภัยแล้งก็จะต้องออกแยยร่วมกัน

วันที่ 16 เมษายน 2567 รายงานจากลุ่มรักษ์คลองส้านแดง บ้านควนอินนอโม หมู่ 7 เทศบาลตำบลเขาหัวช้าง อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้กำหนดการเดินทางปฏิบัติราชการ เพื่อทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงและตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษชน ระหว่างวันที่ 19-20 เมษายน 2567  ที่คลองส้านแดง อ.ตะโหมด จ.พัทลุง และคลองทรายขาว อ.กงกรา จ.พัทลุง

พร้อมเข้าร่วมประชุมกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องที่ห้องประชุมศาลากลาง จ.พัทลุง  และจะได้ลงพื้นที่ดูสภาพคลองลายพัน และคลองทรายขาว อ.กงหรา จ.พัทลุง และคลองส้านแดง อ.ตะโหมด จ.พัทลุง  พร้อมกับร่วมประชุมรับฟังข้อเท็จจริงกับผู้ร้องและประชาชนในพื้นที่

แหล่งข่าว กล่าวอีกว่า สำหรับประชาชนในพื้นที่ริมคลองส้าน แดง อ.ตะโหมด  ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายที่จะต้องขุดลอกคลองเพื่อระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำ เช่น อ่างเก็บน้ำคลองหัวช้าง อ.ตะโหมด จ.พัทลุง  โดยเจ้าของพื้นที่จะได้ค่าถูกเวนคืนพื้นที่ โดยบางส่วนก็เห็นด้วย และบางส่วนก็ไม่เห็นด้วย และบางหมู่บ้าน โดยส่วนใหญ่จะไม่เห็นด้วยในการขุดลองคลอง ทั้งนี้เพื่ออนุรักษ์คลองธรรมชาติ พร้อมกับพื้นที่ทำกิน และที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นของที่หาไม่ได้อีก
สำหรับค่าเวนคืนในบางหมู่บ้านจะมีค่าเวนคืนที่ดินประมาณ 180,000 บาท / ไร่ ยังไม่รวมถึงตัวอื่น ๆ  ในขณะที่เป็นสวนยาง สวนผลไม้ ที่มีการซื้อขายกันในตลาดปัจจุบัน เช่น สวนยางมีราคา  150,000 บาท และราคา 200,000 บาท และเวลาราคายางสูง ราคาถึง 300,000 บาท / ไร่

นายพรศักดิ์ ชุมทอง ประธานสภาน้ำจังหวัดพัทลุง เปิดเผยกับ ว่า ว่าภารกิจของสภาน้ำจังหวัดพัทลุง เป็นการวมตัวของภาคประชาชนอนุรักษ์สายน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการน้ำ ให้เป็นต้นแบบของ จ.พัทลุง โดยจะต้องร่วมกันทุกฝ่าย ในการจัดทำแผนที่น้ำ จะไม่เฉพาะกรมชลประทาน และยุทธศาสตร์จังหวัด โดยไม่ได้ปฏิเสธในการพัฒนา แต่ในการพัฒนาจะต้องสอดคล้องกับบริบทพื้นที่และความต้องการของพื้นที่

ซึ่งปัจจุบัน จ.พัทลุง มียุทธศาสตร์ในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำจำนวน 21 อ่าง แต่ละอ่างมีมูลค่าการลงทุนเป็นจำนวนหลักหลายร้อยล้านบาทและหลักพันล้านบาท ซึ่งสร้างแล้วเสร็จจำนวน 4 อ่าง เช่น อ่างเก็บน้ำคลองหัวช้างหลักพันล้านบาท พร้อมลงทุนขุดลอกคลองส้านแดง ระบายน้ำอีกมูลค่า 700 ล้านบาท แต่สำหรับคลองถูกชะลอการก่อสร้างไว้ก่อน เพราะถูกคัดค้าน  นอกนั่นอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใส  อ.ป่าพะยอม อ่างเก็บน้ำคลองป่าบอน อ.ป่าบอน  ฯลฯ

“และยังมีการเคลื่อนไหวก่อสร้างเพิ่มอีก 4 อ่างเก็บน้ำ คืออ่างเก็บน้ำเหมืองตะกั่ว อ.ป่าบอน อ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ ต.ลำสินธุ์ อ.ศรีนครินทร์ อ่างเก็บน้ำเขาแก้ว  อ.ศรีบรรพต  และอ่างเก็บน้ำโล๊ะจังกระ อ.ตะโหมด จ.พัทลุง แต่ได้ชะลอไปในขณะนี้”
นายพรศักดิ์ กล่าวว่า  ทางสภาน้ำและประชาชน ไม่ได้ปฏิเสธหรือคัดค้านในการพัฒนา  เพราะจะต้องบริหารจัดการน้ำ เช่น  1. ภัยแล้ง 2.น้ำท่วม   ทั้งภัยแล้งน้ำท่วมต่างเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายว่าต้องมีการปรับปรุงพัฒนา แต่จะต้องมีส่วนในการออกแบบจากทุกฝ่ายเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้  ทั้งนี้จะต้องให้มีการสูญเสียประโยชน์น้อยที่สุดและให้ได้ประโยชน์มากที่สุด 

“ในการบริหารจัดการน้ำ ต้องคำนึงถึงภูมินิเวศ ความหลากหลายทางพันธุกรรม ฯลฯ  เพราะคลอง จ.พัทลุง เป็นคลอลงที่มีคุณภาพและสวยงามทางจังหวัดทางภาคใต้ เป็นคลองมีคุณภาพสิ่งแวดล้อม พืชผัก ต้นไม้ สัตว์น้ำหลากหลายที่มีความอุดมสมบูรณ์ และยังสอดรับกับยุทธศาสตร์เชิงนิเวศธรรมชาติ จ.พัทลุง”

นายพรศักดิ์  กล่าวอีกว่า ในการบริหารจัดการน้ำตามสายคลองต้องทำแผนที่สายน้ำ กำหนดนโยบายน้ำ ในการอุปโภค บริโภค ฯลฯ  ซึ่งมีคลองสายน้ำหลักถึง 7 สาย  และยังมีการส่งน้ำถึงจังหวัดใกล้เคียงอีกด้วย ดังนั้นในการออกแบบจะต้องออกแบบให้ตลอดสาย

นายพรศักดิ์ กล่าวว่า ส่วนบริหารจัดการภัยแล้งได้เพื่อรองรับภัยแล้ง  จะต้องให้พื้นที่ออกแบบ เช่น เทศบาลร่วมกับภาคประชาชนในพื้นที่เพื่อกักเก็บน้ำสำรองไว้รองรับ โดยการกักเก็บแหล่งน้ำในพื้นที่ สร้างแก้มลิง  ทำฝายน้ำล้น ฯลฯ  เพื่อนำน้ำทั้งอุปโภค บริโภค การเกษตรกร ปศุสัตว์ ฯลฯ ทั้งนี้โดยการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ  ฯลฯ

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 สภาน้ำจังหวัดพัทลุง มูลนิธิชุ่มน้ำทะเลน้อย จ.พัทลุง ร่วมกับกลุ่มเครือข่ายรักน้ำคลองส้านแดง  ต.แม่ขรี ต.ตะโหมด อ.ตะโหมด จ.พัทลุง  ได้ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง และผู้อำนวยการชลประทานจังหวัดพัทลุง  เรื่องขอให้ยกเลิกการขุดลอกคลองส้านแดง (ต.ตะโหมด ต.แม่ขรี) อ.ตะโหมด จ.พัทลุง

โดยขอเรียกร้องดังต่อไปนี้ 1.ขอให้ยุติโครงการขุดลอก และคลองสายอื่น ๆ ใน จ.พัทลุง 2. การดำเนินการใด ๆ ต่อสายน้ำทุกสายจะต้องเปิดเวทีสร้างความเข้าจต่อคนในพื้นที่และที่เกี่ยวข้องในทุกด้านทุกมิติ ประเมินตัดสินใจอย่างเพียงพอ ฯลฯ  3. ขอให้ทางชลประทานท่าเชียด จ.พัทลุง ส่งแผนงานโครงการขุดลอก แบบแปลน และงบประมาณ วัตถุประสงค์ คลองส้านแดง ตลอดจนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับระบบนิเวศน์ ชุมชน ให้ทางสภาน้ำให้ได้รับทราบ  4.ขอให้ชลประทานท่าเชียด จ.พัทลุง ยุติการการดำเนินการที่จะนำไปสู่การขุดลอก และคลองอื่น ๆ ใน จ.พัทลุงไว้ก่อน  เพื่อให้ชุมชนได้อยู่กันอย่างสงบสุข

ขอให้ชลประทานท่าเชียด ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง จะตระหนักในคุณค่าระบบนิเวศน์สายน้ำ ผืนป่า แหล่งอาหารของชุมชนที่อยู่บริเวณสายน้ำ และตระหนักและให้คุณค่าต่อการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของชาวบ้านด้วยกัน.

โครงการขุดลอกคลองส้านแดง คลองมีความยาวประมาณ 21 กิโลเมตร ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำที่ชลประทานท่าเชียด ต.โคกศักดิ์  อ.บางแก้ว จ.พัทลุง ซึ่งมีต้นน้ำจากน้ำตกหินลาด บ้านโล๊ะจังกระ  อ่างเก็บน้ำคลองเขาหัวช้าง บ้านเขาหัวช้าง และคลองกงบ้าตะโหมด ต้นน้ำหลักจากเทือกเขาบรรทัดเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด รอยต่อ จ.พัทลุง ตรัง สตูล จ.สงขลา

โดยที่สายน้ำที่ไหลผ่านจำนวน 10 หมู่บ้านทั้ง 2 ฝั่งคลอง เช่น บ้านเขาหัวช้าง บ้านโล๊ะจังกระ บ้านโล๊ะเหรียง บ้านควนอินนอโม ต.ตะโหมด อ.ตะโหมด บ้านควนล่อน  บ้านด่านโลด บ้านหนองปด  บ้านทุ่งเหรียง บ้านควนปาบ และบ้านแม่ขรี ต.แม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุงโดยใช้งบประมาณ รวมทั้งค่าเวนคืนประมาณ 700 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงงานว่า จากการประชุมร่วมกันระหว่างสภาน้ำ จ.พัทลุง มูลนิธิชุ่มน้ำทะเลน้อย จ.พัทลุง และประชาชนในพื้นที่สายน้ำ กับจังหวัดพัทลุง ชลประทานจังหวัดพัทลุง ที่ศาลากลางจังหวัดพัทลุง

โดยทางชลประทานจังหวัดพัทลุง ระบุว่า การก่อสร้างการลงทุนโครงการของกรมชลประทาน จะหารือร่วมกับประชาชนเพื่อร่วมกันออกแบบเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้ โดยกรมชลประทานจะขออยู่ร่วมกับชาวบ้าน และหนังสือที่คัดค้านการขุดลอกคลองส้านแดง ที่ได้ยื่นถึงชลประทานจังหวัดพัทลุงจะยื่นถึงกรมชลประทานพิจารณาดำเนินการต่อไป

ส่วนทางจังหวัดพัทลุง พร้อมจะลงพบพูดคุยกับประชาชนเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของทุกฝ่าย สำหรับโครงการขุดลอกคลองส้านแดง ต้องชะลอโครงการไว้ พร้อมกับสอบถามชาวบ้านว่าจะดำเนินกาอยู่ร่วมกันอย่างไร.

โดย...อัสวิน  ภักฆวรรณ