คนใต้บริโภคข้าวแพง แหล่งผลิตใหญ่ข้าวนาปรัง "พัทลุง-สงขลา"ลดฮวบเหตุภัยแล้งคุกคาม


ข้าว“นาปรัง” ราคาปรับขึ้น 20 % ข้าวพัทลุงมีพื้นที่ผลิตได้ประมาณ 70 % สงขลา 40 % เหตุจากแล้งจัดลากยาว เหตุแล้งจัดลากยาว น้ำจืดไม่พอน้ำเค็มเข้าแทรก ระบุ แนวโน้มหันทำนามากขึ้นแต่พื้นที่จำกัด จากที่หันไปทำสวนปาล์มน้ำมัน และสวนยางพารายกร่อง แต่สวนทางรัฐบาลลดสนับสนุนเงิน 1,000 บาท มาสนับสนุนปุ๋ยคนละครึ่งราคา 500 บาท
นายอรุณ ไพชำนาญ รองประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรภาคใต้ และประธานคณะกรรมการกลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมด อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ภาวะการทำนาในฤดูกาลที่ผ่านมา โดยเฉพาะในกลุ่มทำนาเกษตรกรตะโหมด ได้ทำนาข้าวสังข์หยดพัทลุงด้วย แต่การทำนาข้าวที่ผ่านมา ได้ประสบกับเรื่องสภาพภูมิอากาศ เช่น แล้งและฝนตกไม่เป็นตามสภาพ ได้ส่งผลให้มีผลผลิตได้ปริมาณที่ต่ำลงจากเกณฑ์เดิม คือได้ผลผลิตประมาณ 250 กก. – 300 กก. / ไร่ โดยไม่ถึง 400 กก. / ไร่ ภาพรวมผลผลิตจึงลดลงเหลือประมาณ 65 % โดยแต่ในขณะที่ผู้บริโภคยังคงเดิม จึงกระทบต่อราคาข้าวสังข์หยดได้ปรับตัวขึ้น โดยราคาข้าวตามท้องตลาดทั่วไปประมาณ 50 บาท / กก. หรือประมาณ 50,000 บาท / ตัน
“แนวโน้มข้าวสังข์หยด จะขยายตัวเติบโต เนื่องจากการรับรู้ของผู้บริโภคถึงคุณภาพและคุณประโยชน์ทางด้านสุขภาพ จึงทำให้ข้าวให้ตลาดมีความต้องการมากขึ้น”
นายอรุณ กล่าวอีกว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ เกษตรกรหลายกลุ่มได้ร่วมประชุมและร่วมลงนามทำ MOU กับมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลาสาขาสตูล เรื่องการผลิตและจำหน่ายข้าวสังข์หยด ซึ่งทางมหาวิทยาลัยราชภัฎสาขาสตูล จะเป็นผู้จัดทำการตลาดจำหน่ายทางตลาดออนไลน์ โดยจะรับข้าวสังข์หยดจากเกษตรไม่จำกัดปริมาณจำนวนเท่าที่จะสามารถผลิตได้
สำหรับข้าวสังข์หยดพัทลุง ได้รับการจดขึ้นทะเบียน GI (Geographica lndication) c]tเป็น 1 ในพืชทางการเกษตรของโครงการส่งเสริมเกษตรมูลค่าสูงมีความพร้อมและศักยภาพทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง เป็นโครงการส่งเสริมเกษตรมูลค่าสูงระดับพื้นที่ (Area-Based) ของ จ.พัทลุง ที่ทางหอการค้าจังหวัดพัทลุง และคณะกรรมการหอการค้าไทย คณะกรรมการเพิ่มมูลค่าพืชเกษตรหอการค้าไทย ฯลฯ ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างคณะกรรมการเพิ่มมูลค่าพืชเกษตรหอการค้าไทย หอการค้าจังหวัดพัทลุง และบริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด
ข้าวสังข์หยด เป็น 1 ในสินค้าเกษตร 7 ตัวหลัก ซึ่งที่มีความหลากหลายและคุณภาพและมาตรฐาน และสินค้าเกษตร Product Champion ทั้งนี้โดยสินค้าที่จะสามารถกระจายสินค้าไปทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จึงได้ตั้งเป้าหมายผลักดันให้ จ.พัทลุง เป็น Hub สินค้าเกษตรภาคใต้ จ.พัทลุง
และในโครงการ ข้าวสังข์หยดจะมีการขับเคลื่อนส่งเสริมใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพ ผลิตให้ได้มาตรฐานอินทรีย์ ตลอดถึงการลดต้นทุนในการผลิตด้วย และประการสำคัญจะให้สมาชิกได้รับมาตรฐานข้าวอินทรีย์ครบทุกราย ผลิตภัณฑ์แปรรูปเพิ่มมูลค่า พัฒนาตราสินค้า เพิ่มช่องทางการตลาด เช่น การส่งออก ฯลฯ
นายประจวบ เกตุนิ่ม ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ข้าว ต.ควนขนุน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ฤดูกาลนาปรังในปี 2567 จะเริ่มเก็บเกี่ยวประมาณกลางเดือนกรกฎาคม 2567 นี้ ซึ่งเป็นนาปรังปลูกก่อนหน้าเทศกาลสงกรานต์ และต้องรอฝนเพราะเกิดภาวะแล้งจัดลากยาวจึงปลูกรุ่นนี้ก็จะเก็บเกี่ยวเกี่ยวประมาณปลายเดือนสิงหาคม 2567 โดยปลูกได้ประมาณ 70 %
“สวนข้าวนาปีจะเริ่มทำเดือนสิงหาคม กันยายน 2567 โดยใช้ระยะเวลา 6 เดือน และ 5 เดือน จะสามารถเก็บเกี่ยวได้ในปี 2568”
นายประจวบ กล่าวอีกว่า ส่วนภาวะราคาข้าวก็ได้มีการปรับราคาขึ้นในปี 2567 ได้ปรับขึ้น 12,000 / ตัน จาก 10,000 บาท / ตันในปี 2566 ในฤดูกาลนาปรัง เป็นข้าวเปลือกสดราคาหน้านา ซึ่งเป็นข้าวเล็บนกข้าวเล็บนกราคาข้าวสารค้าส่งที่ประมาณ 30 บาท / กก. หรือประมาณ 30,000 บาท / ตัน จากปีที่ผ่านมา ราคาประมาณ 25 – 26 บาท / กก. 25,000 – 26,000 บาท / ตัน ในส่วนข้าวสังข์หยด ขณะนี้ในกลุ่มราคาขายส่งประมาณ 45 บาท / กก. และส่วนตลาดค้าขายปลีกทั่ว ๆ ไปราคา 50 บาท / กก. หรือประมาณ 45,000 บาท / ตัน 50,000 บาท / ตัน โดยในปีที่ผ่านมาราคาประมาณ 35 บาท / กก.
“ในปี 2567 ราคาปรับตัวขึ้นประมาณ 20 % ส่วนในปี 2566 และ 2565 ข้าวสดปรับตัวประมาณปีละ 10 % และแนวโน้มข้าวยังมีการปรับตัวขึ้นอีก”
นายประจวบ กล่าวอีกว่า ข้าวได้มีการปรับตัวทิศทางที่ดีมาประมาณ 3 ปี จากเดิมราคาที่ 9,000 บาท ข้าวขาวอื่น ๆ ประมาณ 7,000 – 6,000 บาท ก็ปรับตัวขึ้นเช่นกัน และจากราคาข้าวที่จูงใจส่งผลให้หันมาสนใจทำนากันมากขึ้น แต่เนื่องจากมีพื้นที่จำกัดเพราะจากที่ผ่านมาได้หันไปปลูกปาล์มน้ำมัน และสวนยาง ปัจจัยจากราคาที่เป็นแรงจูงใจ
“แต่คิดที่จะหันทำนากันโดยการเปลี่ยนสวนปาล์น้ำมัน และสวนยาง ฃนั้นโดยเฉพาะประเภทที่เป็นสวนยกร่องก็ไม่สามารถดำเนินการได้ไม่สามารถปรับหน้าดินได้เหมือนเดิม เพราะการยกร่องและขุดคูเก็บน้ำ จะเป็นอุปสรรคต่อการปรับหน้าดินที่ลบากมาก”
นายประจวบ กล่าวอีกว่า ขณะที่มีการสนใจที่จะทำนากันเพิ่มขึ้นแต่ชาวนาขาดแคนคนทำนา คนรุ่นใหม่นิยมจึงเป็นประเด็นสำคัญมากในส่วนนี้ และในขณะเดียวกันปรากฏว่ารัฐบาลมีนโยบายใหม่ปุ๋ยกันคนละครึ่ง คือจากเดิมที่รัฐบาลได้ส่งเสริมสนับสนุนเรื่องต้นทุนการผลิต 1,000 บาท เป็นต้นทุนเกี่ยวกับค่าไถดิน ค่าปุ๋ย ฯลฯ แต่ปรากฏว่ารัฐบาลได้เปลี่ยนมาใช้โครงการปุ๋ยกันคนละครึ่ง คือให้ต้นทุนการผลิตเพียง 500 บาท โดยลดไปถึง 50 %
“สำหรับตนไม่ได้กังวล เพราะจะต้องพาตนเองกันก่อน ก่อนจะพึ่งพารัฐบาล”
แหล่งข่าวจากเกษตรกร อ.ระโนด จ.สงขลา เปิดเผยว่า อ.ระโนด จ.สงขลา เป็นแหล่งทำนาข้าวอันดับต้น ๆ ของจ.สงขลาประมาณ 100,000 ไร่ นอกนั้นจะเป็น อ.สิงหนคร กระแสสินธุ์ และ อ.สทิงพระ โดยอ.ระโนด ตอนนี้ที่ทำนาเหลือไม่ถึง 70,000 ไร่ เพราะได้หันมาปลูกปาล์มน้ำมันแทนและในฤดูกาลทำนาปรังปีนี้จากที่ทำนาประมาณ 70,000 ไร่ จะทำได้ประมาณ 40 % สาเหตุเนื่องจากขาดแคลนน้ำจืดเพราะเกิดภาวะน้ำเค็มแทรกซึมเข้ามา จึงไม่สามารถสูบน้ำมาทำนาได้จากเกิดภาวะแล้งจัดมาตั้งแต่ต้นปี 2567 ประมาณ 5 เดือนและพอจะมีฝนตกบ้างในเดือนปลายเดือนมิถุนายน และกรกฎาคม
แหล่งข่าว กล่าวอีกว่า ข้าวส่วนใหญ่ที่ปลูกกันคือ กข.เช่น ข้าว กข.41 43 79 ฯลฯ ปลูกประมาณ 90 วันก็เก็บเกี่ยวได้ ส่วนทางด้านราคาประมาณ 9,000 บาท และ 10,000 บาท / ตัน และเมื่อแปรรูปเป็นข้าวสาร ราคาประมาณ 25 บาท / กก. หรือประมาณ 25,000 บาท / ตัน เป็นข้าวที่ราคาผู้บริโภคส่วนใหญ่จะนิยมกัน
“ข้าวมีจำนวนเท่าใดก็จะขายหมด เพราะเป็นปัจจัยสำคัญขณะนี้คือการนำไปแปรรูปผลิตเป็นอาหารสัตว์กันมาก นอกจากบริโภคแล้ว”