หมอแท้จริงขอ "อุ๊งอิ๊ง"ตามรอยพ่อ "ทักษิณ"ผลักนโยบายลดโศกนาฏกรรมบนท้องถนน

หมอแท้จริงขอ "อุ๊งอิ๊ง"ตามรอยพ่อ "ทักษิณ"ผลักนโยบายลดโศกนาฏกรรมบนท้องถนน





Image
ad1

เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2567 นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ พร้อมด้วยนายสุรสิทธิ์ ศืลปงาม ผู้จัดการมูลนิธิเมาไม่ขับ พร้อมด้วยแกนนำเครือข่ายเหยื่อเมาแล้วขับได้เดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาลเพื่อนยื่นหนังสือให้กับ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ทั้งนี้เนื้องหาในหนังสือระบุว่า มูลนิธิเมาไม่ขับในฐานะองค์กรสาธารณประโยชน์ที่ทำงานรณรงค์และสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายเพื่อลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน จึงมีหนังสือมายังท่านนายกรัฐมนตรีเพื่อขอให้พิจารณากำหนดการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อช่วยลดโศกนาฏกรรมบนท้องถนนไว้ในคำแถลงนโยบายของรัฐต่อรัฐสภาก่อนที่ท่านนายกรัฐมนตรีจะเข้าบริการประเทศ

​ทั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์ความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทยอยู่ในขั้นวิกฤตจนกลายเป็นโศกนาฏกรรมบนท้องถนนที่คนไทยต้องเผชิญ โดยในแต่ละวันจะมีคนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเฉลี่ยวันละ 40 คน ย้อนหลังไป 10 ปี
( 2556-2566 ) คนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนประมาณ 200,000 คนเท่ากับประชากรในจังหวัดเล็ก ๆ แห่งหนึ่งสูญหายไปหมดทั้งจังหวัด สำคัญที่สุดคนที่เสียชีวิต ส่วนใหญ่เป็นคนวัยทำงานอายุเฉลี่ย 15-35 ปี ซี่งเป็นวัยที่เป็นกำลังสำคัญของชาติในการสร้างงาน สร้างเศรษฐกิจ เพื่อให้ประเทสเติบโตทัดเทียมนานาอารยประเทศ

​ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญและมีนโยบายที่เป็นรูปธรรมจริงจังในการลดอุบัติเหตุทางถนน ต่างกับสมัยดอกเตอร์ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในยุคนั้น มีการกำหนดนโยบายลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนเป้นรูปธรรมที่ชัดเจนนำไปสู่การปฏิบัติ รัฐบาลที่ผ่าน ๆ มาคงดำเนินนโยบายหมือนๆ เดิมที่เคยปฏิบัติมาไม่มีการกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด เพื่อนำไปสู่การลดการเสียชีวิตของคนไทยบนท้องถนน โศกนาฏกรรมบนท้องถนนในประเทศไทยจึงเป็นเรื่องน่าเศร้าที่คนไทยต้องเผชิญชะตากรรมอยู่ทุก ๆ วันกับพฤติกรรมของผู้ใช้รถใช้ถนนโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผผู้อื่น ซึ่งการจัดการปัญหาผู้กระทำผิดกฎหมายบนท้องถนน ประชาชนจะถือว่าเป็นหน้าที่โดยตรงของเจ้าหน้าที่ตำรวจ 

แต่ปัจจุบันประชาชนในฐานะเจ้าของประเทศ ฐานะผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการปัญหาดังกล่าวร่วมกับรัฐบาลในฐานะอาสาตาจราจร ประกอบด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยได้เข้ามามีส่วนช่วยในการเฝ้าจับตาผู้กระทำความผิดบนท้องถนน อาทิเช่น กล้องหน้ารถ กล้องจากโทรศัพท์มือถือ กล้อง CCTV โดรนเคลื่อนที่ ฯลฯ ส่งผลให้ผู้กระทำความผิด แม้จะรอดจากบทลงโทษทางกฎหมาย แต่การลงโทษทางสังคม Social sanction) มีบทลงโทษที่รุนแรงกว่า

มูลนิธิเมาไม่ขับจึงมีหนังสือมายังท่านนายกรัฐมนตรีเพื่อขอให้กำหนดนโยบายการมีส่วนร่วมของประชานเพื่อช่วยดลโศกนาฏกรรมบนท้องถนน ดังนี้

1. ขอให้รัฐบาลกำหนดนโยบายการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อช่วยลดโศกนาฏกรรมบนท้องถนน เป็นนโยบายสำคัญ
ที่รัฐบาลจะเร่งดำเนินการ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมทั้งทางตรง ทางอ้อม และรัฐบาลพร้อมจะให้การสนับสนุนเพื่อหยุดยั้งโศกนาฏกรรมบนท้องถนนในประเทศไทย
      
มูลนิธิเมาไม่ขับหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อเสนอของมูลนิธิเมาไม่ขับจะได้รับการพิจารณาจากท่านนายกรัฐมนตรี กำหนดนโยบายแถลงต่อรัฐสภา โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการให้ประชาชนในฐานะเจ้าของประเทศได้เข้ามามีส่วนร่วมในการหยุดยั้งโศกนาฏกรรมบนท้องถนน เพื่ออนาคตของลูกหลานไทยสืบไป