อานิสงส์ “ลานิญา”ฝนตกชุกส่งผลดีสวนพืชผัก ปาล์ม ยางพารา ภาคใต้

อานิสงส์ “ลานิญา”ฝนตกชุกส่งผลดีสวนพืชผัก ปาล์ม ยางพารา ภาคใต้





Image
ad1

ภาวะ “ลานิญา” มาแล้วน้ำมากกว่าแล้ง อานิสงส์การเกษตรพืชผัก ปาล์มน้ำ ยางพารา ทุเรียน มังคุด กล้วย มะพร้าว อ้อย กลุ่มทำทุเรียน มังคุด นอกฤดูผวา ลานิญา 

นายจิระวัฒน์ ภักดี ที่ปรึกษาสภาเกษตรกร จ.พัทลุง และผู้ประกอบทางด้านการเกษตร  เปิดเผยว่า  ภาวะเอลนิโญได้สิ้นสุดลงและเข้าสู่ภาวะลานิญาเมื่อเดือนสิงหาคม 2567 และจะส่งผลให้เกิดฝนตกมากและน้ำมากกว่าภาวะเอลนิโญ ซึ่งจะเกิดฝนตกน้อยและแห้งแล้งลากยาวเมื่อปี 2566-2567 ที่ผ่านมา

ภาวะลานิญา จะเป็นผลบวกกับด้านเกษตรพืชผลไม้ยืนต้นและพืชผัก ตั้งแต่ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ทุเรียน มังคุด มะพร้าว เงาะ ลองกอง ข้าว  กล้วย อ้อย ฯลฯ จะเกิดความสมบูรณ์เพราะได้รับน้ำ และจะมีปริมาณผลผลิตจะกลับเพิ่มขึ้นมาเหมือนเดิม

เขายังกล่าวอีกว่า คราวเกิดภาวะเอลนิโญในปีที่ผ่านมาได้เกิดภาวะแล้งร้อนจัดลากยาว ได้ส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตมีปริมาณที่ลดลงมากประมาณถึง 50 %  โดยเฉพาะทุเรียนต้นขนาดเล็กยืนต้นตายไปประมาณ 10-20  % กล้วยทุกชนิดขาดแคลนเกินกว่า 50 % สำหรับทางภาคใต้โดยพื้นที่ปริมาณน้ำไม่พอที่สำรองไว้

“และจากได้รับผลผลิตปริมาณที่ต่ำมาก เช่น พวกกล้วยทุกประเภทขาดแคลนราคาได้ปรับตัวสูงถึงเท่าตัว กล้วยหอมราคาปกติกประมาณ 10 บาท / กก. ได้ปรับตัวสูงขึ้น 20 – 30 บาท / กก. ถ้าเป็นหวีละ 80 บาท 100 บาท และพืชราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นทุกตัว”

นายจิระวัฒน์ กล่าวอีกว่า และจากภาวะลานิญาที่เกิดขึ้นแล้ว ฝนตกดีน้ำดีจะส่งผลให้ไม้ยืนต้นเกิดความสมบูรณ์ก็จะให้ผลผลิตปริมาณกลับสู่สภาพเดิม ตั้งแต่ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ข้าว ทุเรียน มังคุด กล้วย อ้อย ฯลฯ ตลอดจนพืชผัก  ส่วนผลเสียคือจะเกิดภาวะน้ำท่วม และพื้นที่ลุ่มที่เกิดน้ำท่วมซ้ำซากจะเกิดน้ำท่วมขัง จะสร้างความเสียหายให้กับการเกษต

“และอย่างนาข้าวก็จะได้รับความเสียหายหากเป็นที่ลุ่ม แต่ปัญหาที่แก้ไขได้เมื่อฝนแล้งก็กลับมาปลูกข้าวใหม่ต่อได้”

นายจิระวัฒน์ กล่าวอีกว่า แต่ในขณะเดียวกันจากภาวะลานิญา ก็จะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่ทำนอกฤดูทั้งทุเรียน และมังคุดได้ เพราะมีฝนตกที่ไม่แน่นอนเมื่อฝนตกลงมาก็กระชากดอกร่วงหล่นออก   โดยทุเรียนนอกฤดูจะทำกันมากสำหรับทางจังหวัดภาคใต้ที่ จ.ชุมพร จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.นครศรีธรรมราช จะทำมังคุดกันมาก ทั้งหมดส่งออกต่างประเทศจีน ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง

“ทำนอกฤดูกาลภาวะลานิญาจะเกิดความเสี่ยงกับเกษตรกรนอกฤดู แต่ภาวะเอลนิโญ นอกฤดูจะเป็นผลดี ภาวะผลไม้นอกฤดูจะได้ราคาสูงกว่าฤดูปกติมาก”

นายไพรวัลณ์ ชูใหม่ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ  เกษตรจังหวัดพัทลุง และที่ปรึกษารับทำสวนการเกษตร เปิดเผยว่า ภาวะลานิญาได้เข้ามายังภาคเหนือ ภาคอีสานก่อน และได้เข้าสู่ภาคใต้เมื่อเดือนกันยายน ซึ่งจะเกิดฝนตกชุกและปริมาณน้ำมากกว่าภาวะปกติ  แต่สำหรับเกษตรกรจะเป็นบวกจากมีน้ำที่สมบูรณ์ แต่มีความเสี่ยงเรื่องภาวะน้ำท่วม และน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มก็มี ที่จะส่งผลลบต่อการเกษตร

“ในปีนี้ภาคใต้จะมีฝนซ้ำซ้อนกันทั้งจากภาวะลานิญาและฝนตามฤดูกาลตั้งแต่เดือนตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม”

นายไพรวัลย์ กล่าวอีกว่า  ที่น่างกังวลก็คือผลไม้ที่ทำผลผลผลิตออกนอกฤดู มีทุเรียน มังคุด เพราะอาจจะประสบกับปัญหาบางรุ่นได้ที่จะออกผลผลิตประมาณเดือนมกราคม 2568 ไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธุ์ 2568 เพราะการทำทุเรียนนอกฤดูใช้เวลาประมาณไม่เกิน 6 เดือนจะให้ผลผลิตโดยเฉพาะในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 และเทศกาลตรุษจีน 2568  การทำผลไม้นอกฤดูจะได้ราคาที่สูงมาก

“งจากภาวะลานิญาว่าจะมีผลกระทบต่อทุเรียน มังคุด นอกฤดูหรือไม่สำหรับภาคใต้ ชุมพร สุราษฎร์ธานี  และ จ.นครศรีธรรมราช ที่มีการทำกันมากผลิต ส่วนจังหวัดอื่น ๆ ทำสวนทุเรียน มังคุดนอกฤดูกาลยังน้อย เช่น จ.พัทลุง เป็นต้น”