เรื่องเล่าจาก “ปู่ถาวร” การทำบายศรีมรดกทางภูมิปัญญา-ศาสนา และความเชื่อ


การทำบายศรีสู่ขวัญ หรือที่หลายๆคนแถบภาคอีสานเรียกติดปากกันว่า “บาศรีสูตรขวัญ” ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอกกันมายาวนาน ตามความเชื่อว่าจะเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตกับผู้รับขวัญ เสริมดวงธุรกิจจะได้รุ่งโรจน์ ซึ่งเป็นประเพณีของพราหณ์ เนื่องจากตั้งแต่บรรพบุรุษของชาวอีสานได้นับถือกันมายาวนาน จนถึงปัจจุบันตกทอดมาสู่ลูกหลาน
ซึ่งว่าการไปแล้ว การทำบายศรีสู่ขวัญ ไม่เพียงแค่นิยมทำกันภาคอีสานเท่านั้น ภาคอื่นๆได้มีการปฎิบัติกัน ขึ้นอยู่กับโอกาสของแต่ละบุคคลที่ประสพโชคลาภ และประสบเคราะห์ เมื่อครั้นคนหนุ่มสาวกลับสู่บ้านเกิด ผู้ใหญ่จะดูฤกษ์งามยามดี เชิญอาจารย์ที่มีความรอบรู้เรื่องศาสนาพราหมณ์มาทำบายศรีให้กับลูกหลาน หรือผู้หลัก ผู้ใหญ่ที่มาเยือนถิ่นจะนิยมทำบายศรีให้กัน จนสืบทอดต่อๆกันมากลายเป็นประเพณียึดเหนี่ยวทางจิตใจ ตามความเชื่อ ศรัทธาของแต่ละบุคคล
ยิ่งครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงชีวิต ทั้งการทำธุรกิจที่จะให้ประสบผลสำเร็จ เงินทองไหลมา การรับขวัญ ขึ้นบ้านใหม่ เลื่อนขั้นตำแหน่งใหญ่ หรือบางคนเจ็บไข้ ล้มป่วย จะต้องทำบายศรีเพื่อเรียก “ขวัญและกำลังใจ” เพื่อเชิญกลับมาสู่ชีวิตที่ดีขึ้น หรือยุคปัจจุบันนิยมกันเพื่อเป็นการเสริมสิริมงคลให้กับตัวเอง
“ปู่ถาวร เก่งสาริกรรณ์” หนึ่งในปราชญ์ชาวบ้านที่รอบรู้เรื่องการทำบายศรี ตามแบบฉบับศาสนาพราหมณ์ จากจังหวัดกำแพงเพชรอธิบายว่า การทำบายศรี จุดประสงค์เพื่อการบอกกล่าว เทพ ภูมิ เจ้าที่ และพิธีอัญเชิญเทวดา 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน มาร่วมอนุโมทนาบุญ เพื่อบูชาเทวดา ช่วงเช้าก่อนทำพิธี จะนิมนต์พระภิกษุมาร่วมทำบุญ ตักบาตร ทำการถวายสังฆทานก่อน
เพราะฉะนั้น ช่วงหลังจะเห็นว่ากลุ่มบริษัท ห้างร้าน เจ้าของธุรกิจ จะนิยมทำพิธีบวงสรวง บายศรีกันมากจนกลายเป็นประเพณีพราหมณ์ที่ทำพิธีกันมากมายทั่วประเทศ เป้าหมายหลัก เพื่อที่เป็นการเสริมสิริมงคลแล้ว จะทำให้การประกอบธุรกิจเหนือกว่าคู่แข่งขันในตลาด ส่วนทางด้านศาสนาพุทธ เพื่อที่ให้หลุดพ้น การเกิด แก่ เจ็บ ตาย
ในการทำพิธีบายศรีแต่ละครั้ง สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ เครื่องใช้ในการประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญ อาทิ ของเซ่น ผลไม้มงคล 9 อย่าง ของคาว ของหวาน อย่างหัวหมู ไก่ เป็ด กุ้ง หอย ปู ปลา และขนม สิ่งสำคัญที่สุดขาดไม่ได้ กล้วยน้ำว้า ที่เป็นผลไม้หลักนับตั้งสมัยบรรพบุรุษ ยุคปู่ ย่า ตา ยาย และฤาษี
สิ่งของที่ใช้ ประกอบพิธี ธูป เทียน ดอกดาวเรือง ซึ่งเป็นดอกไม้ที่ใช้ในชั้นดาวดึงส์ หมายความว่า การเลือกใช้ดอกดาวเรือง ทำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง ดอกไม้ประเภทนี้นิยมใช้กันมากตามประเพณีต่างๆ รวมทั้ง ดอกมะลิ ดอกกุหลาบ ดังนั้น เมื่อของเซ่น ของถวาย ดอกไม้พร้อม จะต้องมีการจัดเรียงให้ถูกต้อง ตามชั้นและขั้นตอนต่างๆ ทั้งนี้ ทั้งนั้นก็แล้วแต่ความสามารถผู้จัด จะทำขนาดเล็ก ขนาดใหญ่แค่ไหน
อีกขั้นตอนหนึ่ง จะต้องจัดพื้นที่บริเวณรอบๆ เพื่อจำลองให้เป็นมณฑลพิธี ลักษณะคล้ายการทำคอกกั้นสี่เหลี่ยม จะต้องจัดวางฉัตร 9 ชั้น 4 มุมหรือ 4 ทิศ ซึ่งฉัตรทองเสมือนเป็นหลักเขตสุวรรณภูมิ เพื่อต้อบรับเทวดาลงมาสู่มณฑล รอบๆฉัตรจะประดับ ประดาด้วยหน่อกล้วย อ้อย รวมทั้ง ผลไม้ไทยๆ อาทิ มะพร้าว ขนุน ฟักทอง เพื่อบ่งบอกถึงการสร้างความอุดมสมบูรณ์ พืชพันธุ์ธัญญาหารที่พรั่งพร้อม ส่วนการเลือกใบตองนางพญาตานีมาใช้ในการทำบายศรี เพราะนางพญาตานี เป็นผู้ที่เสียสละ เพื่อให้เกิดเป็นมวลมนุษย์ นางฟ้า บนสวรรค์
สำหรับการทำบายศรีจาก เลือกใช้ใบตองนางพญาตานีนั้น จะประกอบด้วย 1.บายศรีปากชาม ลักษณะเป็นบายศรีขนาดเล็ก ทำจากใบตองม้วนเป็นรูปกรวยเจดีย์ จะนำมาวาง 4 มุม เพื่อที่บูชาเทพเทวดา 2. บายศรีพรหม นิยมใช้งานพิธีกรรมใหญ่ๆ บวงสรวงเทพยดา หรือองค์พรหม ประดับด้วยดอกดาวเรือง เพื่อทำการจำลองเหมือนปราสาท 3 . บายศรีเทพ เพื่อทำการบูชาชั้นเทพ เจ้าพ่อ เจ้าแม่ เจ้าป่า 4. บายศรีแม่ธรณีบีบมวยผม เพื่อจำลององค์พระแม่ธรณี ที่จะลงมาประทับเพื่อประทานพร ผู้ที่มาร่วมในพิธีบวงสรวง 5. บายศรีหลัก หมายถึง เพื่อให้การทำงานชิ้นนั้น เป็นหลักชัย ไม่ล้ม หรือถ้าหากร่ำรวย จะร่ำรวยอีกต่อๆไป 6. บายศรีตอ เพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยว สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ จะเป็นไปได้ เหมือนกับเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ
7. บายศรีเปิดทรัพย์ ลักษณะคล้ายพญานาค ทำการสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บูชาเทพไทเทวา เพื่อเปิดดวง เสริมบารมี ให้เกิดศสิริมงคลเกิดโภคทรัพย์ ทำการเปิดธุรกิจชั้นสูงสุด และ 8. บายศรีพญานาค ลักษณะคล้ายกับตัวพญานาค มีหัว มีเขี้ยว เหมือนกับเป็นการเอาใจ ผู้ที่มาร่วมงาน เพราะว่าในการทำพิธีใดก็ตามที่มีสัญลักษณ์ของพญานาคมักจะประสบผลสำเร็จ ถ้าเป็นเจ้าของธุรกิจจะรุ่งโรจน์
เพราะฉะนั้น การทำบายศรีที่ใช้ในพิธีบวงสรวง เปิด 4 ทิศ เหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตกครบถ้วน สามารถครอบจักรวาล 4 ทิศ เพื่ออัญเชิญเหล่าเทพ เทวดา มาให้พร และให้ประสบผลสำเร็จในเรื่องที่ตั้งใจอธิฐานไว้