ชาวปราจีนผวา!ขยายอีอีซีครอบคลุมเป็นจังหวัดที่ 4 หวั่นเป็นถังขยะโลก

ชาวปราจีนผวา!ขยายอีอีซีครอบคลุมเป็นจังหวัดที่ 4 หวั่นเป็นถังขยะโลก





Image
ad1

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ. หรือ EEC) เปิดเวทีร่วมทำความเข้าใจ EEC  รับฟังความคิดเห็นประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group)แนะนำและชี้แจงเกี่ยวกับสิ่งที่อีอีซีกำลังจะดำเนินการ ทำการรับฟังความคิดเห็นในส่วนของภาคประชาชนอีก  ก่อนจะสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นให้ได้ภายในเดือนกันยายน 2568ก่อนเสนอ ครม. พบเสียงคนปราจีนฯไม่เห็นด้วยหวั่น! กระทบมรดกโลกเขาใหญ่-ทับลานน้ำจากเขื่อนไม่พอชาวบ้าน-ภาคเกษตร รวมถึงสร้างเขื่อนผุดรอบมรดกโลก-ละเมิดผังเมือง-หวั่นปราจีนฯกลายเป็นถังขยะโลกรับมลพิษระบุอุตสาหกรรมเดิมยังแก้ไขไม่ได้

เมื่อวัน 19 ก.ค.68 ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.ปราจีนบุรี   ณ.ห้องประชุมชั้น2  อำเภอบ้านสร้าง EECได้ขอความร่วมมือเชิญประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ครั้งที่2  ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายขยายพื้นที่เขตพัฒนาภาคตะวันออก จ.ปราจีนบุรี    โดยนายเสฏฐวุฒิ วงศ์เลอวุฒิ นายอำเภอบ้านสร้างได้มอบหมายให้ เรืออากาศโท ภรศิษฐ์ จิตรามวงศ์ ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง กำนันตำบ้านสร้าง กำนันตำบลบางกระเบา กำนันตำบล บางปลาร้า กำนันตำบลบางขาม กำนันตำบลกระทุ่มแพ้ว ได้เข้าร่วม พร้อมผู้แทนภาคประชาชน

ทั้งนี้วันนี้ (19 ก.ค.) เป็นวันแรกของรูปแบบการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group)  โดยกำหนดไว้ ว่า ช่วงเวลา: 19–30 กรกฎาคม 2568    รูปแบบ: การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group)  แยกตามภาคส่วน ได้แก่ ภาคราชการ ภาคประชาชน  ภาคเอกชน  ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม และ  กลุ่มประชาสังคมในพื้นที่

 รายละเอียด  วันที่   19 กรกฎาคม ประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group)   ช่วงเช้า อำเภอบ้านสร้าง และ  ช่วงบ่าย อำเภอเมือง  , วันที่  20 กรกฎาคม - ช่วงเช้า อำเภอศรีมหาโพธิ และ ช่วงบ่าย อำเภอศรีมโหสถ ,  วันที่  23 กรกฎาคม -ช่วงบ่าย อำเภอเมือง ,  วันที่ 26 กรกฎาคม - ช่วงเช้า อำเภอประจันตคาม และ  ช่วงบ่าย อำเภอกบินทร์บุรี , วันที่  27 กรกฎาคม - ช่วงเช้า อำเภอนาดี และ 30 กรกฎาคม -ช่วงเช้า อำเภอศรีมหาโพธิ

ต่อมา เวลา 13.30 น.  ที่หอประชุมอำเภอเมืองปราจีนบุรี  ได้ประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) ครั้งที่2  ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายขยายพื้นที่เขตพัฒนาภาคตะวันออก จ.ปราจีนบุรีต่อภาคบ่ายในส่วนพื้นที่ อ.เมืองปราจีนบุรี และจะจัดครบทั้ง 7 อำเภอต่อไปดังกล่าวข้างต้น   

 เป้าหมายของโครงการ    เพื่อเปิดพื้นที่รับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน   นำข้อเสนอเหล่านั้นไปประกอบการวิเคราะห์   และ   จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ รอบด้าน รอบคอบ และรอบรู้     โดยให้เหตุผล  ระบุว่า  เพราะเสียงของทุกคน คือรากฐานสำคัญ   ที่จะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดปราจีนบุรีอย่าง สมดุล และยั่งยืน

โดย จ.ปราจีนบุรี นี้จะมีการประกาศพื้นที่ส่วนขยายของอีอีซีเป็นพื้นที่จังหวัดที่ 4 ของภาคตะวันออกทั้งจังหวัด แต่ในรายละเอียดของแต่ละอำเภอต้องกำหนดอุตสาหกรรมที่เหมาะสมให้ชัดเจน โดยใช้ พ.ร.บ.อีอีซี และ  สิทธิประโยชน์อีอีซี เช่นเดียวกันทั้งหมด เหมือนกับ 3 จังหวัดก่อนหน้า คือ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา    ซึ่งที่ จ.ปราจีนบุรี  จะเริ่ม 2 อำเภอ คือ กบินทร์บุรี และศรีมหาโพธิ ที่มีอุตสาหกรรมลงทุนอยู่แล้วก่อน ในการที่จะขยายการลงทุนใหม่เข้ามา 

ต่อมาเวลา 18.40 น.  นายวิโรจน์ น้อยสำเนียง นายกสมาคมจิตอาสาพัฒนาปราจีนบุรี ในนามกลุ่มรักษ์เมืองปราจีนฯเปิดเผยหลังการประชุมย่อยว่า    ประเด็นเรื่อง อีอีซี.ต้องฟังแบบรอบด้าน  ประโยชน์ของการเข้าอีอีซี.ของปราจีนบุรีต้องให้ครอบคลุมทุกประเด็น

จริง ๆแล้วเป้าของการนำ จ.ปราจีนบุรีเข้าอีอีซี.คือ เขาปรารถนาต้องการจะใช้น้ำในปราจีนบุรีซึ่งมีมรดกโลกคืออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่– ทับลาน เป็นที่กักเก็บน้ำที่จะปล่อยไปเลี้ยงอีอีซี.ที่ทุกวันนี้เราก็ปล่อยน้ำจากเขื่อนฤบดินทรจินดาอยู่แล้วไปหล่อเลี้ยงอุตสาหกรรมภาคตะวันออกอีอีซี.อยู่แล้วที่ จ.ชลบุรี จ.ระยองอยู่แล้ว จะมีแผนสร้างเขื่อนรอบอุทยานฯอีกหรือไม่?  

สิ่งที่เราสูญเสียป่า ต้นทุนทรัพยากรธรรมชาติที่มรดกโลกเราลงทุนไป  คำตอบตอบชัด สังคมปราจีนบุรีที่ลงทุนไปความเป็นอยู่คนปราจีนบุรีได้รับการดูแล การชดเชยอย่างไร   เรากังวลเหตุผลกฎหมายผังเมืองอีอีซีไม่เป็นตามกฎหมายผังเมืองอีอีซีก็ดำเนินการตามกฏหมายพิเศษได้  เช่นการถมที่ การตั้งโรงงานที่ไม่เหมาะสมเคยเกิดมาแล้วที่ ระยอง ฉะเชิงเทรา

 เมื่อเราเข้าอีอีซี.ทีหลัง อุตสาหกรรมนวตกรรมชั้นสูงอยู่ในจังหวัดหลัก ๆ แล้ว  จ.ปราจีนบุรีเราจะเป็นโรงงานจำกัดกากอุตสาหกรรมที่แก้ปัญหาไม่ได้  มาเพิ่มภาระให้คนปราจีนบุรีอีกที่ปัจจุบันก็มากพอแล้ว  

 เรื่องสิ่งแวดล้อมที่สูญเสียไปจากการเปลี่ยนแปลงที่ดินกระทบกับสินค้าของปราจีนบุรี  ผัก ผลไม้ เช่นส้มโอ บางพื้นที่ถูกขายเข้าโรงงานอุตสาหกรรมไปแล้ว ที่แปลงใหญ่เคยปลูกส้มโอหายไป   ถ้าหากมลพิษกระทบภาพรวมเหมือนสารซีเซี่ยม –137ในภาพรวมเหมือนเคยเกิดเราไม่อยากให้เกิด

แต่อะไรหากทำแล้วมีกองทุนผู้รับผลกระทบได้รับการแก้ไขทันตาเห็นรวดเร็ว ตรงนั้นต้องพิจารณาร่วมกัน  เราให้สร้าง หรือคัดค้านความเจริญแบบหัวชนฝาไม่ได้  อะไรไม่ดีไม่งามต้องได้รับการแก้ไขเยียวยา”  นายวิโรจน์กล่าว

ด้านนายคณิต  เจือจาง รองประธานสภาเกษตรกร จ.ปราจีนบุรี   กล่าวว่า  อีอีซี.เป็นการพัฒนาแต่ในเวลาเดียวกันเราต้องคำนึงถึงว่า การพัฒนามันต้องมีความพร้อมด้วย   ถ้าไม่พร้อมมันจะต้องมีปัญหาแน่นอนได้รับการต่อต้านเพราะว่าสิ่งที่มันคาราคาซังกันอยู่ 

ในภาคการเกษตรทรัพยากรธรรมชาติเกี่ยวกับน้ำ   น้ำเพื่อภาคเกษตรเรายังไม่พอใช้ถ้าเกิด eec. มันหมายถึงอุตสาหกรรมที่มันต้องลงมานี้เขาก็คงต้องใช้น้ำจำนวนมาก   กังวลว่าจะเกิดปัญหาและในเวลาเดียวกันถ้า eec .ลงมาประกอบด้วยผู้คน การอยู่การกินสารพัดทุกอย่างจะมากขึ้น  สิ่งที่จะรองรับจะเป็นอย่างไร

ผลอีอีซี.ถ้าเน้นไปทางอุตสาหกรรม  พวกกากสารพิษสารเคมีอะไรต่างๆที่มันตกค้าง ปัจจุบันยังมีอยู่ยังแก้ไม่ได้ถ้า EEC มาด้านอุตสาหกรรมเรามีความกังวลด้านการเกษตรมีความกังวลมีขยะท่วมมีสารเคมีปนเปื้อนภาคการเกษตร หรือไม่  อันนี้เป็นเรื่องการกังวลในฐานะที่อยู่ภาคเกษตร   เห็นพี่น้องทางการเกษตรมีความกังวลมีปัญหาเข้ามา   ภาคการเกษตร ปัญหาน้ำเสีย ปลาตาย  ผลไม้ปนเปื้อน

 อยากให้ eec. ตระหนัก และทบทวน   เราไม่ปฏิเสธเรื่องการพัฒนาแต่ขอให้จัดสถานที่จัดให้พื้นที่ปราจีนบุรีให้พร้อมเสียก่อนน่าจะดีกว่า นายคณิต  กล่าว

โดย... มานิตย์ สนับบุญ -ข่าว/ณัฐนันท์ – จุฑารัตน์ - ภาพ/ ปราจีนบุรี ###