ผู้ใหญ่บ้านหนองคลอง เลี้ยงตั๊กแตนปาทังกา รายได้งาม เป็นแบบอย่างให้ลูกบ้านด้วย

3 มิถุนายน 2566

ผู้ใหญ่บ้านหนองคลอง เลี้ยงตั๊กแตนปาทังกา รายได้งาม เป็นแบบอย่างให้ลูกบ้านด้วย





ad1

ผู้ใหญ่บ้านหนองคลอง เลี้ยงตั๊กแตนปาทังกา รายได้งาม เป็นแบบอย่างให้ลูกบ้านอีกด้วย

เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2566 ผู้สื่อข่าว ได้เดินทางไปที่ บ้านหนองคลอง หมู่11 ต.วัฒนานคร อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว เป็นบ้านของนางอัมพร บุญพิลา ผู้ใหญ่บ้านหนองคลอง พบมีการเลี้ยงตั๊กแตนปาทังกา จำนวน 4 โรงเรือนขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร แต่ละโรงเรือน มีตั๊กแตนไม่ต่ำกว่า หมื่นตัว

นางอัมพร บุญพิลา ผู้ใหญ่บ้านหนองคลอง กล่าวว่า เมื่อต้นเดือน พฤษภาคม 2566 ได้ซื้อไข่ตั๊กแตนปาทังกาจาก พาร์มเลี้ยงตั๊กแตนปาทังกาที่จังหวัดอุดรธานี จำนวน 100 กรัม หรือน้ำหนัก 1 ขีด ในราคา 1,000 บาท และได้ทำการเพาะเลี้ยงในโรงเรือน ที่คลุมด้วยตาข่ายพลาสติกสีเขียว ขนาด กว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร หลังจากซื้อไข่ตั๊กแตนปาทังกา จำนวน 1 กล่อง นำมาวางไว้ในโรงเรือน โดยเปิดฝากล่องออก รดน้ำพอชื้นๆ

จากนั้น เอากล่องที่ใส่ไข่ตั๊กแตนไว้ในถุงกระสอบ จากนั้นอีก 7 วัน ไข่ตั๊กแตนได้ฟักตัวอ่อนออกมา ไต่ยั้วเยียะ ออกจากมาจากกล่อง มีขาดเล็ก มีสีดำๆ จึงเอาใบตองกล้วยสดไปวางไว้ใกล้กับกล่อง ลูกอ่อนตั๊กแตนกระโดดมากัดกินใบตอง และใส่ใบตองให้กิน 2 เวลา เช้ากับเย็น หรือเมื่อเห็นว่าใบตองเริ่มหมดก็ใส่ไปใหม่ ทุก 2 วัน จะต้องเก็บขี้ตั๊กแตนออก เพื่อให้โรงเรือนสะอาด โดยขี้ตั๊กแตนสามารถนำไปเลี้ยงปลาหรือทำเป็นปุ๋ยได้อีกด้วย หากขายเป็นปุ๋ยจะขายถุงละประมาณ 50 บาท เมื่อเลี้ยงตั๊กแตนระยะเวลาเพียง 30 กว่าวัน

ตั๊กแตนปาทังกา มีขนาดเกือบเท่านิ้วก้อย ตัวผู้เริ่มมาเกาะหลังตัวเมียเพื่อผสมพันธุ์ โดยตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย เพื่อผสมพันธุ์โดยตัวผู้จะเกาะหลังตัวเมียตลอดเวลากระทั่งวางไข่และก็ตายไป ตนในฐานะที่เป็นผู้ใหญ่บ้าน ได้ทำเป็นแบบอย่างในการประกอบอาชีพ ด้านการเกษตรโดยการเพาะเลี้ยงตั๊กแตนปาทังกา โดยใช้สถานที่เพาะเลี้ยงตั๊กแตนปาทังกา ที่บริเวณหลังบ้านเป็นแหล่งเรียนรู้ ในการเพาะเลี้ยงตั๊กแตน สำหรับลูกบ้านหรือผู้ที่สนใจ สามารถศึกษาหาความรู้ได้ โดยติดต่อได้ที่ เบอร์มือถือ 065-9208492

ด้านนายประเสริฐ บุญพิลา สามีนางอัมพร บุญพิลา กล่าวว่า การเลี้ยงตั๊กแตนปาทังกา ได้ทำเป็นฟาร์มเล็กๆ ในครัวเรือน โดยศึกษาจากผู้ที่เคยเลี้ยงมาก่อน หลังจากได้เลี้ยงตั๊กแตนปาทังกา มากว่า 2 เดือน สามารถเก็บไข่ตั๊กแตนไปขายให้กับลูกค้า ไม่ต่ำกว่า 5 กิโลกรัม โดยขายกิโลกรัมละ 10,000 บาท แต่ส่วนใหญ่ลูกค้าจะซื้อครั้งละ 1 ขีด หรือ 100 กรัม ในราคาขีดละ 1,000 บาท โดยจะจัดเก็บไว้ในกล่องเพาะไข่ โดยเฉพาะ เมื่อลูกค้าได้รับ จะนำกล่องเพาะไข่ ไปรดน้ำพอชุ่ม ทิ้งไว้ในกระสอบ ประมาณ 7 วันไข่ตั๊กแตนจะฟักเป็นตัวอ่อน ส่วนตั๊กแตนปาทังกาตัวเป็นๆ สามารถขายได้ในราคากิโลกรัมละ 400 บาท จะมีพ่อค้ามารับซื้อ มีไม่พอขาย เนื่องจากตลาดการค้าจำพวกแมลงที่กินได้ โดยเฉพาะตั๊กแตนปาทังกา มีตลาดรับซื้อไม่อั้น จึงเป็นโอกาสดีสำหรับเกษตรกร สามารถหันมาเพาะเลี้ยงตั๊กแตน มีรายได้งาม แก้จนได้อีกด้วย

ส่วนนายอดิศร อินทรสูต ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหนองคลอง กล่าวว่า ตนพร้อมด้วยคุณพ่อและคุณแม่ ซึ่งเป็นพ่อตาแม่ยาย พร้อมภรรยา ได้ทำการเพาะเลี้ยงตั๊กแตนปาทังกา ภายในครอบครัว สามารถสร้างรายได้ ต่อเดือนหลายหมื่นบาท โดยเฉพาะในเดือน พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมาสามารถขายไข่ตั๊กแตนปาทังได้ไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นบาท ซึ่งได้ทำการลงทุนทำโรงเรือน ไม่เกิน 6,000 บาท ส่วนใบตองกล้วยที่ใช้เป็นอาหารตั๊กแตนปาทังกา ก็สามารถหาได้ทั่วไป ซึ่งเจ้าของสวนกล้วยให้เข้าไปตัดได้เลย เพียงทำการตัดตกแต่งต้นกล้วยให้เขาด้วย

โดยปกติแล้วตั๊กแตนปาทังกา จะไม่ต้องให้น้ำแต่อย่างใด เพราะน้ำได้จากใบตองกล้วยอยู่แล้ว สำหรับนิสัยของตั๊กแตนปาทังกา จะชอบอากาศร้อน และขอบแดดจัด ไม่ชอบอากาศเย็น ดังนั้นโรงเรือนจึงทำหลังคาให้มีแดดส่องถึง โดยใช้พลาสติกสีใสคลุม ถ้าเป็นโรงเรือน ที่แข็งแรงหลังคาต้องเป็นหลังคา มุงด้วยสังกะสีที่เป็นพลาสติกใส มุงสลับกับสังกะสีทึบ ให้บางส่วนมีแสงแดดส่องถึงบางส่วนบังแสงแดด และรอบข้างโรงเรือนจะมีตาข่ายระบายอากาศได้ ให้ภายในมีอุณภูมิประมาณ 30 องศา

สำหรับอาหารของตั๊กแตนปาทังกา นอกจากเป็นใบตองกล้วยแล้ว ยังเป็นใบข้าวโพด หรือหญ้าที่มีใบขนาดใหญ่เช่นหญ้า เนเปีย สามารถเลี้ยงตั๊กแตนได้เช่นกัน นายอนุศร ฯ กล่าวอีกว่า เมื่อตั๊กแตนโตเต็มวัย ประมาณ 30 วัน ตั๊กแตนตัวผู้จะเกาะบนหลังตัวเมีย เพื่อผสมพันธุ์ จะเกาะหลังตัวเมียตลอดไป ตัวเมียไปไหนไปด้วย จากนั้น ตัวเมียจะหาที่วางไข่ โดยจะทำกระบะทราย หลายๆ กระบะ วางรอบๆ ภายในโรงเรือน ตัวเมียจะขุดดินทราย แย่ก้นลงใต้ทราย

จากนั้นจึงวางไข่ จะมีลักษณะเป็นแท่งๆ ยาวๆ และมีไข่อยู่ด้านใน เมื่อวางไข่เสร็จแล้ว ตัวเมียจะใช้ขาคุ้ยดินกลบ โดยที่ตัวผู้ยังเกาะอยู่หลัวตัวตลอดเวลา กระทั่งตายไป การเลี้ยงตั๊กแตนปาทังกา จึงเป็นหนทางใหม่ของเกษตรกร ที่จะสามารถสร้างรายได้ อย่างเป็นกอบเป็นกำ นำไปสู่การสร้างรายได้ที่ยั่งยืน เพราะตลาดยังต้องการ อย่างไม่มีขีดจำกัดอีกด้วย