สัมภาษณ์พิเศษ.."ศักดิ์โกศล สิงหบุตร" ผู้สนองงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัว รัชกาลที่ 9 ผ่านโครงการสหประชาชาติ-สถานีโครงการหลวง(2516) ณ ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่

ศักดิ์โกศล

สัมภาษณ์พิเศษ.."ศักดิ์โกศล สิงหบุตร" ผู้สนองงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัว รัชกาลที่ 9 ผ่านโครงการสหประชาชาติ-สถานีโครงการหลวง(2516) ณ ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่





Image
ad1

สัมภาษณ์พิเศษ
โดย..วิชชุดาดวงพรหม

"ศักดิ์โกศล สิงหบุตร" ในอดีตท่านเคยสนองงานในหลวง รัชกาลที่ 9 ผ่านโครงการพระราชดำริโครงกาสหประชาชาติ  ประจำสถานีโครงการหลวงบ้านขุนวาง -บ้านผาหมอน ณ ดอยอินทนนท์ )  จ.เชียงใหม่ ..ในโอกาสนี้ จึงขอนำคำสัมภาษณ์..มาถ่ายทอดให้ทุกท่านได้ทราบดังนี้ 

                                        "

ในช่วงที่ผมมาปฏิบัติราชการร่วมกับโครงการหลวง..ภายใต้การกำกับดูแลของหม่อมเจ้าภีศเดชรัชนี เป็นผู้อำนวยการโครงการหลวง ..ท่านภีฯเป็นผู้ที่มีบุญคุณต่อผมมาก..ได้กราบทูลในหลวงร.๙ ทราบชื่อและผลงานดีเด่น..ในปี 2518 ขณะที่ผมกำลังกราบทูลถวายรายงาน ..ท่านภีร์ได้ทูลในหลวงว่า ผมเพิ่งแต่งงาน ..พระองค์ได้หยิบธนบัตรวางบนผ้าเช็ดหน้า สีขาวพระราชทานเป็นของขวัญ นับเป็นพระมหาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้..และในปี2523 ผมได้รับพระราชทานเหรียญ รัตนาภรณ์ชั้นที่๕ เป็นเครื่องเชิดชูปรากฎความที่ทรงพระมหากรุณาสืบไป..นับเป็นภาคภูมิใจของผมและวงค์ตระกูลอย่างหาที่สุดมิได้.ทั้งนี้ด้วยความเมตตาจากท่านภีร์โดยแท้
                                      "    

(เนื้อเรื่อง)
หากย้อนไปเมื่อ 51 ปีที่ผ่านมา "ศักดิ์โกศล สิงหบุตร" คือเด็กหนุ่มในวัย 20 ปี ผู้มีความใฝ่ฝันอยากจะรับใช้ประเทศชาติ ในสายอาชีพที่ได้ร่ำเรียนมา
...หลังจากเรียนจบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)ด้านการเกษตร จากวิทยาลัยและโทคโนโลยีการเกษตร จ.ชัยภูมิเมื่อปี 2513..จึงสมัครสอบส่วนราชการสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

"..โชคดี!!ผมสอบได้และได้รับการบรรจุในตำแหน่งพนักงานเกษตรจัตวา ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดเชียงใหม่!!
..ผมทำงานที่ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาได้ 2 ปี ทางกรมได้รับคำสั่งให้ไปปฎิบัติหน้าที
"โครงการสหประชาชาติ ประจำสถานีโครงการหลวง บ้านขุนวาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่"

@สถานีโครงการหลวง บ้านขุนวาง  อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ .(2516 -2517)

...ภายใต้การกำกับดูแลของ "หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี" ผู้อำนวยการโครงการหลวง(พระสหายของในหลวงรัชการที่ 9)
..ก่อนเข้าปฎิบัติหน้าที่..ผมได้ศึกษางานสถานีโครงการหลวงอย่างละเอียด  ทำให้ผมรู้ว่า โครงการหลวง(Royal project) เป็นโครงการส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาวแก่ชาวเขา ตั้งขึ้นเมื่อปี 2512 ในนาม "โครงการหลวงพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา" มีวัตถุประสงค์
1)ช่วยชาวเขาเพื่อมนุษยธรรม  2)ช่วยชาวไทยโดยลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ คือ ป่าไม้และต้นน้ำลำธาร 3)กำจัดการปลูกฝิ่น 4)รักษาดิน และใช้พื้นที่ให้ถูกต้อง คือ ให้ป่าอยู่ส่วนที่เป็นป่า และทำไร่ ทำสวน ในส่วนที่ควรเพาะปลูก อย่าให้สองส่วนนี้รุกล้ำซึ่งกันและกัน. ต่อมาในปีพ.ศ. 2515 องค์การสหประชาชาติได้เห็นความสำคัญของการปลูกพืชทดแทนฝิ่นจึงให้การสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ UN/Thai Program for Drug Abuse Control. โดยมีหม่อมเจ้า ภีศเดช รัชนี ผู้อำนวยการโครงการหลวงพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา .เป็นผู้อำนวยการโครงการสหประชาชาติอีกตำแหน่งหนึ่ง 

..."ผมตั้งปณิธานว่าจะขอถวายงานในหลวงจนสุดชีวิต" ..โดยงานช่วงแรก มีปัญหาในการเดินทางขึ้นไปปฎิบัติหน้าที่..ตอนนั้นถนนยังไม่มี ไฟฟ้ายังไม่เข้า ต้องเดินด้วยเท้าอย่างเดียวพร้อมเป้สพายเสบียงอาหารแห้งเช่น ปลากระป๋อง มาม่าเป็นต้น..ระยะทางเดิน 12 กม.ถึง 15 กม

..ที่สถานีโครงการหลวง-บ้านขุนวาง ตอนนั้นดร.อนันต์อิสระเสนีย์ เป็นหัวหน้าสถานีขุนวาง ส่วนผมเป็นเจ้าหน้าที่ฯ..ผมเริ่มปฏิบัติงานบุกเบิกโครงการฯโดยประสานงานกับกรมพัฒนาที่ดิน..นำแทรกเตอร์ขึ้นไปปรับพื้นที่โครงการฯ ทำแปลงสาธิต..ปรับพื้นที่แล้วจึงเริ่มนำพืชเมืองหนาวอาทิ กาแฟ (พันธุ์อาราบีก้า) อะโวคาโด้ พลับ บ๋วย  มะม่วง ลงปลูกในแปลงสาธิต บนพื้นที่ 20ไร่

..ระหว่างดำเนินงานแปลงสาธิต ในหลวง ร.9 ทรงเสด็จดอยอินทนนท์ ทรงดูความคืบหน้าของสถานีโครงการหลวงทุกสถานีได้แก่ บ้านขุนวัง อ.สันป่าตอง /บ้านพุ๋ย อ.แม่แจ่ม /บ้านแม่โถ อ.ฮอด /บ้านสามหมื่น อ.เชียงดาว/บ้านแม่สาใหม่ อ.แม่ริมและบ้านผานกก่ก อ.แม่ริม
..ในหลวงรับสั่งว่า
"ช่วยกันทำให้สำเร็จปีหน้าฉันจะมาดู"  
..ในปีต่อมา(2517).. พืชยืนต้นที่ปลูกเริ่มเจริญงอกงาม..ในหลวงเสด็จดอยอินทนนท์อีกครั้ง
..เห็นความเปลี่ยนแปลง ทรงรับสั่งว่า    "ใช้ได้..ใช้ได้..ต่อไปให้ปลูกพืชระยะสั้นด้วย"  

..หม่อมเจ้า ภีศเดชฯ ได้นำพันธุ์พืชเกษตรผักอายุสั้นมาให้ปลูกในแปลงสาธิต..ปรากฏว่าได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ..
...จากนั้นผมได้รับหน้าที่ให้นำความรู้ไปแนะนำชาวบ้านให้ปลูกพืชเกษตรเมืองหนาวทดแทนการปลูกฝิ่น..อาทิแนะนำให้ปลูกกาแฟและพื้นอายุสั้นได้แก่ กล่ำ ถั่วลันเตา ผักกาดหัวและผักสลัด..โดยพาชาวบ้านไปดูแปลงสาธิต..ให้คำแนะการปลูก การบำรุงรักษา ตลอดถึงการหาตลาดรับซื้อให้
...เมื่อชาวบ้านกลับมาทดลองปลูกในพื้นที่ของตน พืชผลงอกงามดี ระยะแรกนำมาบริโภคในครัวเรือน.

@ตำแหน่งหัวหน้าสถานีหลวง-บ้านผาหมอน อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
...ในปี2518 ผมได้รับการแต่งตั้งเป็น"หัวหน้าสถานี บ้านผาหมอน"..มุ่งสนองงานโครงการหลวง..ผมได้นำหลักการและตัวอย่างโครงการหลวงเกษตรบ้านขุนวังมาสู่บ้านผาหมอน ตลอดจนประชาสัมพันธ์โครงการหลวงเข้าสู่หมู่บ้านชาวผาหมอน ด้วยวัตถุประสงค์ ทำให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่นหันมาปลูกพืชเกษตร ส่งเสริมให้กินดีอยู่ดีพอสมควรและจัดหาตลาด มุ่งสร้างรายได้ให้ขาวเขา นับว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก
..ต่อมาได้ขยายโครงการหลวงฯครอบคลุมพื้นที่เขตผาหมอน ได้แก่/ชุมชนบ้านหนองหล่ม,
/แม่กาหลวง/อ่างกาน้อย/ฝายหม่อนใหม่ 

ในช่วงบุกเบิก พระเจ้าอยู่หัวฯทรงเสด็จฯสถานีบ้านผาหมอน เป็นครั้งแรก
"..ผมได้กราบทูลถวายรายงานฯลฯ จากนั้นท่าน
ภีร์ฯได้ทูลในหลวงว่า ศักดิ์โกศลเพิ่งแต่งงานฯล
.."ในหลวงทรงหยิบธนบัตรวางบนผ้าเช็ดหน้าสีขาวทรงพับผ้าเช็ดหน้า พระราชทานเป็นของขวัญ"
ผมกราบเบื้องยุคคลบาท รู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้.

#โครงการพระราชดำริ "ธนาคารข้าว"
..โครงการปลูกพืชเกษตรโครงการหลวงประสพความสำเร็จ ชาวเขามีความเป็นอยูดีขึ้น ผลผลิตสามารถสร้างรายได้สู่ทุกครัวเรือน
...สถานีโครงการหลวง บ้านผาหมอนได้สนองงานโครงการพระราชดำริ "ธนาคารข้าว" ..โดยเริ่มจากเงินพระราชทาน เป็นจำนวน 8,000 บาท
"ผมได้นำเงินไปซื้อข้าวหอมมะลิที่อ.จอมทอง นำมาแจกจ่ายให้กับชาวเขาทุกหมู่บ้าน..โดยให้แต่ละหมู่บ้านจัดทำ"ธนาคารข้าว" มีคณะกรรมการหมู่บ้านคอยดูแล
..ผลผลิตข้าวของธนาคารข้าว มีหลักการว่า..ในช่วงฤดูนาดำ ชาวบ้านจะขาดแคลนข้าวไว้บริโภค ก็สามารถมายืมข้าวของธนาคารข้าวได้..เมื่อชาวบ้านทำการเก็บเกี่ยวข้าวได้ก็จะนำข้าวมาคืนโดยกำหนดว่า ยืมข้าวจำนวน 10 ถัง นำมาคืนจำนวน 11 ถัง ส่วนที่เกินเป็นดอกผลที่ธนาคารข้าวจะได้รับ..นับว่าประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง

#โครงการพระราชดำริ "ส่งน้ำด้วยไม้ไผ่"
..โดยการต่อน้ำจากต้นน้ำผาหมอนมายังสถานีโครงการหลวง..และต่อจากสถานีฯเข้าหมู่บ้านผาหมอน (จนถึงปัจจุบัน)
..นับว่าเป็นที่ฮือฮาของชาวบ้านเป็นอย่างมากที่สามารถนำไม้ไผ่มาทำประโยชน์อย่างคาดไม่ถึง
..โครงการฯนี้สำเร็จด้วยอาจารย์ คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ขึ้นไปสอนถึงสถานีโครงการหลวง..โดยใช้อุปกรณ์ตามแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน
อาทิ นำยางรถยนต์มาเผาทำเป็นกาวเพื่อนำมาติดข้อต่อไม่้ไผ่แต่ละส่วนฯลฯ

ในปี 2519 ในหลวงฯทรงเสด็จทอดพระเนตรขบวนการส่งน้ำจากไม้ไผ่..พระองค์ทรงรับสั่งว่า"ให้ขยายไปยังหมู่บ้าอื่นๆด้วย"

#โครงการพระราชดำริ                                              "ทำถนนเข้าชุมชนบ้านผาหมอน"

..ผมเริ่มดำเนินการพัฒนาถนนเจ้าสู่สถานีโครงการหลวงขึ้น 3 เส้นทาง โดยการประสานกับกรมชลประทานเพื่อดำเนินงาน
..สายที่ 1..เริ่มจากกม.15 เข้าไปถึงสถานี จากสถานีฯเข้าสู่หมู่บ้านผาหมอน เป็นระยะทาง 7ก.ม.
..สายที่ 2..แม่กาหลวง อ.จอมทอง เป็นระยะทาง 11 ก.ม.
..สายที่ 3 เส้นทางเข้าบ้านอ่างกาน้อย เข้าหมู่บ้าน ระยะทาง 3 ก.ม.
...หลังจากทำถนนเข้าทุกหมู่บ้านแล้ว ส่งผลให้พ่อค้าสามารถนำรถขึ้นไปรับซื้อผลผลิตผลไม้และพืชผักจากชาวบ้านได้โดยตรง..ผ่านกรรมการหมู่บ้านที่คอยดูแลเรื่องราคารับซื้อและเช็คตราชั่ง ไม่ให้มีการโกงเกิดขึ้น. 

ในปี 2523 กาแฟดอยอินทนนท์สามารถทำการส่งออกได้โดยผ่านพ่อค้าคนกลาง..ทำให้ชาวบ้านมีรายได้ กว่า 20,000 บาทต่อ 1 ไร่(ผลดิบ)
"ในปีนี้เอง!!..ผมได้รับพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ชั้นที่๕ (16 ก.พ.23 ) จากพระหัตถ์ฝในหลวง ณ.พระตำหนักภูพิงศ์ราชนิเวชจังหวัดเชียงใหม่ เป็นเครื่องเชิดชูปรากฎความที่ทรงพระมหากรุณาสืบไป"
..รวมระยะเวลาทำงานที่สถานีผาหมอนเป็น เวลา10 ปี 

@เมื่อถูกถามว่า 10 ปีที่ได้สนองงานในหลวงประทับใจอย่างไรบ้าง??
...ท่านศักดิ์โกศล ได้กล่าวด้วยน้ำเสียงที่แสดงความปลื้มปิติว่า..ในช่วงที่ผมมาปฏิบัติราชการร่วมกับโครงการหลวง..ภายใต้การกำกับดูแลของหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ..ท่านเป็นผู้ที่มีบุญคุณต่อผมมาก
..ได้กราบทูลในหลวงร.๙ ทราบชื่อและผลงานดีเด่น..ได้คัดเลือกผมให้เป็นผู้ถวายรายงานตลอด 10 ปี .ท่านภีร์ได้ทูลในหลวงทำให้ผมได้รับพระราชทานของขงัญแต่งงานและได้รับพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ชั้นที่๕ จากพระหัตถ์ของในหลวง ฯ..นับเป็นภาคภูมิใจของผมและวงค์ตระกูลอย่างหาที่สุดมิได้.ทั้งนี้ด้วยความเมตตาจากท่านภีร์โดยแท้.

หลังจากปี2528 ท่าน"ศักดิ์โกศล สิงหบุตร"ได้ย้ายไปรับราชการนที่สูงขึ้นในจ.เชียงใหม่ โดยเป็นหัวหน้าเขตพัฒนาพื้นที่บ้านมูเซ-บ้านสามหมื่น จากนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นระดับ5 สำนักงานประชาสงเคราะห์ ที่จ.ขอนแก่น..ต่อมาได้ย้ายไปรับตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานประชาสงเคราะห์ระดับ๖(หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป๖)สำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัดสกลนครก่อนที่จะขอลาออกจากราชการในปี 2547

..โดยรพหว่างรับราชการ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทยชั้นที่๓ถตริยาภรณ์          (2536) /..ในปี 2541ได้รับพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา และรับพระราชทานเครื่องราชอิสรียาภรณ์ช้างเผือกชั้นที่๓ ถตริตราภรณ์.เป็นเกียรติประวัติสืบไป.