สมุทรปราการ สมาคมชาวปักษ์ใต้ ในพระบรมราชูปถัภ์ เชิญร่วมสืบสารประเพณีสารทเดือนสิบ ประจำปี 2566

สมุทรปราการ สมาคมชาวปักษ์ใต้ ในพระบรมราชูปถัภ์ เชิญร่วมสืบสารประเพณีสารทเดือนสิบ ประจำปี 2566





ad1

นายกำพล สุจริตธุรการ ประธานจัดงานสารทเดือนสิบ ของสมาคมชาวปักษ์ใต้ ในพระบรมราชูปถัภ์ชาวใต้สมุทรปราการ  เชิญประชาชนร่วมงานสืบสารประเพณีสารทเดือนสิบ ประจำปี 2566 เผยว่าสมาคมชาวปักษ์ใต้ ในพระบรมราชูปถัภ์  จัดงานประเพณีสารทเดือนสิบที่วัดบางนาเกรงสมุทรปราการ ถนนสุขุมวิท ตำบลบางเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ จึงเชิญชวนพี่ๆน้องๆร่วมทำบุญการกุศล บุญนั้นคือบุญใหญ่ เงินรายได้ที่ได้รับหลังหักจากค่าใช้จ่ายแล้วมอบให้กับทางวัดและโรงเรียนทั้งหมด  ปีนี้ได้รับเกียรติเป็นประธานจัดงาน จึงได้จัดกิจกรรมร่วมทำบุญ เพื่อสมทบทุนในครั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม  ถึงวันที่ 8 ตุลาคม 2566 มีนายศุภมิตร ชิณศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการเป็นประธานกิตติมศักดิ์

โดยปีนี้ก่อนจะมีพิธีทางศาสนา ชิงเปรต ได้มีพระนักเทศจากพังงาพระทองแดงแหลงใต้ พระใบฎีกาปิยะเทศนา ภายในงานมีการรำมโนราห์ จากสุวิทย์ หอมกลิ่น สวนศิลป์จากจังหวัดพัทลุงมารำแสดงโนราห์ให้ชม พบวงคาราบาว (ก๊อปปี้ใชว์) เอกชัย ศรีวิชัย(เต็มวง)

     ประวัติความเป็นมาวันสารทไทย เป็นวันทำบุญกลางปีของคนไทย ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ ขึ้น 10 หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "วันสารทเดือนสิบ" หรือ "ประเพณีทำบุญเดือนสิบ" ซึ่งในแต่ละภาคจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันภาคเหนือเรียกงานตานก๋วยสลาก ภาคกลางเรียกวันสารทไทย ภาคอีสาน เรียกงานทำบุญข้าวสาก และภาคใต้เรียกงานบุญเดือนสิบ, ประเพณีชิงเปรต

วันสารทไทยได้รับอิทธิพลมาจากคติอินเดีย เมื่อไทยรับเข้ามาใช้เป็นส่วนหนึ่งของประเพณีท้องถิ่นมีความยึดโยงกับความเชื่อเรื่องสังคมเกษตรกรรมและบรรพบุรุษ โดยเชื่อว่าการทำบุญให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือ จะช่วยดลบันดาลให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข ฝนฟ้าตกตามฤดูกาล พืชพรรณธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตที่พอใจ แต่หากไม่เคารพบรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็จะได้รับผลที่ตรงข้ามกันนั่นเองจากหลักฐานในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เชื่อว่า ประเพณีวันสารทไทยมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ส่วนสาเหตุที่สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียและคติพราหมณ์ เนื่องจากในอดีตช่วงวันสารทที่จัดในเดือน 10 เมื่อเทียบกับช่วงฤดูเก็บเกี่ยวของไทยแล้ว พบว่าเป็นช่วงที่ข้าวยังไม่สุก ไม่ใช่ฤดูเก็บผลผลิตของไทย จึงไม่สามารถทำขนมกระยาสารทขึ้นมาโดยใช้ผลผลิตในช่วงนั้นได้

​​​​​​​

เมื่อเป็นเช่นนั้น คนไทยจึงดัดแปลงด้วยการนำข้าวสารเก่า ผสมกับถั่วและงา เพื่อใช้ทำขนมกระยาสารท สำหรับบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทวดา และผีสาง ที่คอยปกป้องคุ้มครองแทนนั่นเอง ต่อมาเมื่อคนไทยหันมานับถือศาสนาพุทธ จึงนิยมทำบุญกับพระสงฆ์ เพื่ออุทิศบุญส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษ รวมถึงผู้ตายที่ตกเป็น "เปรต" ให้ได้มีโอกาสมารับส่วนบุญในวันทำบุญสารทเดือนสิบนั่นเอง ซึ่งคนใต้จะเรียกวันนี้ว่า "วันทำบุญชิงเปรต" นั่นเอง โดยจะต้องมีการจัดสำรับอาหาร ผลไม้ ขนมพอง ขนมลา ฯลฯ นำไปทำบุญ เพื่อหวังให้ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว ได้รับผลบุญในช่วงเทศกาลดังกล่าว