อัยการสูงสุดสั่งฟ้อง “ชัยวัฒน์” ข้อหา “ร่วมกันฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน” ต่อ “บิลลี่” ชาวกะเหรี่ยงบางกลอย ที่หายตัวไปตั้งแต่ปี 2557 

อัยการสูงสุดสั่งฟ้อง “ชัยวัฒน์” ข้อหา “ร่วมกันฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน” ต่อ “บิลลี่”

อัยการสูงสุดสั่งฟ้อง “ชัยวัฒน์” ข้อหา “ร่วมกันฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน” ต่อ “บิลลี่” ชาวกะเหรี่ยงบางกลอย ที่หายตัวไปตั้งแต่ปี 2557 





ad1

คดีการหายตัวไปของ “บิลลี่” หรือ นายพอละจี รักจงเจริญ ชาวกะเหรี่ยงในป่าแก่งกระจาน หรือที่ภานหลังรู้จักกันในชื่อ “บ้านบางกลอย” ตั้งแต่ 17 เมษายน 2557 ผ่านไปกว่า 8 ปีแล้ว และวันนี้ได้เปลี่ยนสถานะจากคดี “คนหาย” ไปเป็นคดี “ฆาตกรรม” อย่างเป็นทางการในที่สุด 

ล่าสุด (15 สิงหาคม 2565) มีเอกสารจากสำนักงานอัยการสูงสุด ส่งถึง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI ลงนามโดยนายกุลธนิต มงคลสวัสดิ์ อธิบดีอัยการ สำนักงานชี้ขาดคดีอัยการสูงสุด ปฏิบัติราชการแทนอัยการสูงสุด ยืนยันแล้วว่า อัยการการสูงสุด ได้ลงนามในความเห็นสั่งฟ้องนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร และพวกรวม 4 คน โดยหนึ่งในนั้นเป็นข้อหา “ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน” คือ นายพอละจี รักจงเจริญ หรือ “บิลลี่” แล้ว ในวันที่ 10 สิงหาคม 2565 

โดยข้อหาที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งวฟ้องนายชัยวัฒน์ และพวกรวม 4 คน คือ 

1. ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและเพื่อจะเอาหรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแก่ตามที่ตนได้กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตนหรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนกระทำไว้ 

2. ร่วมกันโดยมีอาวุธข่มขืนใจโดยให้ผู้อื่นกระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใดโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเอง

3. ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นหรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกายเป็นเหตุให้ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวถูกกักขังหรือต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกายนั้นถึงแก่ความตาย

4. ร่วมกันทุจริตหรืออำพรางคดี กระทำการใดๆแก่ศพหรือสภาพแวดล้อมในบริเวณที่พบศพก่อนการชันสูตรพลิกศพเสร็จสิ้น ในประการที่น่าจะมำให้การชันสูตรพลิกศพหรือผลทางคดีเปลี่ยนแปลงไป

ส่วนข้อหาที่อัยการ “สั่งไม่ฟ้อง” นายชัยวัฒน์และพวก คือ ไม่ฟ้องในข้อหาเป็นเจ้าพนักงานของรัฐปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เนื่องจากมองว่า ในขณะที่เกิดเหตุไม่ได้อยู่ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานของรัฐแต่กระทำในฐานะส่วนตัว และสั่งไม่ฟ้อง “เอกชน” อีก 1 คน ในข้อหาเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน ซึ่งเชื่อมโยงกับข้อหาก่อนนี้ 

การหายตัวไปของชายชาวกะเหรี่ยงคนหนึ่ง ที่ต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิในการอยู่อาศัยในที่ดินที่อยู่กันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ใช้เวลาเดินทางยาวนานกว่า 8 ปี ในที่สุดก็กลายเป็นคดีฆาตกรรม ทำให้หนึ่งชีวิตของเขา มีโอกาสที่จะไปพิสูจน์ความจริง เรียกร้องถามหาความยุติธรรมในชั้นศาลซะที