ขอช่วยกันประหยัดพลังงาน นายกฯ ชี้สถานการณ์คงไม่สิ้นสุดในเวลาอันใกล้ 

นายกฯ ขอช่วยกันประหยัดพลังงาน

ขอช่วยกันประหยัดพลังงาน นายกฯ ชี้สถานการณ์คงไม่สิ้นสุดในเวลาอันใกล้ 





ad1


ท่ามกลางวิกฤติพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2565 ที่ประชุม ครม. มีมติทยอยขึ้นราคา “แก๊สหุงต้ม” ถังละ 15 บาท ต่ออีก 3 เดือน ในขณะที่คำแนะนำให้ประชาชนหันไปใช้ "เตามหาเศรษฐี" ที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พัฒนาขึ้นมาทดแทน “เตาอั้งโล่” ตามท้องตลาดทั่วไป เอาเข้าจริงอาจไม่ช่วยประหยัด แถมสร้างความยุ่งยากวุ่นวาย หลายขั้นตอนในการทำอาหาร นับเป็นประเด็นร้อนแรงที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในช่วง 2 วันที่ผ่านมา
.
▪️ เทียบค่าความร้อนจากการเผาเชื้อเพลิง “เตามหาเศรษฐี vs เตาแก๊ส”
.
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ยืนยันว่า "เตามหาเศรษฐี" มีประสิทธิภาพเชิงความร้อนมากกว่าเตาอั้งโล่ตามท้องตลาดถึง 29% หากตามบ้านเรือนหันมาใช้ จะสามารถประหยัดไม้ฟืนและถ่านที่นำมาเป็นเชื้อเพลิงได้ถึง 500-600 บาท/ครัวเรือน/ปี และช่วยลดการใช้แก๊ส LPG ในครัวเรือน เนื่องจากมีคุณสมบัติเด่นให้ความร้อนสูง อุณหภูมิกลางเตาประมาณ 1,000-1,200 องศาเซลเซียส จึงประหยัดถ่านกว่าเตาอั้งโล่ท้องตลาด 30-40%
.
อย่างไรก็ตาม ได้มีการคำนวณค่าใช้จ่ายการใช้เตามหาเศรษฐีเทียบกับเตาแก๊ส โดยผู้ใช้เฟสบุ๊กชื่อว่า Tanawat Likitkererat คำนวณเปรียบเทียบค่าความร้อนที่ได้ จากการเผาเชื้อเพลิง 1 กิโลกรัม ใจความสำคัญระบุว่า เมื่อเอาราคาต่อกิโลกรัมมาคำนวนราคาความร้อนที่ได้ต่อเงิน 1 บาท พบว่า เตามหาเศรษฐีให้ความร้อน 142.05 kcal/บาท ส่วนเตาแก็สธรรมดาให้ความร้อน 199.87 kcal/บาท จึงตั้งคำถามว่า “ประหยัดกว่าตรงไหน” แถมยังไม่นับถ่านที่เสียไปจากการใช้ไม่หมด เวลาที่ต้องมาจุดเตาดับเตา ทำความสะอาด
ขี้เถ้า และมลพิษที่เกิดขึ้นการการสันดาป
.
▪️ นายกฯ ขอช่วยกันประหยัดพลังงาน 
.
ขณะที่ ‘พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. ที่ผ่านมา ถึงสถานการณ์วิกฤติพลังงาน โดยขอความร่วมมือ ช่วยประหยัดพลังงาน ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคอุตสาหกรรม ภาคขนส่ง และประชาชน ขอให้ทุกหน่วยงานเร่งออกนโยบายที่เหมาะสม ตามสถานภาพของตนเอง ไม่ว่าการเปิด-ปิดไฟ อุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้ ลดอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ ส่งเสริมการใช้ขนส่งสาธารณะ ลดการเดินทางที่ไม่จำเป็น ใช้การประชุมออนไลน์ เป็นต้น
.
“สถานการณ์นี้คงไม่สิ้นสุดในระยะเวลาอันใกล้ ผมได้ให้มีการประชุมเตรียมแผนรองรับตามสมมติฐานว่า หากสถานการณ์ยืดเยื้อ เป็นระยะเวลาเท่านี้ๆ ควรจะทำอะไรได้บ้าง ไม่งั้นจะมีปัญหาพอกพูนไปเรื่อยๆ ทั้งเรื่องงบประมาณและการแข่งขันต่อไปในอนาคต” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว