ปักป้าย"หมู่บ้านเทิดไท้องค์ราชัน"กลางสะดืออีสานเมืองมหาสารคาม 2 ตำบล

ปักป้าย"หมู่บ้านเทิดไท้องค์ราชัน"กลางสะดืออีสานเมืองมหาสารคาม 2 ตำบล





ad1

ปักป้าย"หมู่บ้านเทิดไท้องค์ราชัน"กลางสะดืออีสานเมืองมหาสารคาม 2 ตำบล พร้อมส่งเสริมอาชีพขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จาก “ร.9 ถึง ร.10 สู่ผองไทยทั่วแหล่งหล้า

อานนท์ แสนน่าน ประธานหมู่บ้านเทิดไท้องค์ราชันแห่งประเทศไทย

เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 ณ ศาลากลางบ้านแท่นนคร ต.เหล่า อ.โกสุมพิสัยจ.มหาสารคาม จุดศูนย์กลางของภาคอีสาน หรือหลายคนเรียกว่า "กลางสะดือภาคอีสาน" นายอานนท์ แสนน่าน ประธานหมู่บ้านเทิดไท้องค์ราชันแห่งประเทศไทย ร่วมประชุมกับทาง นางนิตยา นาโล ประธานหมู่บ้านเทิดไท้องค์ราชันภาคอีสาน ร่วมกับ นายกฤษ สืบเมืองซ้าย นายก อบต.เขวาไร่ นายจอมสิงห์จันดา รองนายก อบต.เหล่า นายกะมล ศรีบัวทอง กำนันตำบลเหล่า และประชาชนร่วมเปิดหมู่บ้านเทิดไท้องค์ราชัน 2 ตำบล 32 หมู่บ้าน และขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จาก “ร.9 ถึง ร.10 สู่ผองไทยทั่วแหล่งหล้า สืบสาน รักษา ต่อยอด สร้างสุขปวงประชา

นายอานนท์ แสนน่าน ประธานหมู่บ้านเทิดไท้องค์ราชันแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ทาง หมู่บ้านเทิดไท้องค์ราชัน ได้ดำเนินงานตามแนวทางของ “แรมโบ้อีสาน” นายเสกสกล อัตถาวงศ์ อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) ดำเนินการเปิดหมู่บ้านเทิดไท้องค์ราชันในพื้นที่ต่างๆและส่งเสริมอาชีพเกษตรกรในด้านต่างๆ พร้อมต้องการให้เกษตรกรได้ออกมาร่วมกันขับเคลื่อนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จาก “ร.9 ถึง ร.10 สู่ผองไทยทั่วแหล่งหล้า สืบสาน รักษา ต่อยอด สร้างสุขปวงประชา” และต้องการส่งเสริมความรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนส่งเสริมและพัฒนา

ทางกลุ่มได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาขยายผลในกระบวนการทำงาน เป็น 3 ระดับ คือ ระดับ “พออยู่” เป็นต้นแบบในการใช้ชีวิตพึ่งตนเอง เน้นการปฏิบัติทำกิน ทำใช้ในครัวเรือน เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และมีการออม ระดับ “อยู่ดี กินดี” เป็นต้นแบบในการบริหารจัดการพัฒนาในรูปกลุ่ม การพัฒนารายได้ด้วยระบบกลุ่ม เพื่อเพิ่มรายได้และขยายโอกาสคนในชุมชน และ ระดับ “มั่งมี ศรีสุข” เป็นต้นแบบการบริหารการพัฒนาในรูปแบบองค์กรเครือข่าย เพื่อใช้ศักยภาพในการดำเนินการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน เพื่อขยายโอกาสในการประกอบอาชีพและส่งเสริมการจัดสวัสดิการให้กับคนในหมู่บ้านชุมช

นายอานนท์ กล่าวอีกว่า ถ้าท่านให้ปลาใครหนึ่งตัว เขามีกินแค่หนึ่งวัน แต่ถ้าสอนเขาจับปลา เขาจะมีกินตลอดชีวิต ความยากจนเป็นปัญหาที่สลับซับซ้อน เราไม่ควรคาดหวังว่าจะมีนโยบายวิเศษที่จะขจัดความยากจนให้หมดไป แต่เราควรใช้ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์เพื่อประกอบการตัดสินใจออกแบบนโยบายขจัดความจนที่มีประสิทธิผลและปราศจากอคติ ซึ่งอาจเป็นการผสมผสานระหว่างการให้เปล่าและการฝึกทักษะอาชีพเพื่อเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจของคนยากจนในอนาคต

เสนาะ วรรักษ์/รายงาน