นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยชั้นชำแหละหลังโควิดแรงงานไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูย้ายกลับมาตุภูมิชายแดนใต้

นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยชั้นชำแหละหลังโควิดแรงงานไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูย้ายกลับมาตุภูมิชายแดนใต้





ad1

ปัตตานี-นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยชั้นนำร่วมนำสนอผลการวิจัยผลกระทบจากการระบาดของ โควิด-19 ต่อแรงงานไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ย้ายถิ่นกลับมาตุภูมิ:ความเปราะบางและการฟื้นตัวในมิติเศรษฐกิจ ของครัวเรือน

วันนี้(17ตุลาคม65)ที่ห้องประชุมโรงแรมซีเอสปัตตานี ได้มีการนำเสนอผลสรุปการทำวิจัย ภายใต้‘โครงการวิจัยผลกระทบจากการระบาดของ โควิด-19 ต่อแรงงานไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ย้ายถิ่นกลับมาตุภูมิ:ความเปราะบางและการฟื้นตัวในมิติเศรษฐกิจ ของครัวเรือน’โดย รศ.ดร.สุชาดา ทวีสิทธิ์ รศ.ดร.อารี จำปากลาย อาจารย์กษมา จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล รศ.ดร.อัลญาณ์ สมุห์เสนีโต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และเปิดโอกาศให้ผู้เข้าร่วมรับฟังแสดงวิเคราะห์ผลการวิจัยเพื่อนำสู่การพัฒนาให้คลอบคลุมในทุกประเด็นเพิ่มเติมก่อนนำเสนอเชิงนโยบายต่อไป

สืบเนื่องในปี 2019 ทั่วโลกมีแรงงานข้ามชาติอยู่ประมาณ 272 ล้านคน แรงงานข้ามชาติทั่วโลกส่งรายได้ประมาณร้อยละ 40 ของพวกเขากลับบ้านเกิด เงินส่วนนี้ได้ช่วยพยุงเศรษฐกิจของครัวเรือนในประเทศต้นทาง (IFAD, 2016)1และในหลายประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ มีรายได้มวลรวมของประเทศที่มีสัดส่วนของเงินที่แรงงานส่งกลับมาตุภูมิสูงมาก ในปี 2019 มูลค่าของเงินส่งกลับบ้านของแรงงานข้ามชาติทั่วโลกมีสูงถึง 706 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ โดยที่ 554 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ถูกส่งไปยังกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง (World Bank Group, 2020)

 ดังนั้นเมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลให้รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลก มีนโยบายเข้มงวดและห้ามเดินทางเข้า-ออกประเทศ รวมทั้งการใช้มาตรการปิดเมือง ย่อมส่งผลกระทบต่อตัวแรงงานข้ามชาติเองและครอบครัวของเขาที่อยู่ในประเทศต้นทางโดยตรง อีกทั้งยังส่งผลโดยอ้อมต่อระดับรายได้มวลรวมของประเทศ ถึงแม้ว่ายังมีแรงงานข้ามชาติจำนวนมากที่ยังอยู่ในประเทศปลายทาง แต่พวกเขาต้องตกงานเพราะว่าธุรกิจที่จ้างงานในประเทศปลายทางปิดกิจการชั่วคราว ส่วนแรงงานที่เดินทางกลับมาตุภูมิได้ก็ไม่สามารถหางานทำทดแทนภายในประเทศได้ ซึ่งส่งผลให้เงินส่งกลับบ้านหายไปเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งธนาคารโลกคาดว่าในปี 2020 เงินที่แรงงานข้ามชาติทั่วโลกส่งกลับบ้านจะลดลงประมาณร้อยละ 20 เหลือประมาณ 445 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (WorldBank Group, 2020)

การระบาดของโควิด-19 น่าจะส่งผลกระทบให้แรงงานข้ามชาติสัญชาติไทยเชื้อสายมุสลิม-มลายู จากจังหวัดชายแดนใต้ 3 จังหวัด ที่ไปทำงานในประเทศมาเลเซียและครัวเรือนของเขาประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจ เช่น รายได้ลดลงหรือหายไป เกิดภาวะตกงาน หรือว่างงาน เงินออมลดลง หนี้สินเพิ่ม สมาชิกในครัวเรือนไม่มีความั่นคงทางอาหาร โภชนาการ สุขภาพ และการเข้าถึงการศึกษา

โครงการวิจัยนี้เชื่อว่าครัวเรือนที่มีความเปราะบางทางเศรษฐกิจ ส่วนมากจะพึ่งพารายได้ที่แรงงานส่งกลับบ้านเป็นหลัก มีจำนวนที่ดินทำกินจำกัด ไม่มีเงินออม รายได้จากแหล่งอื่นมีน้อยหรือแทบไม่มี อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยยังเชื่อว่าหลายครัวเรือนที่มีแรงงานย้ายถิ่นกลับจากมาเลเซีย และมีความเปราะบางทางเศรษฐกิจ น่าจะฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจของครัวเรือนจากการสูญเสียรายได้ที่แรงงานส่งกลับบ้านได้ดี ถ้าหากครัวเรือนนั้นมีที่ดินทำกิน มีทรัพย์สินที่แลกเปลี่ยนเป็นเงินได้ มีเงินออม เข้าถึงแหล่งจ้างงานในท้องถิ่น เข้าถึงแหล่งเงินกู้ยืมเพื่อการลงทุน เปลี่ยนมาเป็นผู้ประกอบการ หรือ เข้าถึงความช่วยเหลือด้านการฝึกอาชีพใหม่ๆ จากภาครัฐ เป็นต้น

มีแนวกรอบแนวคิดการวิจัยที่มีน่าจะนำไปสู่การตอบคำถามของงานวิจัยต่อไปนี้
1) แรงงานสัญชาติไทยเชื้อสายมุสลิมมลายูใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ที่ย้ายถิ่นไปทำงานในประเทศมาเลเซีย แต่ต้องเดินทางกลับภูมิลำเนาเพราะสถานการณ์โควิด-19 รวมทั้งครัวเรือนของพวกเขาได้รับผลกระทบในมิติทางเศรษฐกิจเรื่องอะไรบ้างและอย่างไร
2) แรงงานและครัวเรือนเหล่านั้นมีศักยภาพในการฟื้นตัว หรือการรับมือกับภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจของครัวเรือนเพราะขาดรายได้หรือไม่และอย่างไร
3) ท่ามกลางสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ภายในประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่การแพร่ระบาดลงไปถึงในระดับหมู่บ้านแล้ว ได้ส่งผลต่อการดำรงชีพของพวกเขาอย่างไร


4) พวกเขาเข้าถึงมาตรการช่วยเหลือและฟื้นฟูของรัฐบาลและหน่วยงานในพื้นที่หรือไม่ และมีเงื่อนไขอะไรบ้างที่ทำให้เข้าพวกเขาเข้าถึงหรือเข้าไม่ถึงมาตรการเหล่านั้น
5) เมื่อสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศมาเลเซียคลี่คลาย แรงงานและครัวเรือนมีความคาดหวังที่จะให้แรงงานกลับไปทำงานอีกหรือไม่

โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) หัวหน้าครัวเรือน หรือตัวแทนของหัวหน้าครัวเรือนที่สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับข้อมูลของครัวเรือน และสมาชิกในครัวเรือนได้ดีที่สุด และ (2) สมาชิกในครัวเรือนที่เป็นแรงงานย้ายถิ่นกลับมาจากการทำงานที่ประเทศมาเลเซีย อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม 2563-ธันวาคม 2564และต้องกลับคืนภูมิลำเนามาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 เดือน ปัจจุบันยังคงอาศัยอยู่บ้าน หรือ อาจจะออกไปทำงานนอกจังหวัดภูมิลำเนา

สำหรับการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้วิธีเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มตัวอย่างที่คัดกรองมาจากการสัมภาษณ์เชิงปริมาณแล้ว ที่คุณลักษณะเฉพาะเจาะจง ได้แก่ ช่วงวัย เพศ อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจ ระยะเวลาที่กลับมาอยู่ภูมิลำเนา เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อ

5.จะทำให้เห็นภาพผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับครัวเรือนและต่อแรงงานย้ายถิ่นกลับ ตลอดจนการฟื้นตัวของครัวเรือนในมิติด้านเศรษฐกิจที่ทับซ้อนกับบริบทอื่น ๆ (intersectionality) ได้ด้วยข้อมูลเชิงปริมาณเก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่างระดับครัวเรือนทั้งสิ้นจำนวน 649 ครัวเรือน และระดับบุคคล คือแรงงานสัญชาติไทยเชื้อสายมุสลิม-มลายูอายุระหว่าง 18-60 ปี ของครัวเรือนที่มีแรงงานย้ายถิ่นกลับมาภูมิลำเนา จำนวนตัวอย่าง 649 คน

กลุ่มตัวอย่างกระจายตัวอยู่ในพื้นที่ 113 หมู่บ้าน แบ่งเป็น อยู่ในจังหวัดปัตตานี 37 หมู่บ้าน จังหวัดยะลา 36 หมู่บ้าน และจังหวัดนราธิวาส 40 หมู่บ้าน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมหลังจากการสำรวจเชิงปริมาณเสร็จสิ้นแล้ว โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ มาทำการสัมภาษณ์เชิงลึก จังหวัดละ 20 ราย รวมเป็น 60 ราย และในการสัมภาษณ์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

ใช้ภาษามลายูท้องถิ่นเป็นหลักเพื่อทำให้การสัมภาษณ์เป็นไปอย่างลื่นไหล และช่วยให้ผู้ให้ข้อมูลเข้าใจประเด็นคำถามได้อย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา

ผลการวิจัยที่ได้นำเสนอมีรายละเอียดในหลายมิติคลอบคลุมเกือบทุกปัญหาที่สามารถสท้อนถึงผลกระทบในช่วงสภานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด19 ที่ผ่านมาการรายได้หลักของประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ส่วนหนึ่งต้องพึ่งพารายได้หลักจากลูกหลานที่เป็นแรงงานผลัดถิ่นที่ส่วนใหญ่จากประเทศมาเลเซีย เมื่อเกิดภาวะปิดประเทศทำให้แรงงานเหล่านี้ขาดรายได้ส่งผลกระทบต่อคนในครอบครัวที่รออยู่ทางบ้าน

นอกจากนั้นในรายงานวิจัยยังพบว่าแรงงานเหล่านี้กลับไม่มีที่เป็นของตัวเองเกินกว่า 1 ไร่ อาจเป็นต้นเหตุที่เกิดแรงผลัดดิน เพราะไม่มีที่ดินที่กว้างพอจะประกอบอาชีพเกษรตกรรมเลี้ยงครอบครัวหรือบ่งบอกไม่มีหลักประกันในชีวิตของครอบครัว ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ จนกลายสภาพที่เปราะบางของสังคมในระยะยาวที่รัฐควรมีมาตรการรองรับและนำสู่การแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม