เครือข่ายยางใต้ยื่นหนังสือถึง 16 พรรคการเมืองเป็นยุทธศาตร์ของพรรค และต่างตอบรับได้เป้นรัฐบาลทำทันที

เครือข่ายยางใต้ยื่นหนังสือถึง 16 พรรคการเมืองเป็นยุทธศาตร์ของพรรค และต่างตอบรับได้เป้นรัฐบาลทำทันที





ad1

เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 14 ธันวาคม 2565 นายทศพล ขวัญรอด ประธานภาคีเครือข่าวชาวสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย (คยปท.) เปิดเผยว่า คยปท.พร้อมเครือข่าย สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศ สมาคมคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อย  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้แปรรูปยางพารารมควัน นอกจากยื่นหนังสือเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ยางพาราและปาล์มน้ำมัน ที่ทำเนียบรัฐบาลถึงนายกรัฐมนตรี  และรัฐสภา  ตลอดถึงการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) แล้ว ยังได้ยื่นถึง 16 พรรคการเมืองเกี่ยวกับยุทธศาตร์ยางพาราและปาล์มน้ำมันทั้งระบบ  และพรรคการเมืองทั้ง 16 พรรคต่างให้การตอบรับเพื่อไปทำเป็นนโยบายของพรรค

นายทศพล กล่าวอีกว่า โดยเฉพาะในส่วนเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ยางพารา พรรคที่เน้นหนักและตอบรับชัดเจน คือพรรคเพื่อไทย โดยยังได้คุยนอกรอบกับเครือข่ายยางพาราว่าหากได้เป็นรัฐบาลในสมัยที่จะถึงนี้ ตอบรับและทำดำเนินการอย่างทันท่วงทีเพราะเคยดำเนินการและทำมาแล้วและประสบความสำเร็จ และจะไม่ทอดทิ้งเกษตรกรพร้อมแกนนำเกษตรกร.

เรื่อง การแก้ไขปัญหายางพารา-ปาล์มน้ำมัน ราคาตกต่ำไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืน 

เนื่องจากยางพาราและปาล์มน้ำมัน เป็นอาชีพหลักของเกษตรกรไท และยังเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่ทำรายได้ให้กับประเทศมหาศาลปีละหลายแสนล้านบาทเป็นอันดับต้นๆ ของโลก  แต่เป็นปัญหาเรื่องของราคาที่ผันผวนขาดเสถียรภาพ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปยางพารา-ปาล์มน้ำมันทั้งระบบครบวงจร เพื่อให้ยางพารา-ปาล์มน้ำมัน และเกษตรกรดำรงชีพอยู่ได้อย่างถาวรมั่นคงและยั่งยืน

ดังนั้น ภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางพารา-ปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย จึงมีแนวทางแก้ไขปัญหา 1.) แนวทางการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน 1.1 ขอให้เร่งรัดให้มีการชดเชยเงินประกันรายได้ให้กับเกษตรกรตามนโยบายแห่งรัฐโดยเร่งด่วน 1.2 เร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคิดต้นทุนการผลิต พืชผลทางการเกษตรเสียใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ

2.) แนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างมั่นคงและยั่งยืน 2.1 แก้ปัญหาด้านการตลาดโดยการผลักดันให้เกิดเป็นตลาดซื้อขายจริง 2.2 ขับเคลื่อนการแปรรูปเพิ่มมูลค่าและการใช้ยางในประเทศ โดยเฉพาะนโยบายการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ 2.3 ปรับเปลี่ยนรูปแบบการส่งเสริมปลูกยางจากเชิงเดี่ยวมาเป็นการปลูกยางแบบผสมผสานให้สอดคล้องกับแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเป็นไปตามแบบแผนของ ก.ย.ท. (ป่าสวนยาง)

2.4 ส่งเสริมงบประมาณด้านการส่งเสริมอาชีพ เสริมเพิ่มรายได้ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ประมงครบวงจร เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในยามวิกฤต 2.5 เร่งรัดพิสูจน์สิทธิ์พื้นที่ปลูกยางพาราในพื้นที่ทับซ้อนเพื่อสอดคล้องกับกฎหมายกีดกันทางการค้า (FSC) เพื่อให้ทันตามกำหนดภายในระยะเวลา 2 ปี จึงเรียนมาเพื่อพิจารณาและดำเนินการแก้ไขต่อไป

นอกนั้นยังมีเรื่องโครงการชะลอยาง และ ฯลฯ ซึ่งเป็นของกลุ่มยางอีกหลายกลุ่มเพื่อผนึกเข้าร่วมกันเป็นประเด็นในการแก้ไขปัญหายางพารา.