เรียกร้องความเป็นธรรม กับองค์กรนักศึกษา ปมประชามติแยกปาตานีเป็นรัฐอิสระจัดขึ้นแค่สอบถาม

เรียกร้องความเป็นธรรม กับองค์กรนักศึกษา ปมประชามติแยกปาตานีเป็นรัฐอิสระจัดขึ้นแค่สอบถาม





ad1

วันนี้(20มิย.66)จากกรณีการเปิดตัวองค์กรนักศึกษา และการจำลองกาลงรคะแนนเพื่อประชามติแยกปาตานีเป็นอิสระในระหว่างการเปิดเวทีสัมมนาในรั้วมหาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี เมื่อวันที่7มิถุนายน2566ที่ผ่านมา จนกลายเป้นประเด็นร้อนขึ้นมาจากหน่วยความมั่นคง กอ.รมน.ภาค4 ส่วนหน้า อ้างถึงมีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงกรณีการแยกดินแดนผิดละเมิดกฎหมายของมาตรา1 ของรัฐธรรมนูญของไทย แม้จะมีประชาชนเข้าร่วมรับฟังบางตา โดยส่วนใหญ่เป็นองค์กรนักศึกษาของมหาลัยฯ และยังมีเจ้าหน้าที่หน่วยความมั่นคง ทหาร ตำรวจ เข้าร่วมรับฟังและสังเกตการ์อีกด้วยเป็นจำนวนมาก และกิจกรรมในลักษณะนี้ครั้งนี้ไม่ใช่เป็นครั้งแรกแต่กลับไม่ถูกหยิบยกเป็นประเด็นแยกดินแดนเหมือนในครั้งนี้ จึงคำถามให้กับคณาจารย์ในรั้วมหาลัยฯว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมถึงเกิดขึ้นในขณะนี้

ล่าสุดทางองค์กรเครือข่ายปกป้องอัตลักษณ์และสนับสนุนการพูดคุยจึงได้ออกแลงการณ์เพื่อแสดงจุดยื่นและเรียกร้องความเป็นธรรมจากกรณีกิจกรรมที่องคฺกรนักศึกษาจัดขึ้นแค่เป็นเพียงสอบถาม โดยมีคำแถลงการณ์งนี้

แถลงการณ์เครือข่ายปกป้องอัตลักษณ์และสนับสนุนการพูดคุย (The Peace) 

เรื่อง เรียกร้องรัฐบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงอย่างยุติธรรมกับกรณีขบวนนักศึกษาแห่งชาติ(Pelajar  Bangsa)และเป็นมาตรฐานเดียวกันกับกรณีอื่นๆด้วย

ตามที่ได้เป็นกระแสร้อนในโลกโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับกรณีที่ได้มีการอ่านคำประกาศเปิดตัวขบวนนักศึกษาแห่งชาติ หรือ Pelajar Bangsa ซึ่งมีเนื้อหาหลักว่าด้วยการตั้งคำถามเกี่ยวกับสิทธิในการกำหนดชะตากรรมตนเองเพื่อสร้างสันติภาพ จชต./ปาตานี ที่ประชาชนเป็นเจ้าของตามแนวทางสันติวิธี ซึ่งประโยคคำถามนั้นมีอยู่ว่า

คุณเห็นด้วยกับ "สิทธิในการกำหนดชะตากรรมตนเอง" หรือไม่ ที่จะให้ประชาชนปาตานีสามารถออกเสียงประชามติแยกตัวเป็นเอกราชได้อย่างถูกกฎหมาย ?

ตามหลักสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองซึ่งอยู่ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญและไม่เป็นการปลุกปั่นยุยงท้าทายอำนาจรัฐจนเป็นเหตุให้ความมั่นคงของรัฐได้รับความเสียหายหรือไม่มีพฤติกรรมส่อไปทางจาบจ้วงดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ แน่นอนว่าในฐานะพลเมืองคนหนึ่งของรัฐย่อมกระทำได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว

แต่ฝ่ายความมั่นคงซึ่งนำโดย กอ.รมน.ภาค 4 กลับมองว่าขบวนนักศึกษาแห่งชาติ (Pelajar Bangsa) เจตนากระทำการเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐอย่างร้ายแรงฐานความผิดที่ต้องการทำประชามติเพื่อแบ่งแยกดินแดน ซึ่งสวนทางอย่างสิ้นเชิงกับมุมมองของบรรดานักวิชาการทางรัฐศาสตร์หลายๆท่านกลับมองว่าเป็นเพียงกิจกรรมของนักศึกษาที่อยู่ในกรอบของงานวิชาการที่ใช้มหาวิทยาลัยเป็นสถานที่จัดงาน

ทั้งนี้ประเด็น "ประชามติ" กับข้อเสนอหรือข้อคำถามในทางวิชาการในมิติการแก้ปัญหาความขัดแย้ง จชต./ปาตานี นั้น ถือว่าไม่ใช่เรื่องใหม่เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรกโดยขบวนการนักศึกษาแห่งชาติ (Pelajar Bangsa) แต่อย่างใด 

ทางอดีตสหพันธ์นักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี (PerMAS) ก็เคยจัดเวทีสาธารณะมีประชาชนเข้าร่วมถึง 5 - 6 พันคนในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี (มอ.ปัตตานี) และได้มีกิจกรรมจำลองการทำประชามติด้วย

ทางเครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาสังคมก็เคยมีการทำวิจัยถามประชาชนกลุ่มเป้าหมายตามระเบียบวิธีการทำวิจัยมาแล้ว คำถามใหญ่ข้อหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริหารปกครองพื้นที่ จชต./ปาตานี และเป็นที่ถกเถียงของหลายฝ่ายมาเป็นเวลานาน คือ หากต้องการจะให้ปัญหาความไม่สงบยุติลง ทางออกคือ ต้องให้พื้นที่นี้เป็นรัฐอิสระแยกออกจากประเทศไทยหรือไม่ ?

(อ้างอิงจาก https://peaceresourcecollaborative.org/wp-content/uploads/2019/09/peace-survey-2.pdf)

หากว่าคำถามของขบวนนักศึกษาแห่งชาติ (Pelajar Bangsa) ทาง กอ.รมน.สรุปว่ามีความผิดทางกฎหมาย คำถาม Peace Survey ของสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับเครือข่ายวิชาการ Peace Survey 24 องค์กรวิชาการและภาคประชาสังคม ก็น่าจะมีความผิดทางกฎหมาย ผิดมาตรา 1 ด้วยใช่หรือไม่ 

เพราะเหตุใด กอ.รมน. จึงเลือกจะฟันดาบลงที่ขบวนนักศึกษาแห่งชาติ (Pelajar Bangsa) แต่ไม่เลือกฟันดาบไปที่องค์กรอื่นๆที่มีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกัน หรืออาจจะเกี่ยวข้องกับวาระซ่อนเร้นในทางการเมืองว่าด้วยกระแสสูงของการจัดตั้งรัฐบาลที่นำโดยพรรคก้าวไกลหรือไม่ 

หากเป็นไปตามข้อสันนิษฐานข้างต้นจริง การดำเนินการของ กอ.รมน. ที่จะกระทำการโดยอ้างการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันภัยความมั่นคงนั้น ถือว่าเป็นการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นสองมาตรฐานอย่างชัดเจน และเข้าข่ายกระทำความผิดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 หรือไม่ ซึ่งมีเนื้อหาบัญญัติว่า 

"ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจาคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ