โครงการชลประทานศรีสะเกษ ลงพื้นที่ตรวจสอบผู้บุกรุกบริเวณอ่างเก็บน้ำ 4 แห่งในเขตพิ้นที่จังหวัดศรีสะเกษ

โครงการชลประทานศรีสะเกษ ลงพื้นที่ตรวจสอบผู้บุกรุกบริเวณอ่างเก็บน้ำ 4  แห่งในเขตพิ้นที่จังหวัดศรีสะเกษ





ad1

นายจำรัส สวนจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ พร้อมด้วย นายเทอดศักดิ์ เขียนนิลศิริ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน และเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ตรวจสอบการบุกรุกที่ดินของกลุ่มราษฎรบริเวณอ่างเก็บน้ำจำนวน 4 แห่ง  ได้แก่  อ่างเก็บน้ำห้วยสำราญ, อ่างเก็บน้ำห้วยติ๊กชู, อ่างเก็บน้ำห้วยศาลา และอ่างเก็บน้ำโอตาลัต ซึ่งอ่างเก็บน้ำทั้ง 4 แห่งดังกล่าว เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลางในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ  จากจำนวนทั้งหมด 16 แห่ง ซึ่งในบริเวณอ่างเก็บน้ำมีทั้งกลุ่มนายทุน และกลุ่มราษฎร มาบุกรุกโดยการก่อสร้างอาคาร  เพื่อทำการค้าร้านอาหาร   ที่พัก รีสอร์ท และปลูกพืชเพื่อการเกษตร

จำรัส สวนจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ
          
การตรวจสอบการบุกรุกดังกล่าว เป็นภารกิจหลักของโครงการชลประทานศรีสะเกษ  ในการขับเคลื่อนซึ่งรักษาไว้ที่ราชพัสดุของทางราชการ เพื่อไม่ให้กลุ่มราษฎร  และกลุ่มนายทุนเข้ามาบุกรุก เนื่องจากมีผลกระทบในด้านการบริหารจัดการน้ำของโครงการชลประทานศรีสะเกษทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการทำงานและติดตาม  ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ  สำนักงานป่าไม้ศรีสะเกษ  สำนักอุทยานฯ  อำเภอภูสิงห์  สำนักงาน  ป.ป.ช.ประจำจังหวัดศรีสะเกษ     ชมรม strong(ตรอง)จิตพอเพียงต้านทุจริตจังหวัดศรีสะเกษ    กอ.รมน.ศรีสะเกษ    สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ศรีสะเกษฯลฯ เป็นต้น

ทั้งนี้บริเวณพื้นที่อ่างเก็บน้ำทั้ง 4  แห่งดังกล่าว  เป็นพื้นที่ของกรมป่าไม้ทั้งหมด  ที่อนุญาตให้กรมชลประทานใช้พื้นที่เพื่อการบริหารจัดการน้ำในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมให้กับราษฎรในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ  รวมถึงเพื่อความมั่นคงตามแนวเขตชายแดนไทย-กัมพูชา  ดังนั้นขั้นตอนการดำเนินการดังกล่าวจึงจำเป็นต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบ และเป็นไปตามข้อกฏหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง  เพื่อให้มีผลกระทบในทุกภาคส่วนน้อยที่สุด  และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อจังหวัดศรีสะเกษมากที่สุด

นายจำรัส สวนจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ เปิดเผยในตอนท้ายว่า ทั้งนี้โครงการชลประทานศรีสะเกษได้ใช้นวัตกรรม ซึ่งเป็นผลงานของโครงการชลประทานศรีสะเกษที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดของกรมชลประทาน ประจำปี 2565 (Rid Innovation Award 2022) " สแกน แอนด์  คลิก รู้เขตชลประทาน" มาประยุกต์และใช้ประโยชน์ในการตรวจสอบจำนวนผู้บุกรุกของอ่างเก็บน้ำดังกล่าวด้วย

เสนาะ วรรักษ์/รายงาน