โครงการชลประทานศรีสะเกษยกระดับบูรณการบริหารจัดการน้ำ 6 ด้านรับมือน้ำท่วมทุกมิติ

โครงการชลประทานศรีสะเกษยกระดับบูรณการบริหารจัดการน้ำ 6 ด้านรับมือน้ำท่วมทุกมิติ





ad1

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 นายจำรัส สวนจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ พร้อมด้วย นายเทอดศักดิ์ เขียนนิลศิริ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน เข้าร่วมประชุมการขับเคลื่อนประเด็นวาระการบริหารจัดการน้ำจังหวัดศรีสะเกษ  ครั้งที 1/2566  โดยมี นายสำรวย เกษกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานการประชุม และมีหัวหน้าส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสระกำแพงใหญ่ ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ

สำรวย เกษกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ
          
ในการนี้นายจำรัส สวนจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ ได้นำเสนอในที่ประชุมเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำทั้งในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ  และในภาพรวมของลุ่มน้ำโขงชี  มูล  ทั้งระบบ  ที่มีผลกระทบกับการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ    โดยนำเสนอการบริหารจัดการน้ำในช่วงปี 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งเกิดปัญหาอุทกภัยเป็นจำนวนมาก  และการเตรียมรับมือน้ำท่วมปี 2566 นี้  ในการนี้ การเตรียมความพร้อมรับมือในปี  2566  โครงการชลประทานศรีสะเกษได้เตรียมความพร้อม  6  ด้าน  ได้แก่

จำรัส สวนจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ 

1)การวิเคราะห์อ่างเก็บน้ำ / แหล่งน้ำขนาดเล็ก  ลุ่มน้ำ และ เขื่อน
2)การคาดการณ์และการแจ้งเตือน
3)การเฝ้าระวังในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง
4)แนวทางการช่วยเหลือ
5)แนวทางการแก้ไขระยะกลางและระยะยาว
6)การวางแผนการเก็บกักน้ำเพื่อช่วยเหลือภัยแล้งโดยการเสริมสอบทราย

ภายหลังประชุมเรียบร้อยแล้ว  นายจำรัส  สวนจันทร์  ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ  ได้เรียกข้าราชการและผู้เกี่ยวข้องเร่งด่วนเพื่อประชุม ด้านการบริหารจัดการน้ำ  และการพัฒนาแหล่งน้ำ  เพื่อให้เป็นไปตามแผนงาน  อันจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนต่อไป

ทั้งนี้ปัจจุบันในภาพรวมของจังหวัดศรีสะเกษ  อ่างเก็บน้ำขนาดกลางทั้ง 16  แห่ง เก็บกักได้ 208.34 ล้าน  ลบ.ม.  ปัจจุบันเก็บกักได้  112.84 ล้าน ลบ.ม.  คิดเป็น  53.16%  เมื่อเทียบกับปี 2565  ในวันนี้เก็บกักได้  146.59  ล้าน  ลบ.ม.
คิดเป็น  70.36%   สำหรับด้านปริมาณน้ำฝน  จังหวัดศรีสะเกษมีฝนตกเฉลี่ยรอบ 30 ปี (ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา) จำนวน 1,446.8  มิลลิเมตร/ปี  ปัจจุบันฝนตกจำนวน 859 มิลิเมตร  คิดเป็น 59.40%  ซึ่งโครงการชลประทานศรีสะเกษจะได้บริหารจัดการน้ำอย่างใกล้ชิด  เพื่อให้มีผลกระทบกับราษฎรน้อยสุดทั้งในเรื่องของน้ำท่วมปี 2566 นี้ และภัยแล้ง ปี 2567  ให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้

โดย..เสนาะ วรรักษ์/รายงาน