มอบใบประกาศรับรอง “ระบบการเลี้ยงควายปลักพื้นที่ทะเลน้อย”เป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตรแห่งแรกของไทย

มอบใบประกาศรับรอง “ระบบการเลี้ยงควายปลักพื้นที่ทะเลน้อย”เป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตรแห่งแรกของไทย





ad1

เมื่อวันที่  14 กย. 66  ที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย  ต.ทะเลน้อย   อ.ควนขนุน จ.พัทลุง นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์  รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบใบประกาศรับรอง การเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย เป็นพื้นที่มรดกทางการเกษตรโลกแห่งแรกของประเทศไทย  ให้กับนางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ ผวจ.พัทลุง

สำหรับระบบมรดกทางการเกษตรโลก คือระบบการใช้ที่ดินที่โดดเด่นและภูมิทัศน์ที่อุดมไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่างการปรับตัวของชุมชนที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ความจำเป็น และแรงบันดาลใจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ( FAO) ได้ริเริ่มระบบมรดกทางการเกษตรโลก ในการประชุมสุดยอดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (WSSD) เมื่อปี พ.ศ. 2545

โดยมีกรอบแนวคิดในอนุรักษ์องค์ความรู้และวิถีการทำการเกษตรแบบดั้งเดิมไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลาและนำมาประยุกต์ใช้กับนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความมั่นคงทางอาหารในชุมชน และระบบมรดกทางการเกษตรโลก

สำหรับ “ระบบมรดกทางการเกษตรโลก” ( GIAHS)  ได้ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์แบบพลวัตที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม โดยอนุญาตให้มีการพัฒนาให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม  รักษาความสมดุลของระบบนิเวศ  โดยระบบมรดกทางการเกษตร มีองค์ประกอบ 5 ข้อ  คือ ความมั่นคงด้านอาหาร / ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ความหลากหลายทางชีวภาพการเกษตร ระบบความรู้ / ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีมาแต่ดั้งเดิม  วัฒนธรรมระบบคุณค่า และองค์กรทางสังคม และลักษณะภูมิทัศน์/และภูมิทัศน์ทางทะเลซึ่งกว่าจังหวัดพัทลุงจะได้รับใบประกาศเลี้ยงควายปลักเป็นมรดกโลกด้านการเกษตรฯดังกล่าวนี้ได้ใช้เวลายาวนานกว่า  6 ปี

และที่ประชุมมีมติรับรองให้ข้อเสนอ ระบบการเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย เป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตร (GIAHS) ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา.

โดย....อัสวิน ภักฆวรรณ