ม็อบเกษตรดีเดย์ 30 พ.ย.ชุมนุมคัดค้านนำเข้าสัตว์จากเมียนมา

ม็อบเกษตรดีเดย์ 30 พ.ย.ชุมนุมคัดค้านนำเข้าสัตว์จากเมียนมา





ad1

ตาก-ผู้ประกอบการนำเข้า โค-กระบือ ทำหนังสือขอชุมนุม ร้องเรียนถึงผลกระทบและความเดือดร้อน หลัง กรมปศุสัตว์ประกาศชะลอการนำเข้าสัตว์ จากประเทศเมียนมา โดยยื่นหนังสือแจ้ง ผู้ว่าฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 กลุ่มผู้ประกอบการนำเข้าสัตว์ จังหวัดตาก และ จังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมถึง จ.สุโขทัย ( สัตว์นำเข้า โค กระบือ แพะ แกะ ) จากสาธารณรัฐเมียนมา เข้าไทย   ประกอบด้วย กลุ่มพ่อค้าโค กระบือ แพะ แกะ  - กลุ่มผู้ประกอบการรถบรรทุกขนส่งสินค้าปศุสัตว์ - กลุ่มผู้ผลิตอาหารสัตว์   กลุ่มเกษตรกรผู้ประกอบการอัดฟางก้อน ได้ทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดตาก-ฝ่ายปกครอง-ทหาร-ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอชุมนุม  

เบื้องต้นจะมีการชุมนุมในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566  และขอร้องเรียน ถึงผลกระทบและความเดือดร้อน หลัง กรมปศุสัตว์ประกาศชะลอการนำเข้าสัตว์ จากประเทศเมียนมา ต่ออีกเป็นระยะเวลา 3 เดือน ( 90 วัน) โดยกลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มดังกล่าวระบุในหนังสือว่าตามที่กรมปศุศัตว์มีการแจ้งการชะลอนำเข้าโค กระบือ แพะ แกะ จากสาธารณรัฐเมียนมา เป็นฉบับที่  4  ซึ่งผู้ประกอบการทราบเรื่องการประกาศชะลอโดยทั่วกัน เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 ทำให้ผู้ประกอบการหมดหวังและ หมดกำลังใจ ซึ่งที่ผ่านมากรมปศุสัตว์ได้ประกาศชะลอการนำเข้าสัตว์ จากประเทศเมียนมา 

ก่อนหน้านี้ทั้งหมด  3 ฉบับมาแล้ว แต่ละฉบับที่ประกาศมีระยะเวลา 90 การประกาศเริ่มประกาศตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2566 – 28   พฤศจิกายน 2566 รวมระยะเวลาที่ปิดตั้งแต่วันประกาศราชกิจจานุเบกษาจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 270 วัน   หรือเป็นระยะเวลา  9 เดือน มาแล้ว ได้สร้างผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจการค้าและความเดือดร้อน ให้ผู้ประกอบการ   ทำให้ผู้ประกอบการ ได้ทำหนังสือ ขอชุมนุมในที่สาธารณะ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบถึงปัญหาความเดือดร้อนและผลกระทบของผู้ประกอบการฯ

ซึ่งประกาศของกรมปศุสัตว์ ในการชะลอการนำเข้า สัตว์จากประเทศเมียนมา ต่ออีก 3 เดือน หรือ 90 วัน  ทำให้ผู้ประกอบการ ไม่พอใจกับการประกาศชะลอการนำเข้าสัตว์  ในครั้งนี้ จึงต้องการชุมนุมเพื่อให้กรมปศุสัตว์ ได้ทบทวนการสั่งชะลอนำเข้าสัตว์ในครั้งนี้อีกครั้ง 

รายงานข่าวแจ้งว่า ผู้ประกอบการฯ ต้องการให้กรมปศุสัตว์ ย้ายผู้บริหารสำนักงานปศุสัตว์ ทั้งในระดับจังหวัดและอำเภอ ในพื้นที่ เพราะขณะนี้เรื่องโรคระบาดของสัตว์นั้น ไม่ได้มีปรากฏ หรือไม่ได้เกิดขึ้นแต่อย่างใด ตามข้อมูลจริงในพื้นที่