ดีเดย์ 15 ธ.ค.สมัชชาผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้นัดเสวนาหาทางแก้หมูตกต่ำ

ดีเดย์ 15 ธ.ค.สมัชชาผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้นัดเสวนาหาทางแก้หมูตกต่ำ





ad1

สมัชชาหมูภาคใต้ชุมนุมตั้งหัวหมูเซ่นไหว้ 99 หัว ทำพิธี  “สาปแช่งคนชั่ววงการหมู” และพบนายกรัฐมนตรี ขอ 4 มาตรการ สนับสนุหมูให้มีที่ยืน

นายสำรอง รักชุม รองประธานสมัชชาผู้เลี้ยงสุกรเขตภาคใต้ เปิดเผยว่า ในวันที่ 15 ธันวาคม 2566 ทางสมัชชาผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้  จะมีการประชุมเสวนาเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ ณ ร้อยทองรีสอร์ต อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ซึ่งจะเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้เข้าร่วมประมาณ 600 คน และมีเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรภาคอีสาน และภาคกลาง เข้าร่วมด้วย  

โดยเริ่มจะทำพิธีกรรมสาปแช่งคนทำชั่วเกี่ยวกับวงการหมูเถื่อน โดยมีตั้งหัวหมูเซ่นพิธีจำนวน  99 หัว ต่อมาจะเปิดเวทีไฮต์ปาร์คจากเกษตรกร

ทางสมัชชาฯ มีโครงการที่นำเสนอต่อรัฐบาลคือมาตรการปราปรามการทุจริตหมูเถื่อน  มาตรการการลดต้นทุนการผลิตสุกร ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการเลี้ยงสุกรมาตรการเงินสนับสนุนผู้เลี้ยงสุกร และทำการตรวจสอบหมูซีก ตรวจสอบห้องเย็นอย่างเป็นระบบ

นายสำรอง กล่าวอีกว่า สำหรับในวันที่ 11 ธันวาคม 2566 สมัชชาผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ จะเดินทางไปพบ ฯพณฯ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี รวมสมทบกับสมัชชาเกษตรกผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศ  โดยภาคใต้จะมีตัวแทนเดินทางไประมาณ 40-50 คน

สำหรับข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน  1. ปราบปรามทุจริจหมูเพถื่อนโดยถาวรและจริงจัง 2. เรื่องการลดต้นทุนการผลิต ซึ่งเป้นปัจจัยหลักของการเลี้ยงสุกร 3.รัฐาลหาเงินสนับสนุนบริหารจัดการในการเลี้ยงสุกรของเกษตรกร 5. ให้มีการตรวจสอบหมูซีก และหมูในห้องเย็น ซึ่งทั้ง 5 ข้อจะเป้นภาพรวมทั้งประเทศ.

นายสำรอง ยังกล่าวอีกว่า สถานการณ์ที่ทำให้ผู้เลี้ยงสุกรต้องประสบภาวะขาดทุนมาอย่างต่อเนื่องตั้งเกิดภัยโรคระบาด เอเอสเอฟ และกระทั่งมาพบกับการนำเข้าหมูกล่องหมูเถื่อน จนประสบกับภาวะขาดทุนขนาดหนักให้กับเกาตรกรผู้เลี้ยงสุกรในภาคใต้ และภาพรวมเป็นไปทั้งประเทศจนถึงขระนี้ โดยมีหมู 1,000 ตัว จะขาดทุนทันที 1 ล้านบาท  จากต้เนเหตุคือหมูกล่องหมูเถื่อนที่นำเข้ามาเป็นภาพรวมประมาณ 10,000 ตู้ ต๔ละ 30 ตัน เท่ากับ 300,000 ตัน 300 ล้านกิโลกรัม เท่ากับนำเข้าหมูเถื่อน 3 ล้านตัว

นายชธิตถ์ ภักดีบุรี เจ้าของก้าวหน้าฟาร์ม จ.พัทลุง เลขาธิการสมาคมการค้าผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ เปิดเผยว่า ขณะนี้ต้นทุนการผลิต  ซึ่งสำหรับทางภาคใต้ต้นทุนการผลิตสุกรอยู่ที่ราคา  75 บาท / กก. ส่วนราคาสุกรขุนเต็มที่ขายอยู่ที่  65 บาท / กก.  เวลาขาดทุน 10 บาท / กก. ประมาณ 1,000 บาท / ตัว 

นายธธิตถ์  กล่าวอีกว่า และขณะเดียวกันทางภาคใต้ยังเข้าสู่ฤดูฝนส่งผลไม่ได้เก็บเกี่ยวยาง ไม่มีรายได้เกิดผลกระทบต่อกำลังซื้อทำยอดขายสุกรของเกษตรกรภาคใต้ได้หดตัวไปถึง 40%   ประกอบกับสุกรส่วนหนึ่งประมาณ 30 %  มาจากห้างโมเดิร์นเทรดเข้ามามีส่วนแบ่งตลาดไป ตอนนี้จึงหาทางออกระบายสุกรต้องมีการส่งออกไปยังภาคกลาง จ.ราชบุรี และ จ.นครปฐม

“สุกรยอดขายได้หดตัวมาตั้งเทศกาลกิเจและจะไปถึงปีใหม่เดือนมกราคม 2567  และคาดการว่าจะเริ่มดีขึ้นประมาณกุมภาพันธุ์ 2567 เพราะการเลี้ยงสุกรครบรอบ”

นายชธิตถ์  กล่าวอีกว่า   แนวโน้มการเลี้ยงสุกรในภาคใต้ ปี 2567 เกษตรกรผู้เลี้ยงรายย่อยและรายเล็กจะหายไปเป็นจำนวนมากจากการแบกรับการขาดทุน ประกอบกับหารปรับตัวของค่าขนส่ง ค้าแรง และประการสำคัญทางภาคใต้ไม่อาหารเลี้ยงสุกรจะต้องสั่งจากภาคกลาง และทางตะวันตก ส่งผลให้ต้นการผลิตที่ยังสูงมาก ประมาณการว่าจะเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงประมาณ 20 % และนกนั้นอีก 80 % จะเป็นของผู้เลี้ยงรายใหญ่.

โดย...อัสวิน  (โต๊ะข่าวภูมิภาค)