ชาวสวนได้เฮพบวิธีป้องกัน-รักษา"โรคยางใบร่วง"แถมเพิ่มน้ำยางสด

ชาวสวนได้เฮพบวิธีป้องกัน-รักษา"โรคยางใบร่วง"แถมเพิ่มน้ำยางสด





ad1

ชาวสวนยางพาราไทย ได้เฮทั้งประเทศ พบยาป้องกันรักษา “โรคยางใบร่วง” พร้อมได้น้ำยางคุณภาพ-ปริมาณยางเพิ่มขึ้น น้ำยางสด จาก 28 % เป็น 38 – 40 % ปริมาณน้ำยางเพิ่ม 20 – 30 % เปิดตัวเดือนเมษายน 67 พร้อมนำไปใช้ แล้วยังต่อยอดวิจัยพืชเศรษฐกิจหลักของไทยต่อ

นายจรงค์ เกื้อคลัง เจ้าของสวนยางพารา หมู่ 9 บ้านหนองปด ต.แม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุง และอดีตผู้ใหญ่บ้านหมู 9 บ้านหนองปด เปิดเผยว่า ขณะนี้ยางพาราได้เข้าสู่ฤดูกาลผลัดใบซึ่งในปีนี้จะผลัดใบเร็วกว่าปกติ โดยปกติยางพาราจะเข้าฤดูกาลผลัดใบในเดือนมีนาคม เมษายน แต่มาปีนี้ผลัดใบตั้งแต่เดือนมกราคม สาเหตุต่อเนื่องจากยางพาราเกิดโรคใบร่วง ซึ่งได้ส่งผลให้ปริมาณน้ำยางหดตัวลงในระดับหนึ่ง ทั้งที่ตามปกติเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ จะเป็นห่วงเวลาที่น้ำยางสดออกมากที่สุดในรอบปีของยางพารา

“แต่ถึงอย่างไรในขณะนี้น้ำยางจะปริมาณน้อยก็ตาม แต่ก็ดีเพราะราคาสูงขึ้นมาก จึงสามารถแทนกันได้” นายจรงค์ กล่าว

ด้านนายเรืองยศ เพ็งสกล ประธานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนแปรรูปยาง ประธานกลุ่มวิสาหกิจคนกรีดยางรายย่อยถ้ำพรรณรา เปิดเผยว่าที่ผ่านมายางพาราต่างได้ประสบกับโรคยางใบร่วง ส่งผลให้ผลิตผลิตน้ำยบางสดหดตัวไปครึ่ง/ครึ่ง ปัจจัยมาจากยางพาราอ่อนแอ ที่สืบเนื่องจากต้นพันธุ์ยาง เช่น เม็ดพันธุ์ยางพารา การตัดต่อผสมพันธุ์ และการดูแลรักษา โดยใช้ปุ๋ยเคมีแต่ขาดการบำรุงธาตุอาหารที่มีอยู่ประมาณ 13 ตัว ส่งผลให้ยางพาราเกิดโรคเชื้อรา เป็นโรคใบร่วง ฯลฯ

“วิธีแก้ 1. เรื่องเม็ดพันธุ์ยางพารา 2. การตัดต่อเพาะชำ และ 3. การดูแลบำรุงรักษาด้วยปุ๋ยที่ธาตุอาหาร”

นายเรืองยศ กล่าว สำหรับโรคใบร่วงเกิดมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปีเป็นไปหลายจังหวัดภาคใต้ ฯลฯ แต่มาตอนเข้าสู่ฤดูกาลยางพาราผลัดใบก่อนฤดูกาลผลัดใบเพราะแล้งจัด โดยปกติฤดูกาลยางผลัดใบคือเดือนเมษายน จึงจะต้องรอจนออกใบอ่อน ใบเพหลาด และใบแก่จะทราบว่าโรคใบร่วงหรือไม่

รายงานข่าว เปิดเผยว่า ยางพาราโรคยางใบร่วง ทางการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และภาคเอกชน ได้ร่วมกันดำเนินการวิจัยยางพาราโรคใบร่วงเมื่อปี 2566 ซึ่งแล้วเสร็จเบื้องต้น 100 % และจะทำการเปิดตัวอย่างเป็นทางการประมาณเดือนเมษายน 2567 หลังเทศกาลสงกรานต์ โดยมีประธานคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (บอร์ด กยท.) รองผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย อธิการบดี และคณะบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) และภาคเอกชน ร่วมเปิดตัวอย่างเป็นทางการพร้อมกับแถลงข่าว

ทั้งนี้เพื่อให้ชาวสวนยางทั่วประเทศนำไปปฏิบัติและใช้ เพื่อป้องกันรักษายางพารา โรคใบร่วง และจากนั้นก็จะดำเนินการวิจัยต่อเพื่อให้เป็นข้อมูลนิ่งอีก 2 ปี

“ทั้งนี้จะยังมีการวิจัยกลุ่มพืชเศรษฐกิจหลักของไทยต่อไปเพื่อสู่ความยั่งยืน ในฐานะประเทศไทยครัวอาหารโลก”.

สำหรับงานวิจัยได้เริ่มเมื่อเดือนมีนาคม 2566 และจะครบรอบงานวิจัย 1 ปี ในเดือนมีนาคม 2567 โดยการวิจัยได้นำสวนยางพาราจำนวน 2 แปลง มาเทียบเคียงกันระหว่างสวนยางพารางานวิจัย กับสวนยางแปลงที่ไม่ทำงานวิจัยและการดูแลรักษาสวนยางแบบสวนยางทั่วไป ปรากฎว่าสวนยางงานวิจัยผลที่ออกมา น้ำยางสดเข้มข้นเพิ่มขึ้นจาก 28 % เป็น 38 % 40 % ปริมาณน้ำยางสดมากขึ้นถึง 20 – 30 % ทั้งสภาพดิน สภาพต้นยาง ใบ พื้นฟูไปในทิศทางที่ดีขึ้น

“แต่จะยังดำเนินงานวิจัยต่อไปอีก 2 ปี เพื่อให้เป็นข้อมูลที่นิ่ง และงานวิจัยยางพาราโรคบร่วง ทาง กยท.จะนำไปใช้ชาวสวนยางพาราทั่วประเทศเพื่อดำเนินการป้องกันและดูสวนยางพาราเพื่อป้องกันต่อต้านโรคยางใบร่วง และยังได้สวนยางคุณภาพทีดีขึ้น ปริมาณน้ำยางเพิ่มขึ้น”

โดย...อัสวิน ภักฆวรรณ